ดูละครMy Bromance พึ่ชายเดอะซีรี่ย์ แล้ว  ขอสนับสนุนให้พรบ. คู่ชีวิตแก้ไขให้บุคคลเพศเดียวกัน ได้มีโอกาสจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมกัน

Must Read

ละครเรื่องพี่ชาย ที่เคยออกอากาศทางช่อง9 เอ็มคอต ที่เสนอมุมมองความรักของชายรักชาย ระหว่างกอล์ฟกับแบงค์. ทำให้ผู้เขียนนึกถึงข่าว ที่กลุ่มคนรักร่วมเพศรณรงค์ ให้กลุ่ม คนรักร่วมเพศได้มีโอกาสแก้ไขการจดทะเบียนสมรส เรื่องนี้ผู้เขียนพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะสมัยที่ยังไม่มีพรบคู่ชีวิต ก็เคยได้ยินเรื่องราวของ เพื่อนทางเฟสบุ๊คทำให้ทราบว่า พวกเขาเสียสิทธิ์ ขาดโอกาสดีๆหลายอย่างที่ดีหลายอย่างในชีวิต

เรื่องของเอก เอกเป็นเกย์เป็นแฟนกับต้นมานาน ซึ่งทั้งสองคนมาจากครอบครัว อนุรักษ์นิยมพ่อแม่พี่น้อง รับไม่ได้ที่ลูกชายเป็นเกย์ พอรู้ว่าลูกชายเป็นเกย์ทั้งเอกและต้น จึงถูกตัดหางปล่อยวัดไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆจากครอบครัว

แต่เอกกับต้นก็ถือคติว่าช่างมันฉันไม่แคร์. ไม่มีใครรักเรา. พวกเรารักกันก็พอ แค่ใจเรารักกัน ถึงพ่อแม่ญาติพี่น้องไม่สนใจ เราก็อยู่ด้วยกันร่วมกันสร้างอนาคต สร้างครอบครัวกันเองได้ ไม่ต้องง้อให้ใครมาช่วยเหลือพวกเรา เอกกับต้นจึงร่วมกันทำธุรกิจ และต้นได้ซื้อบ้านอยู่กับเอก แบบคู่รักสามีภรรยาชาวเกย์ ทั้งคู่รักกันสร้างครอบครัว อยู่ที่บ้านหลังนี้ด้วยกันอย่างมีความสุขมา20กว่าปี

แต่แล้วประเทศไทยได้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้ธุรกิจของเอกและต้นเกิดปัญหา ต้นเกิดอาการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าทำใจไม่ได้ เอาแต่กินเหล้าเมายา. อยู่มาวันหนึ่งขณะที่ต้นกำลัง ขับรถกลับบ้านหลังจาก ที่ออกไปกินเหล้า เพราะต้นกินเหล้าหนักเลยเกิดอาการเมาแล้วขับ ทำให้ต้นเกิดอุบัติเหตุรถคว่ำบาดเจ็บสาหัส

พอทราบข่าวเอกรีบมาโรงพยาบาล หมอบอกว่า ต้นมีอาการบาดเจ็บมาก ต้องรีบผ่าตัดอย่างเร่งด่วน แต่เพราะเอกเป็นแค่คู่เกย์กับต้น จึงไม่มีสิทธิจะทะเบียนสมรสเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมาย หมอจึงบอกว่า เอกไม่มีสิทธิ์เซ็นยินยอมให้แพทย์ทำการรักษาผ่าตัดให้แก้ต้น

เพราะตามกฎหมายให้สิทธิในคู่สมรสชาย-หญิงที่จดทะเบียนสมรสกันเท่านั้น ในกรณีที่หากฝ่ายหนึ่งป่วยหนักไม่ได้สติ แพทย์ย่อมต้องขอความเห็นจากคู่สมรส เพื่อตัดสินใจเรื่องการรักษาพยาบาล  ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด การให้ยา หรือการหยุดรักษา

แต่คู่หลากหลายทางเพศไม่อาจมีสิทธิตัดสินใจแทนได้ แพทย์จึงต้องขอฟังความเห็นจากญาติคนอื่นซึ่งอาจสนิทน้อยกว่า รวมถึงในกรณีเร่งด่วนที่บางครั้งการตัดสินใจอย่างรวดเร็วอาจมีผลกับความเป็นความตาย แพทย์ก็ไม่อาจฟังความเห็นจากคู่ชีวิตที่ไม่มีทะเบียนหลักฐาน

เอกจึงได้แต่รู้สึกเหมือนว่า เพราะขาดแค่กระดาษแผ่นเดียว ตัวเองเลยเป็นคนไร้ค่า แม้แต่คนที่ตัวเองรักจะตายอยู่ต่อหน้าต่อตา ก็ไม่สามารถช่วยชีวิตเขาได้ เอกจึงได้แต่รอญาติของต้นให้มา ลงชื่อยินยอมให้ทำการรักษา

