ความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียกับฝรั่งเศส กำลังได้รับการสถาปนากลับคืนมาใหม่

Must Read

สวัสดีคอไอทีทุกคน วันนี้เรามีข่าวสำคัญจะแจ้งให้ทราบว่า ล่าสุดออสเตรเลียควักกระเป๋าเกือบ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 2.16 หมื่นล้านบาท จ่ายฝรั่งเศส จบความขัดแย้งฉีกสัญญาซื้อเรือดำน้ำที่ไม่ได้ใช้พลังงานนิวเคลียร์ของฝรั่งเศส ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเลย

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้

  • เร็วๆ นี้ นายกรัฐมนตรี แอนโทนี อัลบาเนซี ของออสเตรเลีย เปิดเผยว่า รัฐบาลของเขาบรรลุความตกลงจ่ายเงิน 58 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่บริษัท Naval Group ของฝรั่งเศส เป็นค่าชดเชยที่ออสเตรเลียฉีกสัญญาซื้อเรือดำน้ำในรูปแบบที่ไม่ได้ใช้พลังงานนิวเคลียร์ของฝรั่งเศสเมื่อปีที่แล้ว และจบความขัดแย้งดังกล่าวที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศมานานนับปี
  • โดย นายกฯ อัลบาเนซี ของออสเตรเลีย ระบุว่า บรรลุการจ่ายเงินชดเชยดังกล่าว หลังหารือกับประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส พร้อมกับกล่าวขอบคุณมาครงด้วย
  • เมื่อปี 2021 ออสเตรเลียตัดสินใจยกเลิกคำสั่งซื้อเรือดำน้ำในรูปแบบที่ไม่ได้ใช้พลังงานนิวเคลียร์หลายลำของบริษัท Naval Group ของฝรั่งเศส ที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ทำไว้ตั้งแต่ปี 2016 เพื่อไปทำข้อตกลงใหม่กับสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร สร้างความไม่พอใจให้แก่ฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก และจุดชนวนให้เกิดวิกฤติทางการทูตอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
  • ภายใต้ข้อตกลงใหม่ที่ทำกับสหรัฐ และสหราชอาณาจักรดังกล่าวนั้น ออสเตรเลียจะสามารถสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์อย่างน้อย 8 ลำ โดยได้รับการสนับสนุนทางเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร

และล่าสุดนาย อัลบาเนซี เปิดเผยด้วยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียกับฝรั่งเศส กำลังได้รับการสถาปนากลับคืนมาใหม่ และเขาได้ตอบรับคำเชิญของประธานาธิบดีมาครงแล้ว ที่จะเดินทางไปเยือนฝรั่งเศสและพบกับประธานาธิบดีมาครงด้วย

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

ปรับตัวใหม่! ตลาดหุ้นโลกและผลการประชุมธนาคารกลางส่งสัญญาณอะไรบ้าง?

สัปดาห์นี้เราเห็นการเคลื่อนไหวใหญ่ในตลาดหุ้นทั่วโลก ที่มาพร้อมกับการตัดสินใจสำคัญจากธนาคารกลางหลายแห่ง ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยไปจนถึงการอัปเดตเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ให้สัญญาณว่าอาจจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ตามด้วยธนาคารกลางสวิสฯ ที่เริ่มต้นด้วยการลดดอกเบี้ยลง 0.25% เป็นการตอบสนองต่อเงินเฟ้อที่ลดลง ในอีกด้านของโลก, ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็ทำการปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี ขณะที่ยังคงนโยบายการซื้อพันธบัตร เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในขณะนี้...
- Advertisement -

More Articles Like This