พามารู้จักโครงการ Sensor for All เซ็นเซอร์วัดฝุ่นควันมลพิษในอากาศฝีมือคนไทย จาก วิดวะจุฬา

Must Read

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับเรื่องราวที่น่าสนใจในแวดวงเทคโนโลยีบ้านเรา สำหรับวันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักเซ็นเซอร์วัดฝุ่นฝีมือคนไทย ที่กลุ่มทรูได้มอบทุนสนับสนุนคณะวิศวะฯ จุฬาฯ ในโครงการ Sensor for All ปี  2 พัฒนานวัตกรรมเซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณฝุ่นและระบบประมวลผลจนเป็นผลสำเร็จพร้อมใช้งาน 

ความเป็นมาของโครงการนี้ 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี และ ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี รับมอบทุนพัฒนานวัตกรรม 200,000 บาท รวมมอบทุนทั้งโครงการ 400,000 บาท และ NB-IoT ชิปเซ็ต เพื่อนำไปจัดทำอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 และระบบประมวลผล จาก กลุ่มทรู

 

การต่อยอดสู่การนำไปใช้งานในเชิงพานิชย์ 

 ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น สานต่อโครงการ Sensor for All ปีที่ 2 ติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณฝุ่นทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยจะขยายการจัดเก็บข้อมูลสภาพอากาศในพื้นที่กว้างมากยิ่งขึ้น เพิ่มพื้นที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ในระยะแรกจำนวน 30 จุด ได้แก่ โครงการต่างๆ ของการเคหะแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภาวิศวกร

คุณสมบัติเด่นของเซนเซอร์ตัวนี้ 

=> เซ็นเซอร์ดังกล่าวสามารถตรวจวัดได้ทั้งฝุ่น PM 2.5, PM 10, อุณหภูมิ และความชื้น

=> พร้อมทั้งคำนวณค่า AQI แสดงผลผ่านหน้าจอเซ็นเซอร์ และส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย NB-IoT ของกลุ่มทรู แสดงผลบน Dashboard ได้แบบเรียลไทม์

=> ทั้งยังสามารถนำข้อมูลไปประมวลผลและวิเคราะห์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการและแก้ไขปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็กในระยะยาวได้อย่างถูกจุดตามสภาพปัญหาจริงของแต่ละชุมชน

=> พร้อมกันนี้ยังมีการพัฒนาแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ www.sensorforall.eng.chula.ac.th รายงานสภาพอากาศในแต่ละจุดที่ติดตั้งเซ็นเซอร์ พร้อมคำแนะนำเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่คนไทย

 

 

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This