นักวิจัยญี่ปุ่นคิดค้น QR Code กินได้สำหรับใช้กับคุกกี้ได้สำเร็จแล้ว

Must Read

ใครที่ชื่นชอบเทคโนโลยีด้านอาหาต้องมารวมกันทางนี้ เพราะครั้งนี้เรามีข่าวที่น่าตื่นเต้นจะแจ้งให้ทราบว่า ล่าสุดนักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นสามารถคิดค้น QR Code ที่ซ่อนไว้ในอาหารตัวอย่างอย่าง คุกกี้ เพื่อใช้แทนฉลากอาหารที่เป็นกระดาษเพื่อบอกคุณภาพของอาหารได้สำเร็จแล้ว

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้

หลายคนเชื่อว่า ฉลากอาหารที่เป็นกระดาษซึ่งใส่ไว้ในซองขนมนั้นเป็นสิ่งที่หลายคนไม่ค่อยอ่าน และสุดท้ายมันก็จะกลายเป็นขยะ

นักวิจัยจากญี่ปุ่นจึงเกิดไอเดียในการคิดค้นสร้าง QR Code แบบกินได้ไว้ในขนมตัวอย่างอย่าง คุกกี้ ได้สำเร็จ เพราะเมื่อผู้บริโภคต้องการจะทราบคุณภาพของอาหารก็เพียงแค่นำสมาร์ทโฟนมาสแกนที่ QR Code มันก็จะบอกคุณสมบัติต่างๆ เกี่ยวกับอาหารออกมาให้เราทราบได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลโภชนาการ เช่น ส่วนผสม วันเดือนปีที่หมดอายุ

ซึ่งความสำเร็จครั้งนี้เกิดจากการใช้เทคโนโลยีพิมพ์สามมิติ พิมพ์ QR Code ฉลากข้อมูลซ่อนไว้ในเนื้อคุกกี้ หวังให้ผู้บริโภคสแกนอ่านได้ทันที โดยที่ไม่ต้องเพิ่มขยะให้โลก

ทีมวิจัยจึงได้พัฒนาวิธีการพิมพ์สามมิติบนอาหารที่เรียกว่า อินทีเรียเคอร์ (Interiqr) มาจากคำว่า อินทีเรีย คิวอาร์ (interior QR) หรือการพิมพ์คิวอาร์โค้ดภายใน โดยทีมวิจัยระบุว่าเป็นการพิมพ์ที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อหน้าตา หรือรสชาติของอาหารแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม คุกกี้เป็นเพียงแค่ขนมตัวอย่างสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งมันก็สำเร็จไปได้ด้วยดี จึงมีความเป็นไปได้ว่าเทคโนโลยี QR Code กินได้นี้จะถูกนำไปใช้กับขนม และอาหารการกินชนิดอื่นๆ ด้วย

และนี่ก็คือ QR Code กินได้ที่เราอยากแนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้จักในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นที่ชื่นชอบถูกใจคอเทคโนโลยีทุกคน และหากมีเทคโนโลยีอาหารใหม่ๆ ที่น่าสนใจเช่นนี้อีก เราจะรีบมาอัพเดทให้ทุกท่านได้ทราบก่อนใครทันที

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

บริดจสโตนได้รับรางวัลคุณภาพที่โดดเด่นในประเทศไต้หวัน 2 รางวัล จากงานประกาศรางวัล 2023 TDEM Annual Supplier Conference

บริดจสโตนได้รับ 2 รางวัลจาก TDEM คือ "2022 Regional Supplier Outstanding Performance ประเภท Quality Performance" และ "2022 Outstanding Performance Supplier for...
- Advertisement -

More Articles Like This