พลัง Social Media ต่อการเมืองไทยและต่างประเทศ

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

การเมืองไทยในช่วงโหมดการเลือกตั้ง ปี 2554 ทั้งพรรคการเมืองใหญ่ พรรคขนาดกลาง พรรคที่เสนอตัวเข้ามาเป็นทางเลือกใหม่และพรรคเล็ก เว็บไซต์ประชาปัตย์ ต่าง เร่งจัดทัพหาเสียงและให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การสื่อสาร การสาดประเด็นผ่านพื้นที่สื่อไม่เว้นในแต่ละวัน นอกเหนือจากสื่อเดิมๆ ที่คุ้นเคยกันแล้ว การใช้ “สื่อใหม่” ยุคเครือข่ายสังคมออนไลน์ปัจจุบันดูจะเป็นสีสันไม่น้อย พจน์ ใจชาญสุขกิจ นักสื่อสารกลยุทธ์แบบบูรณาการ กล่าวว่า การสื่อสารของพรรคการเมืองในกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่วัยทำงาน  การใช้สื่อ Digital, Website โดยเฉพาะ Social Media อย่าง Facebook และ Twitter ดูจะเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจสูงในยุคนี้ นักการเมืองหลายคนได้เริ่มเข้ามาวางเครือข่ายไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นช่องทาง การสื่อสารกับผู้สนใจทั้งแบบจริงใจและแบบจัดตั้ง จนกระทั่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกมาตอกย้ำเรื่องการหาเสียงผ่าน Social Media ว่าจะนำมาคิดคำนวณค่าใช้จ่ายเรื่องการหาเสียงในสื่อเครือข่ายสังคมนี้ให้ อยู่ในงบหาเสียง 1.5 ล้านบาทต่อคน จึงนับเป็นอีกปรากฏการณ์ใหม่ของการเลือกตั้งในเมืองไทยครั้งนี้ เว็บไซต์เพื่อไทย แกะรอย “โซเชียล มีเดีย” ต่างแดน รูปแบบการใช้โซเชียล มีเดีย หาเสียงอย่างมีสีสันคงต้องย้อนกลับไปถึงชัยชนะของประธานาธิบดี “โอบามา” ที่ผ่านมา กระแสของ Change ได้ถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ ประกอบกับเทคโนโลยีผ่านระบบออนไลน์และโทรศัพท์มือถือ ที่เสริมกับสื่อแมส ทำให้ประเด็นการหาเสียงของโอบามา เป็นกระแสผ่านสื่อมากมาย และเป็นนวัตกรรมในการเลือกตั้ง ที่ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งมาจากการใช้โซเชียล มีเดีย มากระตุ้นคนที่ไม่เคยใช้สิทธิลงคะแนนให้ออกไปเลือกตนเองในการเลือกตั้งครั้งนั้นและนับว่าได้ผลดี ขณะที่การเลือกตั้งทั่วไปของอินเดีย ที่มีผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดประมาณ 700 ล้านคน ในจำนวนนี้มีอยู่ 100 ล้านคนเป็นผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี และผู้มีสิทธิลงคะแนนครั้งแรก จึงไม่แปลกที่ทั้งฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้านให้ความสนใจกับ Social Media ทั้งการใช้บล็อก, แคมเปญทางสื่อออนไลน์, โทรศัพท์มือถือ, ยูทูบ, เฟซบุ๊ค โดยจ้างเอเยนซีจำนวนมาก ที่มีความชำนาญในการสื่อสาร มาระดมทำแคมเปญผ่านสื่อออนไลน์ รวมถึงวิธีการเข้าถึงคนรุ่นใหม่ เช่น การซื้อลิขสิทธิ์เพลงประกอบภาพยนตร์ Slumdog Millionaire มาใช้ในการหาเสียงด้วย ที่ชัดเจนที่สุดคงหนีไม่พ้น การเลือกตั้งในสิงคโปร์ ที่เพิ่งผ่านไปสดๆร้อนๆ กับปรากฏการณ์ของ Nicole Seah สาวน้อยจากบริษัทโฆษณาวัย 24 ปี ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งที่มีผู้เข้าไป กด Like ใน Facebook ของเธอกว่าแสนราย นับตั้งแต่เธอตัดสินใจลงเลือกตั้งก่อนการเลือกตั้ง 1 เดือน เรื่องราวของเธอได้ความสนใจเพียงไม่กี่วัน ด้วยการชูประเด็นเรื่องการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม อันเป็นผลมาจากนโยบายพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ลืมเหลียวแลคนยากจน เมื่อคีย์ชื่อเธอในกูเกิลจะพบกว่า 1.4 ล้านข้อมูล ปรากฏการณ์ของ Nicole Seah แม้จะไม่สามารถผ่านสมรภูมิการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ได้รับความสนใจแซงหน้าผู้นำมากมายหลายคนในช่องทาง Social Media 2 พรรคใหญ่ชิงฐานคนรุ่นใหม่ สำหรับการเลือกตั้งในประเทศไทยท่ามกลางการสื่อสารยุคใหม่ ทำให้มีประชาชนกว่า 