สนับสนุนให้คนไทยเรียนภาษาจีนภาษารัสเซียต้อนรับยุคAEC

Must Read

การที่ประเทศไทยมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ นอกจากคนไทยควรจะเตรียมความพร้อมทางด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีนหรือภาษารัสเซีย ก็น่าจะเป็นเป็นภาษาที่คนไทยควรจะเรียนรู้เพิ่มเติมเป็นภาษาที่สามค่ะAEC เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2558 ทางประเทศจีนก็ได้ขยับตัวเตรียมวางรากฐานการลงทุนในอาเซียนไว้แล้ว รัฐบาลของจีนได้เจรจากับรัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนหลาย ๆ ประเทศ เพื่อขอ ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ผ่านประเทศพม่าซึ่งอยู่ใกล้จีนมากที่สุด เพื่อเป็นทางผ่านเข้ามาในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซี่ยน และตอนนี้รัฐบาลไทยก็ได้มีการลงนาม  “MoU” ย่อมาจาก “Memorandum of Understanding” แปลว่า “บันทึกความเข้าใจ” ที่องค์กร หน่วยงาน หรือประเทศ ลงนาม เพื่อแสดงเจตจำนงว่าจะทำสิ่งใดร่วมกัน ซึ่งทางนายกมีแผนกระชับสัมพันธ์ร่วมลงนามMOU4ฉบับ (ไอเอ็นเอ็นส่วนรายละเอียดบันทึกความร่วมมือ 4 ฉบับ ที่จะมีการลงนามในวันนี้ประกอบด้วย

1. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งธนาคารชำระดุลเงินหยวนในไทย ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารประชาชนจีน

      2. ความตกลงทวิภาคีแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหยวนและบาท

       3. บันทึกความเข้าใจประเทศเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการด้านทรัพยากรน้ำ และชลประทานระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยกับกระทรวงทรัพยากรน้ำของจีน

             4. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และธนาคารแห่งประเทศจีน

    ซึ่งMOU4ฉบับเป็นการเปิดตลาดทางการค้า ให้คนจีนมาลงทุนในประเทศไทยได้เป็นอย่างดีค่ะ 

ทางผู้เขียนคิดว่า ถ้านักศึกษา หรือ คนวัยทำงานสนใจ เรียนภาษาจีนต้อนรับเออีซี ก็จะมีประโยชน์ในการสมัครงาน หรือในการทำธุรกิจกับประเทศจีนค่ะ

    ภาษารัสเซียก็น่าจะเป็นภาษาต่างชาติอีกภาษาที่ตั้งใจศึกษา รัสเซียปัจจุบันได้เข้าร่วมกับจีน เป็นองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ เป็นการรวมกลุ่มด้านความมั่นคงที่มีศักยภาพสูงสุดในประวัติศาสตร์โลกสมัยใหม่นับเนื่องจากการสถาปนาองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในหมู่ประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้นั้น มีทั้งประเทศที่มีเนื้อหามากที่สุด มีประชากรมากที่สุด เป็นผู้ผลิตและส่งออกพลังงานได้เป็นอันดับต้นๆ ของโลก มีแสนยานุภาพทางปรมาณู และมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลกอยู่ด้วย การรวมตัวที่เป็นปึกแผ่นและมีข้อตกลงร่วมกันด้านความมั่นคงอย่างจริงจังแข็งแกร่งเช่นนี้นับเป็นสิ่งที่ประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง อย่างประเทศไทยเองตลอดจนประชาคมอาเซียนควรจะต้องให้ความสนใจและจับตามองดูพัฒนาการอย่างใกล้ชิด องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้อาจจะทำให้ระเบียบโลกของศตวรรษที่ 21 เปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างพลิกฝ่ามือ

  จากประสบการณ์ของผู้เขียนโดยตรง เคยไปสัมภาษณ์มัคคุเทศก์ ทางมัคคุเทศก์ส่วนใหญ่เขาให้สัมภาษณ์ว่า ได้ไปเรียนภาษารัสเซียเพิ่มเติมเพราะชาวรัสเซีย มีสถิติเป็นนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย ไม่น้อยไปกว่าชาติอื่นๆ ดังนั้นภาษารัสเซียจึงเหมาะสมกับผู้ที่สนใจทำงานด้านการท่องเที่ยวค่ะ

   และทางรัฐบาลคสช ก็เคยกล่าวเอาไว้ว่า ประเทศไทยไม่มีอะไรต้องหวั่นไหว วิตกจริตที่อเมริกาไม่เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาวิกฤติประเทศตามแนวทางของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา  เพราะเรายังมีมิตรแท้ที่เคยช่วยเหลือประเทศไทยยามยาก อย่างประเทศจีนและรัสเซีย เข้าใจและให้กำลังใจเราเสมอ

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

1 COMMENT

  1. ภาษาจีนจำเป็นมากจริง ๆ ในยุคนี้ค่ะ อีกหน่อยหลาย ๆ คนก็ต้องมีโอกาสติดต่อทำธุรกิจกับชาวจีนแน่นอน

Leave a Reply to Nunil Cancel reply

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This