"สงครามยังไม่จบอย่างเพิ่งนับศพทหาร" การเริ่มต้นสงครามระหว่าง Apple และ Samsung

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

สงครามระหว่าง Apple และ Samsung ในปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟน เป็นที่นิยมของผู้คนโดยทั่วไปจากการที่มีความสามารถในการทำงานได้หลากหลาย นอกจากการใช้งานด้านเสียง (Voice) ที่กลายเป็นสิ่งพื้นฐานไปแล้ว ยังสามารถรับส่งข้อมูล (Data) ในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือเพลงจำนวนมากอีกด้วย และเป็นที่ทราบกันดีว่าบริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟน รายใหญ่ที่แข่งขันกันอย่างดุเดือดในขณะนี้ก็คือยักษ์ใหญ่ด้านสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สัญชาติเกาหลีใต้ที่ชื่อว่าซัมซุง (Samsung) กับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์รายใหญ่สัญชาติอเมริกันที่ชื่อว่า แอปเปิล (Apple) นั่นเอง ที่ว่าเป็นการแข่งขันกันอย่างดุเดือด คงจะมิได้เป็นสิ่งที่เกินเลยความจริง เพราะนอกจากจะแข่งขันกันในด้านรูปแบบและยอดขายแล้ว ทั้งแอปเปิลและซัมซุงต่างก็มีข้อพิพาทเป็นคดีความกันในศาลของหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นศาลแห่งกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ศาลมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ศาลแขวงกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ทั้งสองฝ่ายต่างฟ้องว่าอีกฝ่ายหนึ่งละเมิดสิทธิบัตรทั้งด้านการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนเอง และส่งผลกระทบต่อยอดขาย ในสหรัฐอเมริกา ศาลมลรัฐแคลิฟอร์ เนียตัดสินว่าซัมซุงละเมิดสิทธิบัตรในระบบการย้อนกลับไปดูข้อมูลตอนต้น (Bounce-back) ของแอปเปิลในอุปกรณ์ทุกรุ่น และละเมิดสิทธิบัตรระบบสัมผัสจอภาพแบบ Multi-touch และระบบการขยาย (Pinch-to-Zoom ) ในโทรศัพท์ซัมซุงรุ่น Ace, Intercept และ Replenish และยังระบุว่าซัมซุงละเมิดกฎหมายผูกขาดทางการค้า (Antitrust Law) เรื่องมาตรฐานเครือข่าย UMTS การละเมิดสิทธิบัตรของซัมซุงยังส่งผลกระทบต่อยอดขาย ไอโฟน ของแอปเปิล โดยศาลมลรัฐแคลิฟอร์เนียพิพากษาให้ซัมซุงจ่ายค่าเสียหายให้แอปเปิลประมาณ 1,051 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 40% ของค่าเสียหายที่แอปเปิลเรียกร้องในตอนแรก (ประมาณ 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จนภายหลังคำตัดสินของศาลในสหรัฐอเมริกา ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่ซัมซุงยอมจ่ายค่าเสียหายที่ศาลกำหนด โดยจ่ายเงินค่าเสียหาย 1,051 ล้านดอลลาร์เป็นเหรียญ 5 เซนต์ ใส่รถบรรทุกขนาดใหญ่กว่า 30 คัน มาชำระให้ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทแอปเปิลในรัฐแคลิฟอร์เนีย แม้ซัมซุงจะแพ้คดีในสหรัฐอเมริกา แต่ในญี่ปุ่นผลคำตัดสินของศาลกลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ศาลประเทศญี่ปุ่นพิพากษายกฟ้องแอปเปิลที่เป็นโจทก์ฟ้องว่า ซัมซุงละเมิดสิทธิบัตร และขโมยเทคโนโลยีส่งผ่านไฟล์เพลงและวิดีโอระหว่างอุปกรณ์ รวมถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยศาลเห็นว่าผลิตภัณฑ์ของซัมซุงไม่ได้ใช้เทคโนโลยีแบบเดียวกับผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล และนอกจากยกฟ้องแอปเปิลแล้ว ยังตัดสินให้แอปเปิลจ่ายค่าธรรมเนียมศาลให้ซัมซุงอีกด้วย ส่วนในเกาหลีใต้ศาลพิพากษาว่าทั้งแอปเปิลและซัมซุงต่างฝ่ายต่างละเมิดสิทธิบัตรในโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยศาลพิพากษาให้แอปเปิลใช้ค่าเสียหายให้ซัมซุง 40 ล้านวอน หรือประมาณ 1.2 ล้านบาท ขณะที่ซัมซุงต้องใช้ค่าเสียหายให้แอปเปิลเป็นเงิน 25 ล้านวอน หรือประมาณ 750,000 บาท จากกรณีพิพาทระหว่างแอปเปิลและซัมซุง มีข้อสังเกตประการหนึ่งที่มองเห็นได้คือทั้งแอปเปิลและซัมซุงมักจะเป็นฝ่ายชนะคดีในประเทศที่ตนเองมีฐานการผลิต ซึ่งทำให้มองได้ว่าการตัดสินของศาลประเทศใดก็มีแนวโน้มที่จะให้ความคุ้มครองในสิทธิและผลประโยชน์แก่คนชาติเดียวกันกับตนเอง ทำให้เห็นได้ว่าในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลในต่างประเทศ เมื่อถึงคราวที่ต้องตัดสินข้อพิพาทที่มีผลประโยชน์ของชาติตนเองเป็นเดิมพันแล้ว ศาลก็มิได้ใช้เพียงหลักการทางนิติศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปเท่านั้น แต่ในคำพิพากษายังแฝงไปด้วยมุมมองหรือทัศนะในทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมของผู้ที่เป็นผู้พิพากษาอยู่ด้วย อันเป็นสิ่งที่ไม่อาจชี้ชัดไปได้ว่าถูกหรือผิด สิ่งที่อาจเป็นไปได้ในวันข้างหน้าก็คือ หากข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างบรรษัทข้ามชาติรายใหญ่เกิดมีกรณีที่มากขึ้นหรือขยายตัวออกไป อาจมีความจำเป็นที่ต้องมีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ (International Intellectual Property Court) เพื่อที่จะได้เป็นศาลกลางในการวินิจฉัยข้อพิพาททางทรัพย์สินทางปัญญาที่มีคู่กรณีเป็นบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ต่อไปก็เป็นได้ หันมามองในประเทศไทยก็ถือว่ายังคงโชคดีที่ทั้งแอปเปิลและซัมซุงยังไม่มีข้อพิพาทขึ้นในประเทศไทย สาเหตุอาจเป็นเพราะตลาดสมาร์ทโฟนของไทยแม้จะมีการขยายอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง แต่ก็ยังเป็นตลาดที่เล็กเมื่อเทียบกับอเมริกา ยุโรป หรือญี่ปุ่น แต่อย่างน้อยก็ยังทำให้คนไทยยังสามารถเลือกหรือตัดสินใจได้ว่าจะใช้สินค้ายี่ห้อใดโดยไม่ถูกจำกัดให้ใช้ได้บางยี่ห้อเหมือนในบางประเทศที่มีคำสั่งศาลห้ามขายสินค้าของฝ่ายที่แพ้คดีเท่านั้น สงครามครั้งนี้เพิ่งเริ่มต้นเราคงต้องรอดูตอนจบกันต่อไป. [code] Data: http://www.dailynews.co.th/technology/156812 Images: http://thedrilldown.com/wp-content/uploads/2012/08/Apple-vs-Samsung-beatdown2-e1346341423696.png [/code]

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This