กสทช.เดินหน้าจับจริง 12 บริษัท ไม่รายงานการถือครองโทรศัพท์มือ

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

การถือครองโทรศัพท์มือ, โทรศัพท์มือ, กสทช., เอกสารปลอม

20 ส.ค. 55 ที่สำนักงานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. เปิดเผยว่า   กสทช.ได้ดำเนินการแจ้งความกับบริษัทผู้ผลิตและนำเข้าอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ 12 บริษัท ประกอบด้วย  1. บริษัท ออเทค มาเก็ตติ้ง จำกัด 2.บริษัท ลอง เชียร์ คอมมิวเคชั่น จำกัด 3. บริษัท ไบโอเทค เทคโนโลยี จำกัด 4. บริษัท ไมโคเทเลตอม จำกัด  5. นายอริยะ บุพศิริ  6.บริษัท คูล คอมพิวเตอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด  7. บริษัท ดีโมบาย (ประเทศไทย) จำกัด 8.บริษัท ที.ซี.โมบาย เวิร์ค จำกัด  9. บริษัท ดีโมบาย  จำกัด  10. บริษัท เบสคิงส์ จำกัด 11 . บริษัท แอล บี แอล  (2004) และ 12. บริษัท สไมล์ โฟน (ประเทศไทย) จำกัด นายฐากร กล่าวว่าสาเหตุที่กสทช. ต้องเข้าแจ้งความดำเนินคดี เนื่องจากทั้ง 12 บริษัท ไม่ได้รายงานการถือครองโทรศัพท์มือถือว่าได้ทำลายหรือส่งออกนอกประเทศ รวมทั้งมีส่วนการรู้เห็นกับเอกสารเท็จเหล่านั้นหรือไม่  ตามประกาศ กสทช. เรื่องการเพิกถอนใบรับรองเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ 280 รุ่นที่ต้องชี้แจ้งกสทช.ภายใน 30 วัน สำหรับการแจ้งความดำเนินคดีดังกล่าวนี้ กสทช .ได้ทำตามกระบวนการกฎหมาย และเมื่อ 1 เดือน ที่ผ่านมา กสทช. ได้มีหนังสือแจ้งไปยังบริษัทผู้ลิตและนำเข้าโทรศัพท์มือถือทั้งหมด 27 บริษัท แต่มีเพียง 15 บริษัทที่ได้รายงานและส่งเอกสารเข้ามาชี้แจ้ง ซึ่งขณะนี้กสทช. อยุ่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลและจะมีการพิจาณาว่าจะดำเนินคดีต่อหรือไม่ “ในเบื้องต้นการยื่นเอกสารเท็จเรื่องการนำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคมนั้น มีโทษระวางตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับ 1,000 – 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ” นายฐากร กล่าว.

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This