และแล้วพ่อแม่ญาติพี่น้องของต้นมาถึงที่โรงพยาบาล แค่เห็นหน้าเอกก็รุมประนามขับไล่ต้น กันยกใหญ่ พูดขับไล่เอกประมาณว่า ไอ้ตัวกาลากิณีวิปริตผิดเพศ เพราะมึงคนเดียวทำให้ต้นลูกกูต้องเป็นแบบนี้ ทำให้ครอบครัวกูต้องพบกับความฉิบหาย มึงไปให้ไกลตีนพวกกูเดี๋ยวนี้ไอ้ตัวฉิบหาย

ต่อมาเอกได้ข่าวว่าต้นเสียชีวิต ทั้งๆที่ความจริงเอก ควรจะได้ไว้อาลัยต้นเป็นครั้งสุดท้ายด้วยการเป็นเจ้าภาพจัดการงานศพของต้น ก็เพราะว่าไม่ได้จดทะเบียนสมรสอีกนั่นแหละค่ะ ทำให้เอกไม่สามารถทำอะไรให้ต้นได้เลยตามกฎหมาย ในคู่สมรสชาย-หญิงที่จดทะเบียนนั้น อีกฝ่ายจะมีสิทธิในการจัดการศพ เช่น การรับศพออกจากโรงพยาบาล การรับเงินสงเคราะห์ค่าทำศพ การขอออกใบมรณะบัตร เป็นต้น

แต่คู่หลากหลายทางเพศ ซึ่งมีฐานะเป็นแค่ “เพื่อน” จะไม่มีสิทธินี้ ต้องให้ญาติที่อาจสนิทน้อยกว่าเป็นผู้จัดการแทน

เพราะแค่ขาดกระดาษแผ่นเดียว อย่าว่าแต่จะมีอำนาจจัดงานศพเลย แม้แต่เดินผ่านงานศพของต้นเอกก็คงทำไม่ได้ เพราะแค่เห็นหน้าเอกไกลๆ ทางครอบครัวของต้น ก็คงจะไล่เอกยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน เอกรู้สึกว่าตัวเองไร่ค่ายิ่งกว่าหมาข้างถนน หมาข้างถนนบางทียังมีคนดูแลเอาใจให้อาหารมัน ไม่รังเกียจขับไล่ให้ไปไกลๆเหมือนกับญาติพี่น้องของต้น

เรื่องบ้านเรื่องเงินมรดกของต้นเอกก็ไม่มีทาง ได้บ้านได้มรดกของต้นสักสลึงเดียว เพราะต้นเกิดอุบัติเหตุจากไปอย่างกระทันหัน เลยยังไม่ทันทำพินัยกรรมให้เอก เเละบ้านก็เป็นเงินของต้นคนเดียวที่ซื้อ เป็นผู้ผ่อนบ้านเพราะ สองคนไม่มีโอกาสได้จดทะเบียนสมรส

เอกจึงไม่ทีสิทธิในการทำธุรกรรมทางการเงินร่วมกันกับต้น เช่น การกู้เงินธนาคารเพื่อซื้อบ้าน กู้ด้วยกันไม่ได้ เพราะเอกเป็นแค่แฟนเกย์ไม่ใช่คู่สมรสหรือผู้สืบสันดาน

และถามกฎหมายคนที่จะมีสิทธิได้บ้านและเงินมรดก ต้องเป็นคู่สมรสชาย-หญิงที่จดทะเบียนเท่านั้น ตามกฎหมายให้ถือว่าคู่สมรสเป็นทายาท โดยธรรมลำดับแรก หากฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิรับมรดกก่อน ทายาทลำดับอื่น

แต่คู่ของเอกและต้น คือคู่หลากหลายทางเพศ จะไม่มีสิทธิใดๆ เลย แม้จะเป็นทรัพย์สิน ที่ร่วมสร้าง ด้วยกันมา แต่ในชื่อของผู้ที่เสียชีวิต ทรัพย์สินต้องเป็นของพ่อแม่พี่น้องญาติ ของต้นผู้ต ายทั้งหมด เอกที่เป็น คู่ชีวิตจะไม่ได้ส่วนแบ่งเลย

เอกเลยลำบากไม่ได้บ้านไม่ได้มรดกใดๆจากต้น จะสานต่อธุรกิจของต้น ธุรกิจก็ขาดทุนทำต่อไปไม่ได้ จะกลับไปพึ่งครอบครัวตัวเอง ครอบครัวของเอก

ก็รังเกียจที่เอกเป็นเกย์ ไม่ต่างอะไรกับครอบครัวของต้น จะหางานทำก็อายุมากหางานลำบาก

