ธุรกิจซื้อมาขายไปกับการซื้อขายสินค้า

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

ผมเป็นคนหนึ่งที่เพิ่งเข้ามาทำธุรกิจ ซึ่งธุรกิจที่ผมทำอยู่เป็นซื้อมาขายไปหรือที่เรียกกันว่า Trading นั้นเอง ลักษณะจากชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่าเป็น ค้าๆขายๆ ต้องมีการซื้อขายสินค้าแน่นอน มาทำความรู้จักธุรกิจซื้อมาขายไปกันกันซักนิด

ธุรกิจซื้อมาขายไป

ธุรกิจซื้อมาขายไป (Trading Business) เป็นยังไง?

ธุรกิจประเภทที่รับสินค้ามาแล้วเอามาเพิ่มราคาแล้วขายต่อเพื่อกินส่วน ต่าง สินค้านั้นที่นำมาขายก็แล้วแต่จะนำมาซึ่งขึ้นอยู่กับหลายๆสาเหตุ หรือความต้องการของผู้บริโภค สำหรับธุรกิจประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ

  • แหล่งที่มาของสินค้า ว่าสามารถสั่งซื้อมาขายได้จากที่ไหนบ้าง มีกี่เจ้า กี่แห่งที่เป็นแหล่งสินค้าของเรา
  • อัตราค่าสินค้าหรือราคาของสินค้าว่าจะซื้อมาแล้วต่อรองหรือมีส่วนลดได้เท่าไหร่ มีเครดิตในการสั่งซื้อหรือปล่าว?
  • ขั้นตอนการจัดส่งสินค้า มีการจัดส่งให้ถึงที่ไหม? จัดส่งทางไหนบ้าง ปริมาณแค่ไหนถึงจะจัดส่งให้ ที่สำคัญมีค่าจัดส่งหรือปล่าว?
  • เงินทุนเพราะปัจจัยต่างๆในการทำธุรกิจประเภทนี้ สำหรับเริ่มต้นทำนั้นถือว่าน้อยมากถ้าเทียบกับธุรกิจประเภทอื่นเพราะเงินทุน จะเป็นลักษณะเงินหมุนเวียนกับสินค้า (ทั้งนี้การซื้อขายขึ้นอยู่กับมูลค่าสินค้าด้วย)

ธุรกิจประเภทนี้สามารถเริ่มต้นทำได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นนักเรียนยันคนทำงาน ทั่วไปก็ทำสามารถได้ แต่ถ้าหากจะทำการซื้อขายในรูปแบบ B2B นั้นจะต้องมีหจก. หรือบริษัทในการยื่นเสนอราคาด้วย ถึงจะดูน่าเชื่อถือและซื้อขายกับเจ้าใหญ่ๆในธุรกิจได้

ลักษณะการซื้อขาย มีแบบไหนบ้าง?

น่าจะพอเข้าใจถึงลักษณะของธุรกิจประเภทนี้กันพอสมควร งั้นมาเริ่มเข้าถึงลักษณะการซื้อขายที่พบได้บ่อยๆซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ (ที่ผมเจออยู่ครับ)