10 ล้านคน ได้รวมตัวอยู่ในโลกเสมือนจริงผ่านระบบออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Youtube, Blog หรืออื่นๆ ทำให้ Social Media มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของประชากรอินเทอร์เน็ตในอัตราสูง โดย 7 ใน 10 คน ใช้เป็นแหล่งค้นหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจ คนในชุมชน เลือกที่จะเชื่อเพื่อนหรือคนที่อยู่ในชุมชนมากกว่าเชื่อสิ่งที่ภาครัฐบอก ขณะเดียวกันการเมือง 2 ขั้วใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น “ประชาธิปัตย์” หรือ “เพื่อไทย” ต่างลงสนามในสื่อดิจิทัลกันมาแล้วพักใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นทั้งของพรรคและบุคคลตั้งแต่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, กรณ์ จาติกวณิช ที่มีผู้ติดตามผ่านเครือข่าย Twitter และ Facebook รวมกันในหลักล้าน ขณะที่ขั้วการเมืองอีกด้าน กลุ่มชินวัตร ที่เคยโดดเด่นอย่างมากในด้านการใช้สื่อนวัตกรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่เทคโนโลยีในเครือข่ายสัญญาณ วีดิโอลิงค์ ระบบสัญญาณดาวเทียมและการเคลื่อนไหวในทวิตเตอร์กับการขยับตัวของพรรคบนเครือข่ายออนไลน์ บนเฟซบุ๊คที่กินพื้นที่ครอบคลุมหลายล้านคน ซึ่งน่าจับตาไม่น้อยว่า พรรคเพื่อไทยและผู้บริหารพรรค คงไม่ยอมเสียพื้นที่บนสื่อดังกล่าวอย่างแน่นอน ถึงเวลานี้ภาครัฐเองไม่สามารถ ปฏิเสธ สื่อใหม่ และ Social Media ได้อีกต่อไป กลุ่มคนรุ่นใหม่ และคนทำงานที่ใช้เวลาส่วนหนึ่งอยู่ใน Social Network ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจยังไม่คุ้นเคยกับการสื่อสารแบบใหม่ จากการวางระบบสื่อสารระดับมวลชน กลับต้องลงมาเล่นกับเฉพาะกลุ่ม จึงเป็นโจทย์ใหม่ แถมซับซ้อนและยากกว่าหลายเท่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องไม่น้อย สื่อใหม่พลังขับเคลื่อนความคิด เขามองว่ากลยุทธ์การสื่อสารการเลือกตั้งครั้งนี้ “สื่อดั้งเดิม” ยังคงเป็นที่คุ้นเคยและใช้เป็นสื่อหลัก เนื่องจากเน้นที่ปริมาณการรับรู้แนวกว้างมากกว่าแนวลึก ในขณะที่”สื่อใหม่” อาจเจาะได้แค่บางกลุ่มเท่านั้น ส่วน”สื่อบุคคล” ถือเป็นต้นตำรับที่ได้ผลดีในการสื่อสารเช่นกัน แต่ต้องให้ความสำคัญสำหรับการเป็นพลังกระแสไม่น้อย โดยเฉพาะกระตุ้นแนวคิดใหม่ๆ ที่ชูประเด็นทางสังคม ความพยายามเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและชิงพื้นที่และคะแนนเสียงให้ได้ สำหรับเป้าหมายในการครองใจ ด้วยการช่วงชิงคะแนนเสียงหลักสิบล้านเพื่อชัยชนะทางการเมือง สิ่งที่สะท้อนใน Social Media แสดงถึงการมีส่วนร่วมในการความคิดเห็น สร้างสรรค์เรื่องราวและประเด็นของตนเอง เกิดการต่อยอดทางความคิดในด้านต่างๆ กิจกรรมทางสังคมผ่านชุมชนเสมือนจริง เกิดพฤติกรรมรวมหมู่ กลายเป็นพลังของเครือข่ายที่มีอำนาจในการต่อรองกับสังคมได้อย่างเต็มที่

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

ปรับตัวใหม่! ตลาดหุ้นโลกและผลการประชุมธนาคารกลางส่งสัญญาณอะไรบ้าง?

สัปดาห์นี้เราเห็นการเคลื่อนไหวใหญ่ในตลาดหุ้นทั่วโลก ที่มาพร้อมกับการตัดสินใจสำคัญจากธนาคารกลางหลายแห่ง ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยไปจนถึงการอัปเดตเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ให้สัญญาณว่าอาจจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ตามด้วยธนาคารกลางสวิสฯ ที่เริ่มต้นด้วยการลดดอกเบี้ยลง 0.25% เป็นการตอบสนองต่อเงินเฟ้อที่ลดลง ในอีกด้านของโลก, ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็ทำการปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี ขณะที่ยังคงนโยบายการซื้อพันธบัตร เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในขณะนี้...
- Advertisement -

More Articles Like This