รัฐบาลไทยเปิดกลยุทธ์ 4D เดินหน้าประเทศ สนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

Must Read

“สุพัฒนพงษ์” เปิดกลยุทธ์ 4D เดินหน้าประเทศ หนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเต็มสูบ เร่งออกมาตรการหนุนให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ หวังดึงเอกชนทั้งในและตปท.ลงทุนโรงงานแบตเตอรี่-ยานยนต์ไฟฟ้า ดังนี้

  1. Decarbonization การลดก๊าซเรือนกระจกที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังดำเนินแนวทางนี้อยู่ ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น ธุรกิจรถยนต์หรือยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างออกแบบโครงการ หรือมาตรการสนับสนุนทั้งด้านภาษี และด้านต่างๆ เพื่อดึงดูดนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ให้เข้ามาลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ไฟฟ้า และยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในปีนี้ ก่อนเริ่มใช้ในปี 65 ในการเริ่มเชิญผู้ลงทุนเข้ามาลงทุน ซึ่งจะเป็นการรักษาฐานการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของภูมิภาคด้วย
  2. Digitalization แนวทางการพัฒนาดิจิทัล โดยไทยมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีพอสมควร และจะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น AI, 5G, Cloud Service และ Data Center ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญมาก และจากการประมาณการของทีดีอาร์ไอ ประเมินว่า หากทำได้สำเร็จ จะมีผลทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้น 0.7-0.8% ต่อปีด้วย
  3. Derisk การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทรัพยากรและกระบวนการทำงาน โดยธุรกิจไทยแข็งแกร่งในด้านอาหาร และจุดที่ต้องไป เช่น Medical Tech
  4. Decentralization คือการใช้ประโยชน์จากแนวโน้มในการลดความเสี่ยง ในส่วนของเรื่องการซื้อที่อยู่อาศัยในต่างแดน โดยจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้จุดแข็งของไทยในเรื่องการควบคุมโควิด-19 ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ระบบสาธารณสุขที่ดี มีอาหารที่ดี ราคาไม่แพง ที่จะสามารถมาเป็นจุดแข็งที่จะดึงดูให้ผู้มีรายได้สูงมาอยู่ในไทยในระยะยาว เป็นต้น

และนี่ก็คือ กลยุทธ์ 4D ผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นจริงสำหรับประเทศไทยจากรัฐบาลที่เราอยากนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้รู้จักในครั้งนี้ ส่วนในทางปฏิบัติจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด เราก็คงต้องติดตามกันต่อไป

ที่มา

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This