  1. ซื้อขายเงินสด – เป็นการซื้อขายสินค้าโดยจ่ายเงินสดผ่านการชำระหน้าร้าน หรือโอนเงินเข้าบัญชี (เหมือนการยื่นหมู ยื่นแมวว่างั้น..) เป็นช่องทางที่ใครต่อใครที่เป็นพ่อค้าแม่ค้า หรือในภาคธุรกิจก็ชอบมากที่สุดเลยก็ไว้ได้ เพราะได้เงินทันทีได้ต้องรอ ไม่ต้องกังวลภายหลัง ส่วนตัวแล้วผมก็ชอบนะแบบนี้ และมีอัตราการต่อรองเวลาซื้อของได้ด้วยเพราะหากซื้อเงินสดทางผู้ค้าก็จะลด ราคาให้ด้วย สำหรับการชำระเงินนั้นอาจจะมีจ่ายเงินสดหน้าร้าน หน้าบริษัท หรือโอนเงินเข้าบัญชีมาแล้วทางผู้ขายจัดส่งสินค้าไปให้..
  2. ซื้อขายเครดิต– เป็นการซื้อขายเงินเชื่อ โดยกำหนดจำนวนวันชำระเงินภายหลังจากการส่งสินค้าให้ลูกค้าแล้ว ซึ่งระยะเวลานั้นทางเราเป็นคนกำหนดให้ลูกค้าว่าจะให้เขาเครดิตได้กี่วันเช่น 7 วัน , 15 วัน,  1 เดือน หรือ 2 เดือน ตามแรงทรัพย์ครับ โดยการชำระเงินให้เรานั้น..วิธีชำระเงินจะซับซ้อนหรือยากง่ายตามขั้นตอนของ แต่ละบริษัทตั้งข้อตกลงไว้ ยกตัวอย่างง่ายๆจากการชำระเงิน เช่น
    1. ชำระเงินแบบโอนเข้าบัญชี – สำหรับที่พบบ่อยในวิธีนี้คือต้องแจ้งเลขบัญชีหรือส่งรายละเอียดหน้าบัญชีของ ทางผู้ขายให้ผู้ซื้อและส่งหลักฐานต่างๆเช่น พวก ภพ.30 หนังสือรับรอง และรายละเอียดอื่นๆที่ให้เรากรอกกลับเพื่อเป็นผู้ของของบริษัทที่จะซื้อของ จากเราเจ้านั้นๆ ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป โดยที่สำคัญและน่าจะคล้ายๆกันคือ เราจะต้องออก ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ให้กับผู้ซื้อเป็นตัวจริงพร้อมเซ็นว่ารับเงินแล้ว (ดูเหมือนบังคับยังไงไม่รู้? ทั้งๆที่ยังไม่ได้เงิน) โดยไม่รับตัวสำเนาก่อน ต้องเป็นตัวจริงเลย ทำให้ต้องวัดใจ วัดดวงกัน สำหรับบริษัทหรือหจก.ที่เปิดใหม่ก็ควรระวังตรงนี้ด้วยนะ ว่าบิบริษัทเที่เป็นฝั่งผู้ซื้อนั้นเขามั่นคง สถานะทางการเงินเขาดีจริงไม่จริง ต้องระวัง!
    2. ชำระเงินแบบวางบิลรับเซ็ค – อันนี้ลักษณะนั้นจะจ่ายเงินเป็นการจ่ายเงินโดยจ่ายเป็นเช็คเรียกเก็บตามวัน ที่ตามที่ผู้ซื้อกำหนดอีกที โดยเมื่อเราไปส่งสินค้าแล้วทางบริษัทลูกค้าจะให้เราส่งใบกำกับภาษี และใบเสร็จรับเงิน พร้อมใบวางบิล เพื่อแจงเอกสารว่าทางบริษัทผู้ซื้อนั้นต้องจ่ายเงินตามเอกสารใดบ้าง และทางผู้ซื้อจะต้องระบุว่าจะจ่ายให้วันไหน โดยเมื่อถึงระยะเวลาของการชำระเราก็ต้องเข้าไปที่บริษัทอีกครั้งเพื่อรับ เช็ค เพื่อนำไปขึ้นเงิน ข้อควรระวังเรื่องนี้ สำหรับการรับเช็คต้องดูว่าเช็คลงวันที่วันไหน และเป็นเช็คเงินสดจริงหรือป่าว เดี๋ยวรับไปขึ้นเงินไม่ได้จะมีปัญหาอีกนะ
    3. ชำระเงินแบบวางบิลโอนเงินเข้าบัญชี – อันนี้ก็ลักษณะคล้ายๆกับการวางบิลรับเช็คแต่ต้องส่งเอกสารที่เป็นสำเนาหน้า สมุดบัญชีแล้วทางบริษัทลูกค้าของเราก็จะโอนเงินเข้าบัญชีตามกำหนดระยะเวลา ที่เขียนไว้ในใบวางบิลนั้นเอง

