หุ้น Facebook ราคาตกต่ำที่สุดทำสถิตินิวโลว์

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

Facebook Stock New Low ภาวะราคาหุ้นเฟซบุ๊กตกต่ำในระดับนิวโลว์นั้นเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมาตามเวลาสหรัฐฯ โดยแตะระดับที่ 17.58 เหรียญสหรัฐในช่วงเช้า ก่อนจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 17.70 เหรียญ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่าราคาเปิดตลาด 18.06 เหรียญถึง 2% มูลค่าหุ้นที่ตกต่ำนั้นได้รับความสนใจจากนักสังเกตการณ์ทั่วโลก เนื่องจากเป็นราคาที่ต่ำกว่า 38 เหรียญซึ่งเฟซบุ๊กเปิดเป็นราคาจำหน่ายหุ้นครั้งแรกมากกว่า 50% แม้จะมีปัจจัยมากมายที่มีส่วนทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจจนทำให้มูลค่าหุ้นเฟซบุ๊กตกต่ำลงต่อเนื่องตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา แต่สำหรับระลอกล่าสุดเชื่อว่าเป็นเพราะการคาดการณ์ของ Daniel Salmon นักวิเคราะห์ของ BMO Capital Markets ที่เชื่อว่าเม็ดเงินการซื้อสื่ออย่างเฟซบุ๊กของบริษัททั่วไปในระยะสั้นนั้นมีโอกาสชะลอตัว ทำให้มีความเสี่ยงที่เฟซบุ๊กจะทำรายได้น้อยลงในปีนี้ ทั้งหมดนี้มีโอกาสทำให้มูลค่าหุ้นเฟซบุ๊กตกต่ำเหลือ 15-25 เหรียญ ซึ่งคำคาดการณ์นี้ทำให้ราคาหุ้นเฟซบุ๊กตกลงในทันที 5.3% ก่อนหน้านี้ บริษัทอย่าง EMarketer Inc. ก็ปรับลดตัวเลขรายได้รวมที่คาดว่าเฟซบุ๊กจะทำได้ในปีนี้ โดยคาดว่ารายได้รวมของเฟซบุ๊กจะอยู่ที่ 5.04 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ ซึ่งลดลงจาก 6.1 พันล้านเหรียญที่เคยมีการคาดการณ์จากประวัติแนวโน้มการเติบโตของเฟซบุ๊ก ภาวะหุ้นตกต่ำต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ส.ค.ทำให้ผู้ถือหุ้นหลักพร้อมใจเทขายทิ้งหุ้นเฟซบุ๊ก สถิติล่าสุดคือหุ้นเฟซบุ๊กมากกว่า 271 ล้านเหรียญนั้นถูกจำหน่ายแล้วโดยผู้ถือหุ้นและพนักงานเฟซบุ๊ก ซึ่งในช่วง 4 เดือนข้างหน้า หุ้นเฟซบุ๊กอีกมากกว่า 1.5 พันล้านเหรียญจะทยอยเปิดให้ซื้อขายเต็มตัว ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะนำไปสู่มหกรรมเทขายหุ้นเฟซบุ๊กครั้งมโหฬาร หนึ่งในรายชื่อผู้ที่ขายหุ้นเฟซบุ๊กรายใหญ่คือ Peter Thiel นักลงทุนนอกบริษัทรายแรกที่ลงทุนสนับสนุนเฟซบุ๊กนั้นขายหุ้นไปราว 20 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าในขณะนั้น 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลคือ Thiel ได้กำไรมหาศาลเพราะลงทุนในเฟซบุ๊กเพียง 5 แสนเหรียญช่วงปี 2004 แต่ก็ขาดทุนไม่น้อยเมื่อเทียบกับ 640 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อคำนวณมูลค่าหุ้นเฟซบุ๊กที่ถืออยู่ช่วงเปิดขาย IPO ในภาวะเช่นนี้ ซีอีโอเฟซบุ๊กออกมาแถลงว่าไม่มีความคิดจะขายหุ้นเฟซบุ๊กอย่างแน่นอน โดยในเอกสารที่เฟซบุ๊กยื่นต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯหรือ SEC นั้นยันยันว่ามาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ไม่มีแผนจะจำหน่ายหุ้นเฟซบุ๊กอย่างน้อย 12 เดือนนับจากนี้ ก่อนหน้านี้ ซัคเกอร์เบิร์กนั้นจำหน่ายหุ้นเฟซบุ๊กมูลค่า 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐหลังประกาศ IPO เพราะเหตุผลด้านภาษี โดยขณะนี้ซัคเกอร์เบิร์กยังคงถือหุ้น Class B ซึ่งมีสิทธิ์ต่อการออกเสียงโหวตมากกว่าหุ้นปกติราว 504 ล้านหุ้น ซึ่งหุ้นดังกล่าวคิดเป็นมูลค่า 8.9 พันล้านเหรียญสหรัฐในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ในเอกสารระบุว่า 2 ผู้บริหารหลักของเฟซบุ๊กอย่าง Marc Andreessen และ Donald Graham นั้นมีแผนจำหน่ายหุ้น แต่ทำไปบนเหตุผลทางภาษีและไม่มีแผนจำหน่ายหุ้นส่วนตัวที่ถือไว้ ที่น่าสนใจคือ เฟซบุ๊กเปลี่ยนกฎเรื่องวันที่พนักงานส่วนใหญ่จะสามารถจำหน่ายหุ้นเฟซบุ๊กได้ โดยระบุในเอกสารว่าเลื่อนจากวันที่ 14 พ.ย.มาเป็นวันที่ 29 ต.ค.แทน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวคือเวลาที่นักลงทุนในตลาดจับตาเป็นพิเศษเพราะหุ้นเฟซบุ๊กมากกว่า 1 พันล้านหุ้นจะสามารถจำหน่ายในตลาดได้อย่างเสรี และอาจเป็นหลักไมล์สำคัญที่ทำให้ราคาหุ้นเฟซบุ๊กตกต่ำลงได้อีกหากไม่มีปัจจัยอื่นมาเสริมความเชื่อมั่นให้นักลงทุน

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

ปรับตัวใหม่! ตลาดหุ้นโลกและผลการประชุมธนาคารกลางส่งสัญญาณอะไรบ้าง?

สัปดาห์นี้เราเห็นการเคลื่อนไหวใหญ่ในตลาดหุ้นทั่วโลก ที่มาพร้อมกับการตัดสินใจสำคัญจากธนาคารกลางหลายแห่ง ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยไปจนถึงการอัปเดตเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ให้สัญญาณว่าอาจจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ตามด้วยธนาคารกลางสวิสฯ ที่เริ่มต้นด้วยการลดดอกเบี้ยลง 0.25% เป็นการตอบสนองต่อเงินเฟ้อที่ลดลง ในอีกด้านของโลก, ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็ทำการปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี ขณะที่ยังคงนโยบายการซื้อพันธบัตร เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในขณะนี้...
- Advertisement -

More Articles Like This