จีนใจกว้าง ประกาศยินดีต้อนรับให้ชาติอื่นมีส่วนร่วมในการช่วยวิเคราะห์ตัวอย่างจากดวงจันทร์ในภารกิจฉางเอ๋อ-5

Must Read

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน พบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการอัพเดทข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สำหรับครั้งนี้เรามีข่าวดีจะมาแจ้งให้ทุกคนได้ทราบว่า จีนประกาศส่งเสริมนานาประเทศร่วมวิจัย ‘ตัวอย่างจากดวงจันทร์’

รายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ที่สรุปด้านล่างนี้

  • ในช่วงกลางเดือน มกราคม 2021 ที่ผ่านมา จีนได้เปิดเผยข้อบังคับเกี่ยวกับวิธีจัดการตัวอย่างที่ได้จากดวงจันทร์ โดยสนับสนุนให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศในการศึกษาตัวอย่างเหล่านี้ที่นำกลับมาโดยยานสำรวจฉางเอ๋อ-5
  • ข้อบังคับดังกล่าวซึ่งเผยแพร่โดยองค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) ครอบคลุมหลักการทั่วไปในการเก็บรักษา การจัดการ การใช้ การยืม และการส่งคืนตัวอย่างข้างต้น ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลและการจัดการกับผลวิจัยที่ได้จากตัวอย่าง
  • กฎระบุว่าโดยทั่วไปแล้วจะมีการใช้ตัวอย่างจากดวงจันทร์เพื่อวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ การจัดเก็บถาวร การสำรองข้อมูลก่อนการจัดเก็บถาวร การวิจัย และการใช้งานเพื่อประโยชน์สาธารณะ
  • อนึ่ง ยานสำรวจฉางเอ๋อ-5 (Chang’e-5) ซึ่งประกอบไปด้วยโมดูลโคจร โมดูลลงจอด โมดูลพุ่งขึ้น และโมดูลส่งกลับ
  • ยานฉางเอ๋อ-5 ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2020 จากนั้นแคปซูลส่งกลับได้ลงจอดในเขตปกครองตนเองมองโกเลียในของจีนเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. โดยเก็บตัวอย่างจากดวงจันทร์ได้ประมาณ 1,731 กรัม

และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในแวดวงวิทยาศาสตร์ที่เราอยากแจ้งให้ทุกคนได้ทราบในครั้งนี้ ทั้งนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งข่าวดีในโลกวิทยาศาสตร์อวกาศ ที่จีนมีความใจกว้าง เปิดโอกาสให้ชาติอื่นๆ ได้ร่วมวิเคราะห์วิจัยตัวอย่างจากดวงจันทร์ด้วย

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This