ข้อควรระวังหรับธุรกิจซื้อมาขายไป

– สำหรับคนที่จะเริ่มทำธุรกิจประเภทนี้นั้นผมแนะนำให้ดูคู่แข่งซักนิดนะครับ เพราะปัจจุบันที่ผมเจออยู่คือมีเจ้าใหม่ๆ เข้ามาทำเกี่ยวกับสินค้าที่ทำอยู่เยอะมาก ซึ่งดูจากลักษณะแล้วก็เป็น Trading เหมือนกัน โดยแหล่งสินค้านั้นก็ไม่ได้เพิ่มตามไปด้วย มีแหล่งซื้อเป็นเจ้าใหญ่ๆ อยู่เพียงไม่กี่เจ้าเท่าั้นั้น ซึ่งทำให้การแข่งขันสูงมากทำให้ส่วนแบ่งตลาดก็ลดหลั่นไปตามๆ กัน

– ราคาสินค้าก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องระวัง เพราะลูกค้ามีการเปรียบเทียบราคาจากบรรดาผู้ค้าที่มีกี่เจ้าๆ ที่มีสินค้าเดียวกับเราก็จะโดยสอบถามราคาหมด ซึ่งราคาแตกต่างกันอยู่แล้ว หากเป็นเจ้าใหญ่ก็จะบอกราคาได้ถูกกว่า เจ้าที่เป็น trading อยู่แล้ว ดังนั้น จึงมีความเสียงในการแข่งขันด้านราคาที่สูงมาก ทั้งนี้ต้องหาวิธีมัดใจลูกค้าเป็นส่วนลด เป็นโปรโมชั่นตามแต่ที่จะสรรหามาเอาใจลูกค้ากันไป..

– การสต๊อกสินค้า ในธุรกิจนี้สินค้ามีอัตราการหมุนเวียนไม่แน่นอน สิ่งที่ดีที่สุดของธุรกิจนี้คือมีสต๊อกให้น้อยที่สุดหรือไม่มีสต๊อกเลย เพราะหากสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีการซื้อปริมาณความถี่ หรือซื้อบ่อยๆ เมื่อสต๊อกแล้วสินค้าก็จะค้างสต๊อกนาน ทำให้ต้นทุนเราไปจมอยู่กับสินค้าที่ค้างอยู่ และประสบปัญหาเงินหมุนเวียน และอาจจะทำให้ขาดทุนไ้ด้ในกรณีที่สินค้าท้องตลาดราคาถูกกว่าราคาสินค้าที่ เราสต๊อกไว้ ทั้งนี้ต้องมีกลยุทธ์ในการเร่งขายสินค้าในสต๊อกให้หมดโดยเร็วที่สุด

– การสั่งซื้อต้องระบุรายละเอียดให้ชัดเจน สำหรับเรื่องนี้สำคัญมาก เพราะไม่เช่นนั้นสินค้าที่เราสั่งซื้อมาเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าหรือขายต่อ ลูกค้านั้น ผิดจากที่ลูกค้าต้องการจะสร้างปัญหาให้เราโดยจะกลายสินค้าค้างสต๊อกอีกเช่น กัน ซึ่งในการสั่งซื้อของลูกค้าจะต้องให้ระบุรายละเอียด เช่น หากเป็นรองเท้า จะต้องระบุ แบรนด์ให้ชัดเจน ขนาดเท่าไหร่ Size ไหน มีพื้นรองเท้าแบบไหน สีอะไร เพื่อระบุตัวสินค้าให้ตรงตามความต้องการจริงๆ เพื่อไม่ให้ผิดพลาดภายหลัง และเพื่อกันความผิดพลาดหากทางลูกค้าไม่ระบุควรโทรไปสอบถาม หรือให้แก้รายละเอียดเป็นใบสั่งซื้อ เพื่อหากมีปัญหาจะได้มีหลักฐานสำหรับชี้แจงลูกค้าเวลามีปัญหาหรือลูกค้า เรื่องมาก จะไม่รับสินค้า โดยวิธีแก้ปัญหา อาจจะระบุว่า “สินค้าไม่รับเปลี่ยนหรือคืน หรือ สินค้าสามารถเปลี่ยนได้ภายในเวลา 7 วัน” ซึ่งแล้วแต่ทางเราจะเป็นผู้กำหนด ซึ่งแน่นอนถ้าคืนทางเราจะต้องคำนึงถึงว่าสินค้าตัวนั้นสต๊อกแล้วจะขายได้อีก ไหมในอนาคต หรือทางบริษัทหรือห้างร้านที่เราไปซื้อมาเขาให้เปลี่ยนหรือคืนสินค้าหรือ ไม่?

