ขายยกห้าง การดิ้นรนเพื่อครองที่หนึ่งของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในญี่ปุ่น

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

ขายยกห้าง รักษายอดขาย ช่วงเทศกาลคริสต์มาสที่กำลังใกล้เข้ามาในอีกไม่กี่วัน ถือเป็นช่วงจังหวะที่ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เตรียว่าปล่อยของออกให้มากที่สุด เริ่มตั้งแต่ พานาโซนิก คอร์ป ผู้ผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ยี่ห้อเวียร์ร่าก็เช่นเดียวกับค่ายอื่น พิเศษตรงที่พานาโซนิก ไม่ได้คิดจะขายแต่ทีวี เครื่องเล่นบลูเรย์ หรือสินค้าต่างๆ ในคลังสินค้าของเขา แต่ยังหาช่องทางเร่ขายอสังหาริมทรัพย์ ที่แบกไว้จนหลังแอ่นด้วย สินทรัพย์ที่ว่า มีตั้งแต่พื้นที่สำนักงาน โรงงานที่รวมกันแล้วมากกว่า 10 ล้านตารางเมตร หอพักคนงาน และสนามกีฬาแข่งรักบี้ เบสบอล ขายแม้กระทั่ง ทีมนักกีฬาหญิง ที่พานาโซนิกสนับสนุนอยู่ เหตุที่ต้องเร่ขาย ก็เพราะพานาโซนิกเอง ต้องการลดต้นทุนคงที่ และปรับแต่งกระแสเงินสดของตัวเองให้ดูดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงจังหวะที่ธุรกิจแข่งกันดุเดือด แถมยังมีคู่แข่งอันน่าเกรงขามจากแดนอารีดังอย่างซัมซุง เข้ามาให้ปาดเหงื่อกันอีก ไม่เฉพาะแต่พานาโซนิกเท่านั้น ผู้ผลิตทีวีรายใหญ่ของญี่ปุ่นอย่างโซนี่ และชาร์ป ก็ดิ้นรนกันเหงื่อตก และพยายามหาทางขายอาคาร และหน่วยธุรกิจชนิดที่เรียกว่า “ขายยกห้าง” ที่อาจระดมเงินได้ถึง 3 พันล้านดอลลาร์ ฮิเดกิ คาไว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของพานาโซนิก บอกว่า ตัวพานาโซนิกเอง มีแผนระดมเงินให้ได้ 1.34 พันล้าน จากการขายอสังหาริมทรัพย์และหุ้นที่กระจายถืออยู่ในบริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งภายในสิ้นเดือนมีนาคมหน้า ฮิเดกิ ยังบอกด้วยว่า ที่ดิน และอาคารที่พานาโซนิกถือครอง ไม่ได้มีเฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น ในต่างประเทศก็มี แต่พอให้แจกแจงรายละเอียด ซีเอฟโอของพานาโซนิก กลับไม่ยอมปริปากเอ่ยถึง บอกได้แค่ส่วนใหญ่อยู่ในแดนซามูไรท่านั้น ซึ่งแหล่งข่าวกระซิบมาว่า รวมถึงอาคาร 24 ชั้น ใจกลางกรุงโตเกียวที่สร้างมาตั้งแต่ปี 2546 มีพื้นที่ราว 47300 ตารางเมตร และยังมีบ้านพักสำหรับพนักงานพานาโซนิก จำนวน 2000 คน ฮิเดกิ บอกเติมว่า พานาโซนิก น่าจะหาเงินเข้ากระเป๋าได้อีก 1 ใน 4 จากการขายหุ้นที่ถือไว้ในหลายบริษัท ซึ่งถือเป็นธรรมเนียบปฏิบัติโดยทั่วไป ที่เปิดให้บริษัทญี่ปุ่นถือหุ้นไขว้ได้ รวมๆแล้ว พานาโซนิก น่าจะมีเงินเข้ากระเป๋าที่เป็นเงินสดพร้อมใช้ราว 2.43 พันล้านดอลลาร์สำหรับปีธุรกิจที่จะสิ้นสุดเดือนมีนาคม และยังช่วยให้ผ้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่แห่งนี้ลดหนี้และมีเงินสำหรับวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยฟื้นฟูธุรกิจของพานาโซนิกให้กลับมาแข็งแกร่งได้อีกครั้ง