มาชม ภารกิจ ล่าหิมะ  โปรเจคใหม่ของ NASA ที่จะสำรวจ พายุหิมะ  เพื่อทำการวิจัย

Must Read

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับเรื่องราววาไรตี้ได้ความรู้ที่น่าสนใจจากรอบโลก สำหรับในครั้งนี้เราจะพาเพื่อนๆ มาชม ภารกิจ ล่าหิมะ  โปรเจคใหม่ของ NASA ที่จะสำรวจ พายุหิมะ  เพื่อทำการวิจัย โครงการนี้มีความน่าสนใจอย่างไร ใครอยากรู้ต้องลองมาอ่านกัน 

โครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อไหร่? 

สำหรับโครงการชื่อสุดเท่นี้เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2020 ที่ผ่านมา โครงการ “ล่าหิมะ” (Snow-Chasers) ของ NASA ซึ่งจะส่งเครื่องบินเข้าสู่พายุหิมะเพื่อทำการศึกษาปรากฎการณ์การทับถมของหิมะโดยเฉพาะ

ภาพขณะเกิดพายุหิมะ การสัญจรเป็นไปอย่างยากลำบาก รถหลายคันอาจติดอยู่กลางถนน  

 

สำหรับประเทศในเขตหนาว “หิมะ” ถือเป็นสิ่งที่ทำนายได้ยากกว่าฝนตกมาก เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้หิมะตก และยังไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่าจะตกมาก-น้อย หรือตกนานแค่ไหน

องค์การนาซ่าจึงได้จัดตั้งโครงการล่าหิมะขึ้นเพื่อทำการศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยจะมีทีมนักวิทยาศาสตร์พร้อมด้วยเครื่องมือประจำการอยู่ที่ภาคพื้นดินที่ Stony Brook University ในนิวยอร์ก ขณะที่เครื่องบินขนาดเล็ก 2 ลำในรหัส P-3 และ ER-2 จะขึ้นบินสำรวจเมื่อเกิดพายุหิมะขึ้นในแถบชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ค.ศ. 2020

 

Lynn McMurdie ทีมนักวิจัยได้ให้ความรู้ว่า 

เมื่อเกิดพายุหิมะแต่ละครั้ง สถานที่บางแห่งจะมีหิมะหนาถึง 2 ฟุต (60 เซนติเมตร) แต่สถานที่ใกล้เคียงกลับหนาขึ้นเพียงแค่ 1 นิ้ว นี่จึงเป็นปัญหาใหญ่ในเรื่องการคาดการณ์ ซึ่งการศึกษานี้คือความพยายามเพื่อต้องการนำเสนอแบบจำลองสภาพอากาศที่ดีกว่าเดิม

McMurdie อธิบายเพิ่มเติมว่า พื้นที่ที่มีหิมะจำนวนมากมักจะอยู่ในบริเวณแคบภายในกลุ่มเมฆที่เรียกว่า “วงหิมะ”(snow band) ซึ่งจะมีหิมะตกหนักกว่าบริเวณอื่น และตอนนี้ยังไม่มีการศึกษาใดที่สามารถอธิบายปรากฎการณ์นี้ ได้อย่างขัดเจนว่ามันเกิดอะไรขึ้น ? และเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ? ในช่วงที่เกิดพายุหิมะ

ทีมวิจัยเข้าไปศึกษาพายุหิมะอย่างใกล้ชิดได้อย่างไร ? 

ในการปฏิบัติการแต่ละครั้ง ทีมนักวิจัย จะสามารถเข้าไปใกล้พายุหิมะด้วย เครื่องบินสำรวจ P-3 ซึ่งติดตั้งเครื่องสำรวจเมฆไว้ใต้ปีก ซึ่งจะวัดขนาดและรูปร่างของเกล็ดหิมะ ไอน้ำ อุณหภูมิ และค่าอื่นๆ ของสภาพแวดล้อมที่ก่อตัวขึ้น ซึ่งสามารถเรียกรวมกันได้ว่า Microphysics (ปัจจัยที่ควบคุมปฏิกิริยาของหยดน้ำและผลึกน้ำแข็ง ทั้งการชนกัน การละลาย หรือการแข็งตัวแม้กระทั่งการหยดลงมาเป็นฝนหรือเป็นหิมะ)

 

ขณะทำการบินอยู่เหนือพายุ เครื่องบินสำรวจ P-3 จะปล่อยเซนเซอร์ที่เรียกว่า “dropsondes” เพื่อวัดอุณหภูมิ ความชื้น และความเร็วลมในบรรยากาศ ขณะเดียวกันหน่วยเคลื่อนที่จะส่งบอลลูนตรวจสภาพอากาศ เพื่อวัดสิ่งเดียวกันจากพื้นดินขึ้นไปบนก้อนเมฆ รวมทั้งยังมีทีมที่จะทำการวัดปริมาณและลักษณะของหิมะบนภาคพื้นดินอีกด้วย

ส่วน ER-2 เครื่องบินสำรวจอีกลำหนึ่ง จะตั้งอยู่ในสนามบินของกองทัพสหรัฐฯ ในจอร์เจีย และจะขึ้นบินที่ความสูง 65,000 ฟุต เพื่อตรวจวัดเมฆจากด้านบน โดยจะวัดการกระจายตัวของฝน เกล็ดหิมะ และอนุภาคน้ำแข็งในแนวตั้ง รวมทั้งการเคลื่อนที่และขนาดของก้อนเมฆ

 

ทีมวิจัยกล่าวว่า การรวบรวมข้อมูลโดยตรงจาก P-3 และการเก็บข้อมูลระยะไกลจาก ER-2 จะช่วยให้เราเข้าใจโครงสร้างและการเปลี่ยนแแปลงของวงหิมะทั้งหมด ซึ่งจะช่วยให้การคาดการณ์ปรากฏการณ์พายุหิมะครั้งต่อไปของเราแม่นยำขึ้น

เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่เกี่ยวข้องกับโปรเจ็คต์นี้ 

โดยเฉลี่ย “พายุหิมะ” แต่ละครั้งจะมีความเร็วลมไม่ต่ำกว่า 56 กม./ชม. มีขนาดประมาณ 400 เมตร และมักจะพัดอยู่นานมากกว่า 3 ชั่วโมง ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงได้มากกว่า -6 องศาเซลเซียส และอาจทำให้เกิดหิมะทับถมสูงถึง 60 เซนติเมตร เลยทีเดียว

 

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

ปรับตัวใหม่! ตลาดหุ้นโลกและผลการประชุมธนาคารกลางส่งสัญญาณอะไรบ้าง?

สัปดาห์นี้เราเห็นการเคลื่อนไหวใหญ่ในตลาดหุ้นทั่วโลก ที่มาพร้อมกับการตัดสินใจสำคัญจากธนาคารกลางหลายแห่ง ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยไปจนถึงการอัปเดตเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ให้สัญญาณว่าอาจจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ตามด้วยธนาคารกลางสวิสฯ ที่เริ่มต้นด้วยการลดดอกเบี้ยลง 0.25% เป็นการตอบสนองต่อเงินเฟ้อที่ลดลง ในอีกด้านของโลก, ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็ทำการปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี ขณะที่ยังคงนโยบายการซื้อพันธบัตร เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในขณะนี้...
- Advertisement -

More Articles Like This