จบไอทีไม่ตกงาน! อุตสาหกรรมไอทีขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ตลาดยังต้องการอีกเพียบ

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

อุตสาหกรรมไอที อุตสาหกรรมไอที ขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก เหตุเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว ขณะที่ตลาดยังมีความต้องการแรงงานไอทีสูง “สวทช.” แนะคนไอทีพัฒนาทักษะเพิ่มผ่านกลไกรัฐช่วยหนุน ผ.อ.”ไอเอ็มซี” ชี้คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ ปัญหาจำนวนแรงงานหรือบุคลากรระดับผู้เชี่ยวชาญที่ไม่เคยเพียงพอของวงการไอทีกลายเป็น “ประเด็นคลาสสิค” ที่ยังไม่มีทีท่าจะเบาบางลง แต่กลับกันยิ่งดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากขึ้นแปรผันตรงแถมยังตามหลังแบบห่างๆ เมื่อเทียบกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและยิ่งดูสถานการณ์จะยิ่งย่ำแย่เมื่อวัดกันถึงแรงงานระดับ “คุณภาพ” ที่จะสามารถต่อยอดเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมได้มากกว่าจะเป็นแรงงานไอทีทั่วไป หลักสูตรตามไม่ทันเทคโนฯ นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)กล่าวว่า ส่วนของภาคไอทีนั้นแรงงานเข้าขั้น “ขาดแคลนหนัก” โดยมีหลายปัจจัย เช่น หลักสูตรการเรียนการสอนตามสถาบันการศึกษา ไม่ได้รับการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงให้ทันกับโลกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปเร็วมาก ส่วนใหญ่หลักสูตรที่สอนตามมหาวิทยาลัยก็จะมุ่งเน้นการสอนตามทฤษฏีหลักๆ แต่ไม่เน้นในเรื่องของการนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในภาคอุตสาหกรรม “ปัญหาสำคัญ คือ เราตามเทคโนโลยีกันไม่ทัน หลักสูตรการเรียนการสอนที่มีเมื่อนักศึกษาจบมา ไม่ตรงกับคุณสมบัติหรือความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ไทยเสียโอกาสในการพัฒนาคนเก่งๆ ในเรื่องไอที ดังนั้นจึงมีความพยายามระหว่างหน่วยงานด้านไอทีของประเทศ และสถาบันการศึกษาในการพัฒนาคนให้เหมาะกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม” นางสุวิภา กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันแรงงานด้านไอทีในไทยทั้งอุตสาหกรรมมีเพียงแค่ 50,000 คน แต่ละปีเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 5,000 คน เท่านั้น ซึ่งหากเทียบกับประเทศเวียดนามแล้ว ถือว่าไทยยังห่างไกลมาก เพราะเวียดนามมียุทธศาสตร์ในเรื่องนี้ชัดเจนโดยตั้งเป้าว่าปี 2015 จะต้องมีโปรแกรมเมอร์ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน “ต้องยอมรับว่า แรงงานไอทีของไทย ยังหาคนที่เก่งจริงๆ ยาก เราต้องพยายามพัฒนาแรงงานไอทีเฉพาะทางให้เพิ่มขึ้นมากกว่านี้ ขณะที่ แรงงานไอทีที่มีอยู่แล้ว ต้องพยายามเพิ่มทักษะ หรือ Re-skill ตัวเองขึ้นมาให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ต้องไปหาความรู้เพิ่ม ซึ่งความรู้พวกนี้ปัจจุบันสามารถเรียนผ่านเว็บได้ทั้งหมด มีเครื่องมือที่เข้าถึงง้ายขึ้นกว่าในอดีต ขณะเดียวกันก็ต้องมีกลไก จูงใจคนที่คิดจะเข้ามาสู่แรงงานภาคไอทีว่า เขาสามารถพัฒนาทักษะและขึ้นเป็นเจ้าของกิจการได้ ไม่ใช่เป็นได้แค่ลูกจ้างเท่านั้น” อย่างไรก็ตามเธอยังบอกด้วยว่า แรงงานไอที ควรต้องเร่งพัฒนาศักยภาพของตัวเองขึ้นมา โดยเฉพาะในระดับโปรเจค แมเนจเม้นท์ เพราะเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จะสามารถใช้เอาท์ซอร์สจากประเทศเพื่อนบ้านได้ “ขณะนี้ สวทช.กำลังผนึกกำลังกับมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงบริษัทในอุตสาหกรรม เพื่อสอนหลักสูตรในด้านไอทีที่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม เมื่อเด็กจบมาก็ให้ฝึกงานกับบริษัทนั้นๆ ได้เลย ดิฉันมองว่า เด็กไทยเก่งๆ รวมถึง บุคคลากรด้านไอทีขณะนี้ยังรับทักษะใหม่ๆ ได้อีกมาก แต่ต้องอาศัยปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ขณะนี้ รัฐเองก็มีกลไกสนับสนุนในเรื่องของภาษี คือ ให้พนักงานไปพัฒนาทักษะไอทีเพิ่มเติม แล้วนายจ้างสามารถนำค่าใช้จ่ายเหล่านั้นมาหักภาษีได้” นางสาวสุวิภา กล่าว ย้ำ”คุณภาพ”สำคัญกว่าปริมาณ นายธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี ศูนย์รวมข้อมูลเชิงวิชาการสำหรับอุตสาหกรรมไอซีทีในไทย ระบุว่า แรงงานไอทีเป็นปัญหาที่มีมาต่อเนื่อง แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าการผลิตบุคลากรให้ได้ปริมาณตามความต้องการของตลาดคือ “คุณภาพ” รวมถึงยังควรให้ความสำคัญกับสิ่งที่คนไทยถนัด เพราะพื้นฐานคนไทยส่วนใหญ่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้ดีกว่าการเป็นผู้ผลิตหรือพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการใช้งานในองค์กรขนาดใหญ่ “เราต้องเน้นเรื่องของคุณภาพมากกว่ามองเรื่องตัวเลขแรงงานอย่างเดียว เหมือบกับอาชีพหมอที่ยุคไหนๆก็ไม่เพียงพอ ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเป็นหมอได้หมด แต่ต้องดูด้วยว่าเราถนัดทางไหน ดูจากภาพรวมแล้วจุดแข็งของไทยที่มองเห็นคือ การทำเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ที่จะเห็นว่ามีบริษัทเกิดใหม่เกี่ยวกับไอทีช่วงนี้เยอะ และเป็นไปได้มากกว่าการจะเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์องค์กรใหญ่ๆ หรือรับงานเอาท์ซอร์สจากต่างประเทศ” ผู้อำนวยการไอเอ็มซียังมองว่า การสร้างแรงงานด้านไอทีอาจไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงไอซีทีเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องเกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการที่มีบทบาทโดยตรงต่อการสร้างพื้นฐานการศึกษา เพราะคนจะเก่งด้านไอทีควรต้องมีพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์แข็งแกร่ง ซึ่งควรต้องได้รับการกระตุ้นหรือส่งเสริมด้วยการศึกษาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ส่วนค่าแรงไอทีสำหรับตลาดไทยจัดอยู่ในระดับค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศในแถบเดียวกัน เช่น เวียดนามและฟิลิปปินส์ ซึ่งค่าแรงไอทีเริ่มต้นโดยเฉลี่ยยังไม่เกิน 10,000 บาท ขณะที่ไทยมีค่าแรงขั้นต้นสูงกว่ามาก และเกินกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 15,000 บาทมานานแล้ว อย่างไรก็ตามประเด็นที่น่ากังวลกว่าคือ ความสนใจของเยาวชนที่ปัจจุบันเริ่มมองสาขาวิชาที่เรียนง่าย ไม่ซับซ้อน จบแล้วมีงานทำ ทำให้กระแสการเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มน้อยลงไปด้วย วิศวะ-ไอที ตลาดยังต้องการ ด้านนางสาวธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชีย ไทย-เวียดนาม กลุ่มบริษัทอเด็คโก้ ประเทศไทย จำกัด บริษัทให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลครบวงจร กล่าวถึงแนวโน้มการจ้างแรงงานปี 2556 ว่า ตำแหน่งที่คนทำงานมองหามากที่สุด คือ การตลาด วิศวะ และไอที ซึ่งปี 2555 มีผู้สมัครงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบทุกสายอาชีพ โดยตำแหน่งการตลาดเป็นตำแหน่งที่คนทำงานมองหามากที่สุด แต่จำนวนเปิดรับยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มคนทำงาน ทำให้เกิดการแข่งขันสูง พร้อมกันนี้ สภาพการจ้างงานในประเทศกำลังพัฒนาจะต้องการแรงงานระดับปฏิบัติการเพิ่มมากขึ้น แต่กลับเกิดสถานการณ์ “Talent shortage” หรือขาดแคลนแรงงานที่มีขีดความสามารถสูง หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่เป็นที่ต้องการขององค์กรต่างๆ ในระดับบริหารงาน [code]ที่มา : bangkokbiznews : http://bit.ly/14CZQQm [/code]

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

ปรับตัวใหม่! ตลาดหุ้นโลกและผลการประชุมธนาคารกลางส่งสัญญาณอะไรบ้าง?

สัปดาห์นี้เราเห็นการเคลื่อนไหวใหญ่ในตลาดหุ้นทั่วโลก ที่มาพร้อมกับการตัดสินใจสำคัญจากธนาคารกลางหลายแห่ง ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยไปจนถึงการอัปเดตเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ให้สัญญาณว่าอาจจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ตามด้วยธนาคารกลางสวิสฯ ที่เริ่มต้นด้วยการลดดอกเบี้ยลง 0.25% เป็นการตอบสนองต่อเงินเฟ้อที่ลดลง ในอีกด้านของโลก, ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็ทำการปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี ขณะที่ยังคงนโยบายการซื้อพันธบัตร เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในขณะนี้...
- Advertisement -

More Articles Like This