หลายท่านอาจจะเคยได้ยินและรู้สึกคุ้นๆมาบ้างแล้วสำหรับการนำบัตรประชาชนมาผูกกับการทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างสะดวกสบายขึ้น ล่าสุดมีข้อมูลเกี่ยวกับอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับโครงการนี้เห็นแล้วน่าจะเป็นที่น่าพอใจเลยครับชาวไอทีเมามันส์ ใครคิดเห็นอย่างไรลองมาดูรายละเอียโครงการนี้กันครับ..
โครงสร้างระบบการชำระเงินใหม่ของไทย “Any ID”
โดยเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน “Meet the Press” ภายใต้หัวข้อ “The New Landscape of Financial Technology” ถึงความคืบหน้าของโครงการ Nation e-Payment ของรัฐบาล 4 โครงการหลักว่าใกล้จะสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในอีกไม่ถึง 1 เดือนข้างหน้า
โดยโครงการที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ 2 โครงการ ได้แก่
- โครงการ Any ID ซึ่งจะวางโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินใหม่ เพื่อเชื่อมโยงเลขที่บัตรประชาชน 13 หลัก, เลขที่บัญชีธนาคาร และหมายเลขโทรศัพท์มือถือเข้าไว้ด้วยกัน ให้สามารถทำธุรกรรมทางเงินได้สะดวก รวดเร็วขึ้น
- เริ่มต้นจากวันที่ 15 กรกฎาคม 2559 จะเปิดระบบสำหรับให้ประชาชนมาลงทะเบียน Any ID ผูกเลขที่บัตรประจำตัวประชาชนกับบัญชีเงินฝากให้แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งเบื้องต้นจะอนุญาตให้เชื่อมโยงได้ 1 บัตรประชาชนต่อ 1 หมายเลขบัญชี และ 1 หมายเลขโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ขณะที่อนาคตอาจจะเชื่อมโยงได้มากขึ้น
- เดือนกันยายน 2559 จะเปิดระบบสำหรับให้บริการจ่ายสวัสดิการโดยใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน
- เดือนตุลาคม 2559 จะเปิดระบบสำหรับให้บริการชำระเงินผ่านเบอร์โทรศัพท์และผ่านระบบ Any ID
- เดือนธันวาคม 2559 เปิดระบบเรียกเก็บเงิน เพื่อรองรับ e-Commerceนอกจากนี้ ธปท. ยังได้เตรียมความพร้อมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผู้บริการโทรศัพท์อื่นๆ เพื่อเตรียมฐานข้อมูลโทรศัพท์ให้เรียบร้อยแล้วเสร็จก่อนเปิดให้ลงทะเบียน
- ขยายการใช้บัตร เพื่อส่งเสริมการใช้บัตรเดบิตแทนเงินสด พร้อมทั้งขยายจุดรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทั่วถึง เพื่อเป็นช่องทางจ่ายและใช้จ่ายสวัสดิการของรัฐ ในระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่าน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการร่าง TOR เพื่อเปิดประมูลจ้างบริษัทเอกชนมาจัดซื้อและกระจาย ซึ่งน่าจะรับไม่เกิน 2 บริษัทและคาดว่าจะกระจายเครื่องรับให้กับร้านค้าและหน่วยงานภาครัฐได้ภายในเดือนกันยายน 2559ขณะที่โครงการอื่นๆ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลังอีก 3 โครงการ มีความคืบหน้าดังนี้
- โครงการภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเก็บข้อมูลภาษีพร้อมข้อมูลการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มาเป็นข้อมูลในการจัดทำนโยบายการคลัง ไม่ว่าจะเป็นการขยายฐานภาษี การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำและนำส่งเอกสารพาณิชย์โดยในเดือนตุลาคม 2559 จะเริ่มให้ภาคเอกชนสามารถจัดทำและส่งมอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ และในเดือนตุลาคม 2560 ระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt จะพร้อมใช้งาน
