กรุงศรีเพิ่มระดับความปลอดภัย! โอนเงินผ่านแอปได้สูงสุดถึง 5 หมื่นบาท ต้องทำการสแกนใบหน้า

Must Read

@Advertorial
@Advertorial
ลงโฆษณาสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบของบทความประกอบรุปภาพหรือวิดีโอสื่อต่างๆ

กรุงศรี ตอบรับนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย ยกระดับความปลอดภัยการโอนเงินผ่านแอป สูงถึง 5 หมื่นบาท ต้องสแกนใบหน้า ด้วย KMA krungsri app และ Krungsri Biz Online ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 เป็นต้นไป เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมโอนเงิน สำหรับลูกค้าบุคคลแบบ Single Control ผ่านแอป KMA krungsri ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2566 และ Krungsri Biz Online ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2566

ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อช่วยป้องกันการหลอกลวงให้โอนเงินโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบัญชี ซึ่งธุรกรรมที่ต้องสแกนหน้าเพื่อทำรายการ ได้แก่

  1. โอนเงินไปยังบุคคลอื่นตั้งแต่ 50,000 บาทต่อรายการ
  2. การโอนที่มียอดรวมสะสมครบตั้งแต่ 200,000 บาทต่อวัน
  3. ปรับเพิ่มวงเงินโอนให้โอนได้ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป

สำหรับลูกค้าที่ยังไม่เคยมีรูปถ่ายกับทางธนาคาร สามารถนำบัตรประชาชนไปยังสาขาธนาคารใกล้บ้านเพื่อถ่ายรูปเก็บใบหน้าได้ตั้งแต่วันนี้ โดยการสแกนใบหน้าจะช่วยให้ลูกค้าสามารถยืนยันตัวตนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้นในการทำธุรกรรมผ่านโมบายแอปของธนาคาร นอกจากนี้ ผู้ใช้งาน KMA krungsri app ยังสามารถใช้การสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนสำหรับกรณีเปลี่ยนอุปกรณ์ลงแอปใหม่ ลืมรหัส เปลี่ยนเบอร์มือถือ เปิดบัญชีใหม่ หรือสมัครสินเชื่อ เพื่อความสะดวกสบายตลอดทุกการใช้งานบนแอปของธนาคารอีกด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Krungsri Call Center 1572

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This