แต่ยังไม่จบเพียงเท่านั้น พอเริ่มเข้าเดือนเมษายน พานาโซนิก ยังมีแผนขายก๊อกสอง หากสำรวจก้นถุงแล้วพบว่า มีกระแสเงินสดต่ำกว่า 2 แสนล้านเยน ซึ่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของพานาโซนิก นายคาซูฮิโร ซุกะ ประกาศปิดธุรกิจ หรือไม่ก็ขายธุรกิจ ที่มีส่วนต่างกำไรต่ำกว่า 5% และเมื่อถือเดือนเมษายน ก็คงเห็นมหกรรมเทกระจาดกันอีกครั้ง ย้อนกลับมามองดูสินทรัพย์คงที่ของพานาโซนิกพบว่า มีอยู่ราว 2.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าสินทรัพย์คงที่ของแอ๊ปเปิ้ลราว 30% หรือเกือบหนึ่งเท่าของมูลค่าตลาดของบริษัท พานาโซนิก ซึ่งก่อตั้งมาได้เกือบร้อยปี โดยเริ่มต้นจากบริษัทเล็กๆ ผลิตหัวต่อสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิสก์ ปัจจุบัน มีการซื้อขายราวครึ่งหนึ่งของมูลค่าทางบัญชี ซึ่งรวมถึงสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ อย่างเช่นสิทธิบัตรด้วย ส่วนโซนี่ มีการซื้อขายในตลาดอยู่ที่ 39% ของมูลค่าทางบัญชี และชาร์ป อยู่ที่ 30% ไม่ว่าจะเป็นพานาโซนิก โซนี หรือชาร์ปก็ตาม ต่างตกชะตากรรมเดียวกันคือ ถูกลดชั้นความน่าเชื่อถือลง โดยบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เลยทำให้การระดมทุนในตลาดค่อนข้างลำบากจึงต้องหันมาเร่งระบายสินทรัพย์แทน อัลวิน ลิม นักวิเคราะห์จากฟิทช์ เรตติ้งในกรุงโซล บอกว่า การขายสินทรัพย์ ส่งผลดีในแง่อันดับความน่าเชื่อถือของทั้งสามบริษัท เพราะช่วยลดต้นทุนคงที่ และสามารถลดรายจ่ายฝ่ายทุนลงด้วย สุดท้ายมันจะช่วยปรับปรุงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการลง และที่สำคัญคือช่วยให้มีกระแสเงินสดมากขึ้น เดือนที่แล้ว ฟิทช์ ลดอันดับความน่าเชื่อถือของพานาโซนิกลงมาอยู่ที่ BB และโซนี่ลงมาถึง BB- ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ฟิทช์ ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทจัดอันดับชั้นนำรายหนึ่งของโลกปรับให้ตราสารหนี้ของสองบริษัท เข้าข่ายพันธบัตรขยะ ส่วนความน่าเชื่อถือของชาร์ปอยู่ที่ B- หันกลับมามองที่คู่แข่งเกาหลีใต้ ที่รับโชคไปเต็มๆ ไม่ต้องลุ้นจากค่าเงินวอนที่อ่อนตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิสก์และเทคโนโลยีสารสนเทศญี่ปุ่นระบุว่า การผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อตลาดผู้บริโภคของญี่ปุ่น เมื่อปีที่แล้วตกลงมาอยู่ที่ 15 ล้านดอลลาร์ จากระดับสูงกว่า 1.9 พันล้านดอลลาร์ เทียบกับช่วง 10 ปีก่อน สะท้อนความตกต่ำให้เห็นได้อีกจากตัวเลขการผลิตเดือนกันยายนที่ผ่านมาที่ 980 ล้านดอลลาร์ น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึงครึ่งหนึ่ง นักวิเคราะห์จากฟิทช์ บอกด้วยว่า ช่องว่างระหว่างผู้ผลิตเกาหลีใต้กับญี่ปุ่น ถ่างกว้างมากขึ้น และทำให้ยักษ์ใหญ่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ญี่ปุ่นทั้งสามรายคงสถานะผู้นำได้ยากยิ่ง