- โครงการ e-Payment ภาครัฐ เพื่อสร้างฐานข้อมูลของประชาชนผู้มีรายได้น้อยและใช้จ่ายสวัสดิการภาครัฐแก่ประชาชนโดยตรงด้วยเลขที่บัตรประชาชน รวมไปถึงการจ่ายเงินภายในหน่วยงานภาครัฐด้วยระบบ e-Paymentคาดว่าในเดือนกันยายน 2559 จะเริ่มโอนเงินสวัสดิการของประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารเดือนกันยายน 2559 เริ่มจ่ายเงินให้ส่วนราชการด้วยวิธีโอนผ่านระบบการจ่ายเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลางในเดือนกันยายน 2559เดือนธันวาคม 2559 จะส่งเสริมการรับ-จ่ายเงินของหน่วยงานภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์ และดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ นำส่ง และเบิกจ่ายเงินของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
โครงสร้างค่าธรรมเนียมของ “Any ID”
จากข้อมูลล่าสุดจากการหารือกับสมาคมธนาคารไทยได้ข้อสรุปค่าธรรมเนียมดังนี้
ระบบตรวจสอบ e-Commerce กับ Any ID กรณีที่มีการทำธุรกิจออนไลน์ว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพกรและรัฐบาลที่จะต้องตรวจสอบ ทาง ธปท. มีหน้าที่เพียงแค่ออกแบบ Platform และดูแลระบบชำระเงินให้เป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งในกรณีที่ธุรกรรมดังกล่าวผ่านเข้ามายังระบบการชำระเงิน กรมสรรพากรจะสามารถตรวจสอบได้ แต่กรณีที่ผ่านระบบการชำระเงินอื่นๆ เช่น PayPal ธปท. ไม่สามารถเก็บข้อมูลและตรวจสอบได้ โดยประเด็นนี้รัฐบาลยังต้องหาแนวทางต่อไป
พัฒนาการด้าน Financial Technology ในต่างประเทศว่ามีปัจจัย 5 ประการที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง “ภูมิทัศน์” ทางการเงิน ได้แก่ 1) Disruptive Technology คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น รถไร้คนขับ การเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ด้วยอินเทอร์เน็ต หรือ Internet of things 2) พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้น 3) การกำกับดูแลของรัฐที่ต้องปรับเปลี่ยนหลายเรื่องให้มีความทันสมัยและไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา 4) ธุรกิจธนาคารที่ต้องเปลี่ยนมาเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น และ 5) การเข้ามาของ FinTech ที่จะเปลี่ยนแปลงการให้บริการทางการเงินทุกประเภท
การเปลี่ยนแปลงของธนาคารว่ามี 6 ปัจจัยที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ประสบความสำเร็จ 1) สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่ยึดผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางมากขึ้น เช่น ก้าวข้ามประเด็นค่าธรรมเนียมไป 2) สร้างช่องทางการเข้าถึงที่เหมาะสมมากขึ้น โดยย้ายจากการบริหารสาขาเป็นบริหารช่องทางการเข้าถึงโดยตรง โดยสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า 3) ลดความซับซ้อนของธุรกิจและการทำธุรกรรมกับธนาคาร เพื่อให้เป็นมิตรกับลูกค้า 4) เก็บและใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์ 5) เพิ่มขีดความสามารถในการสร้างนวัตกรรม โดยปัจจุบันบางแห่งได้เริ่มตั้งแยกออกมาจากธุรกิจหลัก บางแห่งตั้งเป็นกองทุนไปลงทุนเพื่อดูทิศทางตลาดก่อน 6) สร้างการกำกับและบริหารความเสี่ยงที่สอดรับกับสภาพแวดล้อมและคู่แข่งใหม่ๆ
ดูจากข้อมูลแล้วทางธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะเอาจริงกับเรื่องนี้ ซึ่งคิดว่าน่าจะพอเป็นรูปเป็นร่าง ยังไงก็รอดูว่าจะมีการใช้งานอย่างแพร่หลายแค่ไหน คนไทยที่ยอมรับมีมากน้อยแค่ไหน
Reference
- โครงสร้างระบบการชำระเงินใหม่ของไทย เตรียมเปิดตัว “Any ID” เริ่ม 15 ก.ค.นี้ – รื้อโครงสร้างค่าธรรมเนียมแบงก์ หนุน “Digital Economy” at thaipublica.
- เห็นค่าธรรมเนียมบริการ Any ID at pantip