เพราะสมัยก่อนไม่มีพรบ.คู่ชีวิต เอกกลับต้องเป็นอายุมาก ที่ยากไร้ไม่ได้หลักประกันใดๆในชีวิต ไม่มีสิ่งใดๆมาตอบแทนความดีให้แก่เอก ที่รักและดูแลต้นมา20กว่าปี แต่กฎหมายดันทุรัง ให้พ่อแม่ญาติๆจอมเอาเปรียบของต้น ที่ไม่เคยรักไม่เคยสนใจจะมาห่วงใย ดูแลต้นเลยตอนต้นยังมีชีวิตอยู่ กลับชุปมือเปิปได้รับบ้านรับมรดกของต้นไปได้อย่างสบายๆ

ละครMy Bromance จะแต่งให้เรื่องความรัก ของกอล์ฟและแบงค์ จะจบแบบสวยงามหรือแสนเศร้ายังไงก็ได้ เพราะมันเป็นเรื่องในละคร แต่ชีวิตจริงคนเราไม่มีสิทธิ์เลือกให้ได้สิ่งที่สวยงามตามอย่างที่ใจเราต้องการได้ ดังนั้นการสนับสนุนให้มีพรบ. คู่ชีวิตจึงเป็นการสร้างหลักประกันให้คู่รักเพศเดียวกันได้รับสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียม. กับคู่สามีภรรยาชายหญิง

  1. สิทธิในการทำธุรกรรมทางการเงินร่วมกัน เช่น การกู้เงินธนาคารเพื่อซื้อบ้าน (กู้ด้วยกันไม่ได้ เพราะไม่ใช่คู่สมรสหรือผู้สืบสันดาน)
  2. สิทธิในการรักษาพยาบาล หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับราชการ (ไม่ได้สิทธิ์ เพราะไม่ใช่คู่สมรสตามกฎหมาย)
  3. สิทธิการลงชื่อยินยอมให้แพทย์ทำการรักษาพยาบาลแก่คู่ชีวิต (ลงชื่อไม่ได้ เพราะไม่ใช่บุคคลในครอบครัวหรือญาติ)
  4. สิทธิในการรับมรดกที่ร่วมสร้างกันมา ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตกะทันหันและไม่มีพินัยกรรมระบุไว้ (ซึ่งในปัจจุบัน ทรัพย์สินในชื่อผู้เสียชีวิต จะตกไปยังญาติตามกฎหมายทั้งหมด)
  5. สิทธิในการลดหย่อนภาษีเงินได้ ในกรณีมีคู่สมรส
  6. สิทธิการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม

ปัจจุบันภายหลัง ครม.ให้ความเห็นชอบ ได้เกิดแฮชแท็ก #ไม่เอาพรบคู่ชีวิต ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ภายในไม่กี่ชั่วโมง มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ไม่ครอบคลุมการเข้าถึงสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของคู่ชีวิต

3 วัน เกือบ 5 หมื่นคน แห่ให้ความเห็นร่าง พ.ร.บ.แก้กฎหมายเปิดทางแต่งงานเพศเดียวกัน

ครอบครัวหลากหลายทางเพศ ความหวังถึง กม.แต่งงานเพศเดียวกันในไทย

ส.ส. ข้ามเพศคนแรกของรัฐสภาไทย กับการแต่งกายตามเพศสภาพ และก้าวแรกของความเป็นมนุษย์เท่ากัน

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุม ครม. วันนี้ (8 ก.ค. ) ว่า ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. เสนอโดยกระทรวงยุติธรรม ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่าง พ.ร.บ. แล้ว

สำหรับร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต มีขึ้นเพื่อให้กลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติ ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี

สาระของ พ.ร.บ. คู่ชีวิตมีอะไรบ้าง

คู่ชีวิต หมายถึง บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิดและได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ.นี้

การกำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้

กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะกระทำได้ก็ต่อ

ส่วนของร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสาระสำคัญ ดังนี้

กำหนดให้ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมี “คู่สมรส” หรือ “คู่ชีวิต” อยู่ไม่ได้

กำหนดให้เหตุฟ้องหย่า รวมถึงกรณีสามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉัน “คู่ชีวิต”

กำหนดให้สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพในกรณีหย่าหมดไป ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่ หรือจดทะเบียนคู่ชีวิต

นอกจากนี้ ครม.เห็นชอบให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญภายหลังจากที่ร่าง พ.ร.บ. รวม 2 ฉบับในเรื่องนี้ มีผลใช้บังคับแล้ว รวมทั้งให้ร่วมกับกระทรวงอื่น ๆ พิจารณาศึกษาผลกระทบและแนวทางในการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ของคู่ชีวิตให้มีความเป็นธรรม เท่าเทียม และไม่เป็นการเลือกปฏิบัติต่อสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างแท้จริง

เมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองฝ่ายมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย

กำหนดให้กรณีที่ผู้เยาว์จดทะเบียนคู่ชีวิตจะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือ ศาล รวมทั้งกำหนดให้ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิต

กำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย เช่นเดียวกับสามีหรือภรรยา และมีอำนาจ ดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกันกับสามีหรือภรรยา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิตโดยแบ่งเป็นสินส่วนตัวและสินทรัพย์ร่วมกัน

คู่ชีวิตสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ และคู่ชีวิตสามารถฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่ง มาเป็นบุตรบุญธรรมของตนเองก็ได้

เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

กำหนดให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคู่สมรส (มาตรา 1606, 1652, 1563) ครอบครัว และบุตรบุญธรรม มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลม

เพิ่มเติม ป.พ.พ.พรรคก้าวไกล

จนถึงขณะนี้ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ. ที่เสนอ โดย ส.ส.ธัญวัจน์ จากพรรคก้าวไกล มีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นกว่า 50,000 คน พร้อม ๆ กับแฮชแท็ก #สมรสเท่าเทียม ที่ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สาระสำคัญ คือ การแก้ไขถ้อยคำในหลายมาตราที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า “สามีและภรรยา” เป็น “คู่สมรส” มีการปรับถ้อยคำจากคำว่า “ชาย” หรือ “หญิง” เป็น “บุคคล” เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสมรสระหว่างบุคคล

ส่วนร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต เป็นการร่างกฎหมายขึ้นมาฉบับใหม่ ที่บัญญัติการจดทะเบียนสำหรับบุคคลเพศเดียวกันขึ้นมาโดยเฉพาะ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เคยผ่านความเห็นชอบจาก ครม.มาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อเดือน ธ.ค.2561 ในสมัยรัฐบาล คสช. ต่อมาร่าง พ.ร.บ.ได้เข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นและขั้นตอนพิจารณาของกฤษฎีกา ก่อนเสนอต่อ ครม.อีกครั้งในวันนี้

ข้อวิจารณ์หลักที่มีการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต คือ การไม่ครอบคลุมการเข้าถึงสวัสดิการและสิทธิประโยชน์บางประการของคู่ชีวิต เช่น การลดหย่อนภาษีของคู่สมรส โดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ชี้ว่า ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตได้กำหนดถ้อยคำที่แยกออกมาเป็น ‘คู่ชีวิต’ ทำให้คู่ชีวิตขาดโอกาสในการเข้าถึงสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์ที่รัฐได้กำหนดไว้ให้ ‘คู่สมรส’ เช่น การลดหย่อนภาษีของคู่สมรสตามประมวลรัษฎากร

ความแตกต่างอื่น ๆ

 การหมั้น
ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ไม่ระบุ

ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ของพรรคก้าวไกล 17 ปี

– อายุขั้นต่ำจดทะเบียน

ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต 17 ปี

ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ของพรรคก้าวไกล 18 ปี
หลายๆคนเชื่อว่า การจดทะเบียนสมรส ไม่ใช่เรื่องจำเป็น เพราะเรารักกัน คบกันที่หัวใจ  แต่อีกในมุมนึง การที่คนสองคนใช้ชีวิตร่วมกัน มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับรู้ของคนในสังคมเช่นกัน และหากมีการจดทะเบียนสมรส ทั้งสองก็สามารถยืนยันสิทธิและแสดงหน้าที่ของคนทั้งสองได้มากกว่าความรัก

แน่นอนว่าการจดทะเบียนสมรส ขึ้นกับความสมัครใจของคนสองคน  ไม่ใช่สิ่งที่ คู่ชาย-หญิง  คู่ชาย-ชาย คู่หญิง-หญิง ทุกคู่ต้องการ  แต่การจดทะเบียนสมรสเป็นสิ่งที่พลเมืองทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน

ตามรัฐธรรมนูญไทย บัญญัติว่า “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำหนด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายภาพหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม”

ดังนั้น บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ มิได้เรียกร้องสิทธิใดๆที่เหนือกว่าหรือมากกว่าประชาชนพลเมืองทั่วไป ซึ่งเมื่อมีสิทธิ ก็จะมีสิทธิเช่นกัน ที่จะจดทะเบียนสมรสหรือไม่จดทะเบียนสมรสหรือจะอยู่ด้วยกันเฉยๆก็ได้ (เหมือนกับคู่รัก ชาย-หญิง)

ซึ่งผู้เขียนก็คิดว่า เพศที่3ก็คือผู้ที่เสียภาษีให้แก่ทางรัฐบาลเหมือนประชาชนคนอื่นๆ ดังนั้นจึงควรที่จะได้รับสวัสดิการจากทางรัฐบาล เท่าเทียมกันกับเพศชาย และเพศหญิง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.bbc.com/thai/thailand-53332376

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This