Saturday, December 7, 2024
32.9 C
Bangkok

พามารู้จัก เซ็นเซอร์ จิ๋วที่ตรวจจับตำแหน่งได้อย่างแม่นยำถึงระดับขยับน้อยกว่าเส้

ใครที่อยู่ในสายวิจัยที่ต้องการทราบความก้าวล้ำของเทคโนโลยีตรวจจับตำแหน่งสมัยใหม่ต้องมารวมกันทางนี้ เพราะครั้งนี้เราจะพาคุณมารู้จักเซนเซอร์จิ๋วตัวใหม่ ตรวจจับได้แม้ขยับน้อยกว่าเส้นผม 100 เท่า ซึ่งแน่นอนว่ามันจะมีประโยชน์ต่อโครงการวิจัยและพัฒนามาก ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เรามาติดตามอ่านกันเลย

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้เป็นดังนี้

  • ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส (University of California, Davis: UC Davis) สร้างต้นแบบเซนเซอร์ตรวจจับวัตถุขนาดเท่าเมล็ดงา แต่ว่ามีความสามารถในการตรวจจับตำแหน่งวัตถุที่เล็กกว่าเส้นผม 100 เท่า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเสนอข้อได้เปรียบสำคัญที่มีต้นทุนการผลิตถูกลงและกินไฟน้อย

  • เซนเซอร์ดังกล่าวนั้นเป็นเซนเซอร์แบบซีมอส (CMOS: Complementary Metal–Oxide–Semiconductor) ซึ่งเป็นวงจรไฟฟ้าแบบหนึ่งที่ผลิตจากซิลิกอนและอะลูมิเนียม นิยมใช้ทำเป็นวงจรในระบบคอมพิวเตอร์ ตลอดจนเซนเซอร์รับภาพในกล้องแบบดิจิทัล ซึ่งทางทีมวิจัยได้ออกแบบแผงวงจรดังกล่าวให้สามารถขึ้นรูปเป็นเซนเซอร์ขนาดเท่าเมล็ดงา ทำหน้าที่ตรวจจับแบบเรดาร์จากการใช้คลื่นที่เรียกว่า “คลื่นมิลลิเมตร” (Millimeter-wave) ในการตรวจหาวัตถุ

  • “คลื่นมิลลิเมตร” (Millimeter-wave) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) ที่มีความถี่คลื่นระหว่าง 30 – 300 กิกะเฮิร์ตซ์ (GHz) ซึ่งเป็นย่านเดียวกันกับที่ใช้ส่งสัญญาณเครือข่าย 5G และสามารถใช้เป็นเรดาร์ (Radar) หรือระบบตรวจจับวัตถุจากคลื่นสะท้อนในระยะสั้นได้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากคลื่นเป็นคลื่นกำลังสูง ทำให้การสะท้อนคลื่นจากวัตถุที่กระทบกลับมานั้นสามารถคำนวณได้ทั้งตำแหน่งและขนาดวัตถุ ดังนั้น ทีมนักวิจัยจึงนำหลักการนี้มาทำเป็นเซนเซอร์ตรวจจับวัตถุได้สำเร็จ

  • อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้วคลื่นมิลลิเมตรนั้นไวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมโดยรอบมาก แม้สัญญาณรบกวน (Background Noise) ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอ่อน ๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ก็มีผลกับคลื่นมิลลิเมตร ซึ่งส่งผลให้การทำเซนเซอร์ด้วยคลื่นมิลลิเมตรก่อนหน้านี้เกิดขึ้นได้ยาก เนื่องจากไม่มีวิธีเลือกอ่านค่าเฉพาะการเคลื่อนไหวที่ต้องการได้ อีกทั้งยังกินพลังงานไฟฟ้าในปริมาณที่ค่อนข้างสูง

  • ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยจึงให้ความสำคัญกับการออกแบบเซนเซอร์ เพื่อให้ตัวเซนเซอร์สามารถเลือกรับเฉพาะการเปลี่ยนแปลงจากวัตถุเป็นหลัก โดยไม่ถูกสัญญาณรบกวนในธรรมชาติมาทำให้การทำงานผิดเพี้ยน และเซนเซอร์ต้นแบบที่สร้างขึ้นมานั้นมีความละเอียดในการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุ (Movement) แม้จะมีระยะที่เปลี่ยนไปน้อยกว่าเส้นผม 100 เท่า รวมถึงตรวจจับการสั่นไหว (Vibration) ที่มีคาบการสั่นเล็กกว่าความกว้างของเส้นผมได้ถึง 1,000 เท่า โดยมีต้นทุนโดยรวมที่ต่ำลงกว่าเดิม แต่ไม่ได้ระบุว่าต่ำกว่าเท่าไหร่ และใช้กำลังไฟเพียง 100 มิลลิวัตต์ (mW) เท่านั้น

  • โครงการดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการเกษตรยุคใหม่ เช่น การลดต้นทุนในการติดตามสถานะของน้ำที่อยู่ในต้นไม้แต่ละต้น สามารถติดตามได้มากขึ้นในเวลาที่น้อยลง โดยการศึกษาและออกแบบในครั้งนี้ได้รับเงินทุนจากมูลนิธิเพื่อการวิจัยอาหารและการเกษตร หรือเอฟเอฟเออาร์ (Foundation for Food & Agriculture Research: FFAR) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงวอชิงตัน ดีซี ของสหรัฐอเมริกา รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการติดตามข้อมูลสุขภาพ หรือแม้แต่เป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการมองเห็นอีกด้วย

  • ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการไออีอีอีด้านวงจรโซลิด-สเตท (IEEE Journal of Solid-State Circuits) ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยนักวิจัยเชื่อว่าต้นแบบที่พิสูจน์หลักการ (Proof of Concept) นี้มีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือเหนือกว่าเซนเซอร์ที่แม่นยำที่สุดในโลกในปัจจุบันอีกด้วย

และนี่ก็คือเซนเซอร์แบบ CMOS: Complementary Metal–Oxide–Semiconductor ที่เราอยากแนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้จักในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นที่ชื่นชอบถูกใจคอเทคโนโลยีกันทุกคน และหากมีความคืบหน้าประการใดเกี่ยวกับการพัฒนาเซนเซอร์ตัวนี้อีก เราจะรีบมาอัพเดทให้ทุกท่านได้ทราบก่อนใครโดยทันที

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

Hot this 48 hr.

ความหมายของไพ่ยิปซี ไพ่ทาโรต์ ไพ่ชุดเมเจอร์และไพ่ชุดไมเนอร์ อาร์คานา

ไพ่ทาโรต์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ไพ่ชุดเมเจอร์ อาร์คานา มี 22...

ข่าวใหญ่ จีนค้นพบอารยธรรมที่เก่าแก่กว่าราชวงศ์เซี่ย ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่มีนักโบราณคดีคนไหนในโลกเชื่อว่าจีนจะมีอารยธรรมที่เก่าแก่กว่านี้อีกแล้ว

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน พบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการอัพเดทข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจรอบโลก สำหรับครั้งนี้เราก็มีข่าวสำคัญจะมาแจ้งให้ทุกท่านได้ทราบว่า ที่ประเทศจีนมีการค้นพบอารยธรรมที่เกิดขึ้นก่อนราชวงศ์เซี่ย ราชวงศ์แรกของจีนที่เกิดขึ้น 2,100...

juniijune wanida  นางแบบสาวสวย ขาวออร่า สูง ตัวใหญ่ ร่างนางแบบ เซ็กซี่ และน่ารักมากๆ 

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน พบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการแนะนำนางแบบสาวสวยในย่านอาเซียนจากประเทศเพื่อนบ้านให้ได้รู้จักและติดตามกันต่อไป สำหรับในครั้งนี้เราขอจัดให้เอาใจหนุ่มๆ ที่ชื่นชอบนักศึกษาสาวใสๆ น่ารักที่แอบซ่อนความเซ็กซี่เอาไว้ไม่เบา เพราะต่อจากนี้ไปเรากำลังจะพาทุกคนมารู้จักและสัมผัสความสวยงามน่ารักของน้อง...

ข่าวดี Infinix HOT 10S เกมมิ่งสมาร์ทโฟน ราคาประหยัด สเปคแน่นสุดคุ้มพร้อมวางจำหน่ายในไทย 6 มิถุนายน ศกนี้

สวัสดีคอไอที และคอเกมทุกคน วันนี้เรามีข่าวดีจะมาแจ้งให้ทราบว่า Infinix เตรียมปล่อย HOT 10S เกมมิ่งสมาร์ทโฟนที่ขนฟีเจอร์เด็ดแบบจัดเต็มเอาใจเกมเมอร์ จุดเด่นคือมาพร้อมชิป...

AI ที่ดีที่สุดในการทำ Images to Video AI: เปรียบเทียบ Kling AI, Vidu AI, RunwayML และ Luma AI

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว การสร้างวิดีโอจากภาพนิ่ง (Images to Video) กลายเป็นเรื่องง่ายและน่าตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น หลาย...

Topics

อินเทลเปิดตัวการ์ดจอรุ่นใหม่ Intel Arc B-Series: จัดเต็มเกมมิ่งล้ำสมัย ราคาคุ้มค่า

อินเทลมุ่งสร้างประสบการณ์เกมมิ่งที่เหนือกว่าอินเทลประกาศเปิดตัว กราฟิกการ์ดใหม่ Intel Arc B-Series ภายใต้ชื่อโค้ดเนม Battlemage นำโดยสองรุ่นเด่น Arc...

ดรีมมีลุยตลาดไทย! เปิดสาขาใหม่ใหญ่ที่สุดที่ซีคอนสแควร์ พร้อมโปรสุดคุ้ม ลดสูงสุด 70%

ดรีมมี เทคโนโลยี (Dreame Technology) แบรนด์เทคโนโลยีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มาแรงที่สุดในตลาด ได้เปิดตัว Dreame Official Store...

vivo X200 Series สานต่อตำนานเรือธง ซูมชัดทุกเวทีด้วยกล้อง Telephoto Super Stage 200MP

สัมผัสประสบการณ์ใหม่กับ vivo X200 Seriesvivo เปิดตัวสมาร์ตโฟนเรือธงรุ่นล่าสุด vivo X200 Series ภายใต้แนวคิด...

Bentley Mulliner x Supriya Lele เปิดตัว ‘Nīla Blue’ เฉดสีพิเศษสะท้อนมรดกอินเดีย

Bentley Mulliner จับมือกับ Supriya Lele ดีไซเนอร์ดาวรุ่งระดับโลก เปิดตัวเฉดสีพิเศษ ‘Nīla Blue’...

Related Articles

Popular Categories

spot_img