กสทช. ยืนยันคำสั่งทางปกครอง สั่งปรับ True วันละ 2 หมื่นบาท

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

สั่งปรับ True นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับกรณี “จอดำ” ในระหว่างการแข่งขันกีฬายูโร 2012 ว่า กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีมติยืนยันคำสั่งทางปกครองสั่งปรับบริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (Pay-TV) ทรูวิชันส์ รวมทั้งได้กำหนดให้มีการไกลเกลี่ยความเสียหายกับผู้บริโภคภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งกรณีดังกล่าวมีสมาชิกร้องเรียน 174 ราย ซึ่งถือว่ามีจำนวนมากที่สุด ในบรรดาเรื่องร้องเรียนทั้งหมด จากผู้ให้บริการที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. อย่างไรก็ตาม นางสาวสุภิญญา กล่าวอีกว่า บริษัท ทรูวิชั่นส์ สามารถใช้สิทธิในการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อให้ดำเนินคดีในกรณีคำสั่งทางปกครองสั่งปรับดังกล่าวได้ ซึ่งกสทช. ก็พร้อมชี้แจงเหตุผลต่อศาล ทั้งนี้ ที่ผ่านมา บริษัท ทรูวิชั่นส์ ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อ กสทช. ไปแล้ว เมื่อเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัท ทรูวิชั่นส์ อ้างว่าการที่บริษัทไม่สามารถแพร่ภาพส่งสัญญาณไปยังเครื่องรับของสมาชิกได้ ระหว่างที่มีการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาฟุตบอล ยูโร 2012 จากประเทศโปแลนด์และยูเครน ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี ที่ได้รับสิทธิในการถ่ายทอดนั้น เนื่องจาก ผู้ถือสิทธิในการถ่ายทอดหรือบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ไม่อนุญาต อย่างไรก็ตาม ในเดือนที่ผ่านมา บอร์ด กสทช ก็มีมติปฏิเสธการอุทธรณ์ดังกล่าวไปแล้ว นางสาวสุภิญญา ระบุอีกว่า ปัญหาเรื่อง “จอดำ” ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในระยะการเปลี่ยนผ่านจากระบบการกระจายเสียงระบบภาคพื้นอนาลอคไปสู่ระบบดิจิตัล และการร่างกฎระเบียบต่างๆ ในการกำกับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ จนถึง วันที่ 30 มิถุนายน กสทช.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาจากการรับชมและรับฟังวิทยุ-โทรทัศน์จำนวน 400 เรื่อง ซึ่งมาจากกิจการกระจายเสียงและแพร่ภาพทุกประเภท อาทิ ฟรีทีวี เคเบิลทีวี ทีวีแบบบอกรับสมาชิก วิทยุกระจายเสียงทั้งในกลุ่มรายเดิมและรายใหม่ โดยปัญหาหลักที่พบ คือ สัญญาและการให้บริการของโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก อาทิ 1) แจ้งยกเลิกบริการแต่ไม่ได้รับค่ามัดจำอุปกรณ์หรือมีความล่าช้า การเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มช่องรายการโดยที่มิได้ขอรับบริการ หรือรับชมไม่ได้บ่อยครั้งแต่ยังคงถูกเรียกเก็บได้ตามปกติ 2) คุณภาพการรับชมรับและรับฟังจากกรณีที่มีคลื่นความถี่รบกวน 3) การโฆษณาด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีลักษณะหลอกลวงเกินจริง และ 4) กรณีที่ไม่สามารถรับชมรายการถ่ายทอดสดของฟรีทีวีผ่านช่องรายการโทรทัศน์ดาวเทียมได้ ทั้งนี้ ในจำนวนนั้น 205 เรื่องร้องเรียน มาจากปัญหาการที่ไม่สามารถรับชมการแข่งขันฟุตบอล ยูโร 2012 แต่หากแยกเรื่องร้องเรียนตามประเภทของกิจการ สามารถแบ่งได้เป็น 221 เรื่องร้องเรียนจากกิจการทีวีดาวเทียม ซึ่งรวมทั้งของทรูวิชั่นส์ ตามมาด้วย จากผู้ประกอบการวิทยุรายใหม่ 64 เรื่อง จากผู้ประกอบการฟรีทีวี จำนวน 34 เรื่อง ส่วนที่เหลือมาจาก สถานีวิทยุรายเดิมและเคเบิลทีวี นางสาวสุภิญญา ระบุ ในขณะนี้มีเรื่องร้องเรียนที่ได้รับการยุติไปแล้ว 217 เรื่อง ขณะที่มาตรการระยะยาวที่กสทช.กำลังผลักดันคือ เร่งประกาศหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุและโทรทัศน์ 4 ฉบับ เช่น แผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล มาตรฐานทางเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล มาตรฐานทางเทคนิคสำหรับเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล แผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ซึ่งกสทช.คาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ประมาณเดือน ตุลาคมนี้ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการกำกับดูแลและขอรับใบอนุญาตได้สมบูรณ์ขึ้น และน่าที่จะสามารถทำให้กลไกลการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคมีประสิทธิผลมากขึ้น

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This