มาดูกลยุทธ์ฟื้นชีพ ของสามค่ายยักษ์กันแบบละเอียด ขณะที่พานาโซนิก มองหาทางฟื้นธุรกิจ โดยหันไปทุ่มกับธุรกิจผลิตแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โซนี่ ก็เทน้ำหนักเพิ่มไปที่อุปกรณ์สมาร์ทโฟน เครื่องเล่นเกม และกล้องดิจิทัล ส่วนชาร์ป จ้องเขม็งไปที่จอแสดงผล และหันไปสร้างพันธมิตรกับฮอน ไฮ พรีซิชั่น อินดัสตรี ของไต้หวัน และควอลคอมม์ ผู้ผลิตชิพของสหรัฐ สำหรับโซนี่ อาจใช้ช่องทางระบายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อระดมเงินสดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอาจตัดใจขายอาคารสำนักงานใหญ่ 37 ชั้นในนิวยอร์ก ซึ่งอาคารดังกล่าว มีชื่อเรียกกันเล่นๆ ว่า CHIPPENDALE ซึ่งหมายถึงตู้สไตล์อังกฤษโบราณ และหากขายได้ โซนี่จะมีเงินเข้ากระเป๋า 1 พันล้านดอลลาร์ทันที โซนี่ ซึ่งมีสินค้าอยู่ในสายการผลิตเพียบ ไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊คไวโอ เครื่องเล่นเกมเพลย์สเตชั่น ทีวียี่ห้อบราเวีย อาจพิจารณาขายธุรกิจผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน สำหรับอุปกรณ์แท็บเลตด้วย ที่ผ่านมามีวาณิชธนกิจมาทาบทามบ้างแล้ว โดยหน่วยธุรกิจนี้ มีพนักงานราว 2700 คน มีโรงงานในญี่ปุ่น 3 แห่ง และโรงงานประกอบ 2 แห่งในต่างประเทศ มูลค่าสินทรัพย์คงที่ของหน่วยธุรกิจนี้อยู่ที่ 636 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับผู้ซื้อที่เล็งๆอยู่ก็มี บริษัทบีวายดี จำกัด เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ของจีน แต่ได้เงินทุนหนุนหลังจากวอร์เรน บัฟเฟต อีกเจ้าหนึ่งคือ ฮอนไฮ ของไต้หวัน ซึ่งถือหุ้นในโรงงานผลิตแผงจอแอลซีดีของชาร์ปในเมืองซาไกอยู่ ตามรายงานข่าวหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่น ระบุว่า บริษัททฮอนไฮ ของไต้หวันแห่งนี้ ยังมีแผนซื้อโรงงานประกอบโทรทัศน์ในจีน มาเลเซีย และเม็กซิโก ด้วยวงเงิน 667 ล้านดอลลาร์ สุดท้ายคือ ชาร์ป ได้นำสินทรัพย์เกือบทั้งหมดมูลค่า 4.6 พันล้านของบริษัท เข้าค้ำประกันไว้กับธนาคารพาณิชย์ญี่ปุ่น เลยมีสินทรัพย์นำออกขายไม่มากนัก ที่ผ่านมา ควอลคอมม์ ตกลงซื้อหุ้น 5% ในชาร์ป แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้ควอลคอมม์ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด ส่วนฮอนไฮของไต้หวันบอกว่า ยังสนใจลงทุนในชาร์ปอยู่ ซึ่งก่อนหน้านี้ เคยตกปากรับคำว่าจะลงทุนในชาร์ป แต่มาเหยียบเบรกตัวโก่งตอนที่หุ้นชาร์ปดิ่งพสุธา หลังจากตื่นตระหนกกับตัวเลขยอดขาดทุน ในมุมมองของนักวิเคราะห์ มองว่า ไม่ว่าทั้งสามบริษัทยักษ์ใหญ่อิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น จะดิ้นไปทางไหนก็ตาม ล้วนถือเป็นก้าวสำคัญอย่างยิ่ง ก่อนคำว่ายักษ์ใหญ่จะกลายเป็นเพียง”อดีต” [code]ที่มา : bangkokbiznews http://bit.ly/QXtg88 [/code]

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This