เป็นไงบ้างครับหวังว่าคงจะพอเข้าใจ “ธุรกิจซื้อมาขายไป” กันบ้างนะครับ และก็เข้าใจถึงลักษณะการทำธุรกิจประเภทนี้กันมากขึ้นว่าเป็นยังไง มันอาจจะดูวุ่นวายแต่นี้ละครับเป็น “การจับเสือมือปล่าว” ที่ลงทุนนิดหน่อยหรืออาจจะไม่ต้องลงทุนเลยในบางอย่าง โดยอาศัยเวลาและโอกาศสำหรับขาย และมองทางเลือกสำหรับตอบสนองกลุ่มลูกค้าให้ถูกที่ถูกเวลาก็สามารถประสบความ สำเร็จได้ ผมเป็นคนที่เพิ่งเข้ามาทำธุรกิจส่วนนี้ยังมีประสบการณ์ไม่มาก มีเพียงประสบณ์การเล็กน้อยมาถ่ายทอดเล่าสู่กันฟังครับ ทั้งนี้ยังมีเรื่องปวดหัวมากมายที่เกิดขึ้น ที่ผมอาจจะเอามาเล่าไม่หมด และอาจจะมีหลายๆท่านอยากที่เข้ามาทำธุรกิจนี้ก็ลองศึกษาดูครับ สำหรับท่านที่ทำอยู่แล้วก็มาร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมกันได้ครับ

ก้าวต่อไปสำหรับผมในธุรกิจนี้คือทำอย่างไรให้มันแน่นอน มีรายรับอย่างมั่นคง เพราะการทำธุรกิจซื้อมาขายไปนั้น ณ ตอนนี้ผมไม่สามารถกำหนดได้หรอกว่าเดือนนี้จะมีลูกค้ากี่คน สำหรับผมเอง ไม่มีเซลล์ วิ่งงาน ออกตามโรงงาน บริษัท หรือห้างร้านเพื่อนำเสนอสินค้า จึงอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มันยังไม่มีรายได้มั่นคง และัอีกสาเหตุหนึ่งคืออาจจะเปิดให้เครดิตจ่ายเงินน้อยเจ้าไปหน่อย ด้วยเหตุผลที่ว่าเงินทุนหมุนเวียนไม่มากพอ ทั้งนี้ในธุรกิจใหม่ๆ ทางธนาคารจะยังไม่ให้วงเงินสำหรับลงทุนที่เป็น SMEs ทันทีทันใด อาจจะต้องรอ 2 ปีหรือมากกว่า ซึ่งด้วยความใหม่นั้นล่ะเป็นต้นเหตุ จริงๆแล้วเป็นไปได้่ก็อยากจะมีวงเงิน Factory มาหมุนเงินเหมือนกันครับ แต่ทำอะไรไม่ได้นอกจากรอทาง Bank ขยายเวลาหรือเปิดช่องทางตรงนี้ให้ครับ

ทิ้งท้ายบทความให้ลองคิดกันเล่นๆซักนิดสำหรับ “ธุรกิจซื้อมาขายไป” ว่า..

ทำธุรกิจซื้อมาขายไป.. ไม่ได้ทำธุรกิจซื้อมาขายเก็บ..

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เปิดประสบการณ์ถ่ายภาพสุดเจ๋งกับ vivo V30 Pro 5G ในงาน “เปล่งประกายด้วยพอร์ตเทรต”

พบกับการก้าวข้ามขีดจำกัดใหม่ของการถ่ายภาพพอร์ตเทรตกับสมาร์ตโฟน vivo V30 Pro 5G ที่จะมาปฏิวัติวงการถ่ายภาพบนมือถือในงาน "vivo V30 Pro 5G PRO LAB" ณ Sphere Gallery, ศูนย์การค้า EMSPHERE ตั้งแต่วันที่ 15...
- Advertisement -

More Articles Like This