มหาวิทยาลัยไอซีทีท็อป 5 ภูมิภาคอาเซียน

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

ไอที มหาวิทยาลัยศรีปทุม “ศรีปทุม” ยกเครื่องงานไอทีหลังบ้าน ปูทางยกระดับสู่มหาวิทยาลัยไอซีทีท็อป 5 ภูมิภาคอาเซียนใน 5 ปี ระบุอีเลิร์นนิ่งงานหลัก เร่งเครื่องพัฒนาความเข้าใจ ตั้งเป้าถึงสิ้นปีดึงนักศึกษาเข้าใช้งาน 1.5 แสนครั้ง ปี 2556 นำร่องมหาบัณฑิตออนไลน์ นายวิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ศรีปทุมมีเป้าหมายพัฒนามหาวิทยาลัยให้ก้าวสู่ผู้นำด้านไอซีทีระดับภูมิภาค ตั้งเป้าภายใน 5 ปีจากนี้จะติดอันดับท็อป 5 ในอาเซียน ทั้งนี้วางยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ 4 ข้อหลักคือ 1. ชักนำและพัฒนาบุคลากรคุณภาพเข้าร่วมงาน 2.จัดตั้งสำนักการจัดการศึกษาออนไลน์ฐานะเทียบเท่าคณะช่วยขับเคลื่อน 3.ใช้เครื่องมือโอเพ่นซอร์สมาตรฐานสากล ซอฟต์แวร์มูเดิล (Moodle) พัฒนาระบบรองรับ และ 4.ยกระดับคอนเทนท์ที่ใช้ให้หลากหลาย น่าสนใจ มีกราฟฟิกสวยงาม ล่าสุด ร่วมกับบริษัทเดลล์ คอร์ปอเรชั่น และบริษัท เอเอสเอ เน็ทเวิร์ค วางระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับไอทีอีเลิร์นนิ่ง โดยการให้บริการได้รับมาตรฐานระดับเวิล์ดคลาส สถิติปี 2554 มีคณาอาจารย์จากทุกสาขา ทุกคณะร่วมใช้สอนมากกว่า 80% นักศึกษาเข้าใช้ราว 1 แสนครั้ง เข้าใช้ซ้ำ 60% ปีนี้ตั้งเป้ามีนักศึกษาเข้าใช้ 1.5 แสนครั้ง การเข้าใช้ซ้ำเกิน 65% “เราใช้งบประมาณการพัฒนาระบบและหลักสูตรอีเลิร์นนิ่งมากกว่า 100 ล้านบาท จากนี้ยังมีแผนลงทุนต่อเนื่องทั้งด้านพัฒนาหลักสูตรอย่างน้อยปีละ 10 ล้านบาท รวมถึงเสริมความแข็งแรงระบบโครงสร้างพื้นฐานปีละอย่างน้อย 30 ล้านบาท ทั้งมีงานสำคัญคือทำให้นักศึกษาที่เป็นคนรุ่นใหม่เห็นความสำคัญและสนใจเข้ามาร่วมใช้มากขั้น” พร้อมมีแผนพัฒนาต่อยอดการใช้งานให้ถึงระดับการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์เต็มหลักสูตร ซึ่งกำลังเจรจากับกระทรวงศึกษาธิการให้เข้าใจถึงมาตรฐานที่จะจัดทำซึ่งไม่ด้อยกว่าการเข้าเรียนในชั้น คาดว่าปีการศึกษาหน้าจะเริ่มโครงการได้ เริ่มเฟสแรกระดับปริญญาโท นอกจากนี้ ยังรับหน้าที่เป็นศูนย์กลางฝึกอบรมบุคลากรและพัฒนาระบบอีเลิร์นนิ่ง รวมถึงเข้าร่วมโครงการมหาวิยาลัยไซเบอร์ประจำภูมิภาคอาเซียน ส่วนนายพสุ เดชะรินทร์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คณะ ร่วมมือกับกูเกิล ประเทศไทย นำกูเกิล แอพพลิเคชั่นสำหรับสถาบันการศึกษา มาใช้พัฒนาระบบการทำงาน และการสื่อสารระหว่างอาจารย์และนิสิต ตั้งธงจะทำให้ดิจิทัลมีบทบาทมากขึ้นตามเทรนด์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เบื้องต้นแอพพลิเคชั่นหลักๆ ที่นำมาใช้ ประกอบด้วย ระบบอีเมล ปฏิทิน การสื่อสาร เว็บเบส และการแชร์ข้อมูล หลังจากใช้งานมา 3 เดือน มีอาจารย์ในคณะร่วมใช้ 30% บุคลากรเกิน 50% และนำร่องนิสิตชั้นปีที่ 1 ทั้งกำลังทยอยสู่ชั้นอื่นๆ ต่อไป “ดิจิทัลมีความจำเป็น แต่ไม่ใช่เพื่อทดแทนทั้งหมด เรื่องการเปลี่ยนแปลงต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เวลานี้เรามอนิเตอร์การใช้งานทุกเดือนว่าคืบหน้าอย่างไร อีก 2 ปีมีแผนเริ่มต้นโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ด้วย” เขาระบุว่า จุฬาฯ มีระบบอินฟราสตรักเจอร์ด้านไอทีรองรับพร้อมอยู่แล้ว ที่ต้องพัฒนาต่อไปให้ดีคือหาเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าเสริม ทั้งเร่งพัฒนาดิจิทัลคอนเทนท์ไว้รองรับ พร้อมกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และใช้งานวงกว้างภายในห้องเรียนและการสื่อสารระหว่างกัน

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This