องค์ประกอบสินเชื่อ องค์ประกอบพื้นฐานของสินเชื่อ

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

องค์ประกอบสินเชื่อ ,องค์ประกอบพื้นฐานของสินเชื่อ เงินดาวน์ (Down Payment) คือจำนวนเงินสดที่คุณจะต้อง สมทบในวันแรกของการกู้ยืมซึ่งมักถูกกำหนดให้เป็นเปอร์เซ็นต์ของราคา บ้านที่ต้องการซื้อ เช่น บ้านราคา 1,000,000 บาท ในการขอสินเชื่อบ้านคุณต้องดาวน์ 20% หมายความว่าคุณต้องออกเงินเอง 200,000 บาท โดยผู้ให้กู้จะให้กู้ในส่วนที่เหลือเท่ากับ 800,000 บาท เงินต้น (Principal) คือจำนวนเงินที่คุณกู้ออกมาเพื่อใช้รวมกับเงินดาวน์ในการซื้อบ้านของคุณ ระยะเวลากู้ยืม (Term/Tenure) คือจำนวนปีการผ่อนชำระ โดยทั่วไปจะถูกแบ่งออกเป็นงวดหรือจำนวนเดือน เช่น 60 งวดเท่ากับ 5 ปี พึงจำไว้ว่าระยะเวลาการกู้ที่ยาวขึ้นหมายถึง ดอกเบี้ย และ ความเสี่ยง ที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง คุณควรกู้ให้ สั้นที่สุด หรือไม่ก็จ่ายเงินต้นคืนเกินกว่าที่กำหนดไว้ในค่างวด แต่คุณต้องแน่ใจว่าไม่มีค่าปรับการชำระโดยวิธีดังกล่าว นอกจากนี้ หากคุณมี หนี้สินอื่นๆ ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อบ้าน ไม่ว่าจะเป็นจากบัตรเครดิตหรือจากการผ่อนรถยนต์ คุณควรไปลดยอดหนี้ดังกล่าวก่อน ดอกเบี้ย (Interest) คือค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมที่คุณต้องจ่ายแก่ผู้ให้กู้ โดยปกติอัตราดอกเบี้ยจะคิดเป็นร้อยละต่อปีและถูกแบ่งออกเป็น สองประเภท แบบลอยตัว เช่น MLR (Minimum Lending Rate) โดยอัตราดังกล่าวจะแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคารและจะมีการปรับเปลี่ยนเป็น ระยะๆ แบบตายตัว เช่น 5.5% สำหรับชั่วระยะเวลาที่กำหนดไว้เช่น 1 ปี เป็นต้น โดยปกติ สถาบันการเงินในประเทศไทยจะเสนอสินเชื่อที่ มีดอกเบี้ยแบบลอยตัวเป็นส่วนใหญ่ เช่น MLR + 2% ตลอดอายุวงเงิน จากที่มีการ แข่งขันกันอย่างรุนแรงในปัจจุบัน สถาบันการเงินได้นำอัตราดอกเบี้ยประเภทตายตัวเข้ามาใช้เป็นกลยุทธ์ทางการ ตลาด ดังที่เห็นในบาง โครงการที่เสนออัตราดอกเบี้ยแบบตายตัวสำหรับช่วงปีต้นๆ เช่น 6.5% ตายตัวสำหรับ 3 ปีแรก โดยหลังจากนั้นจะเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบ ลอยตัว โครงการที่มีหลายอัตราดอกเบี้ย นี้จะสามารถช่วยให้คุณลดความเสี่ยงจากการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยได้ใน ช่วงปีแรกๆ ค่าใช้จ่ายรวมในการจัดทำสินเชื่อ (Closing Costs) คือค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในวันแรกที่คุณทำการกู้ยืม โดยทั่วไปจะมี 5 ส่วน หลัก (เรียงจากมากไปน้อย)

ประเภท ค่าใช้จ่าย* หมายเหตุ
1. ค่าจัดการสินเชื่อ (หรือค่าธรรมเนียมการยื่นกู้) ประมาณ 0 – 1% ของวงเงินกู้ จ่ายให้กับผู้ให้กู้
2. ค่าธรรมเนียมในการจำนอง 1% ของราคาประเมิน (ไม่เกิน 200,000 บาท) จ่ายให้กับกรมที่ดิน
3. ค่าประเมินราคาหลักประกัน 1,500 บาท – 0.25% ของราคาประเมิน จ่ายให้กับผู้ให้กู้
4. ค่าทำประกันอัคคีภัย ประมาณ 2,000 บาทสำหรับบ้านมูลค่า 1 ล้านบาท จ่ายให้กับผู้ให้กู้**
5. ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ จ่ายให้กับผู้ให้กู้**

หมายเหตุ: ส่วนค่าโอนนั้น ทางกรมที่ดินได้มีการปรับลดลงเป็น 0.01% ของราคาประเมินโดยกรมฯ นับว่าน้อยมากจึงไม่ได้รวมไว้ในตาราง *เป็นอัตราเฉลี่ยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน **ผู้ให้กู้จะเป็นผู้นำส่งกรมสรรพากรและบริษัทประกันเอง ในการเปรียบเทียบนั้น ค่าใช้จ่ายข้อ 2 ถึง 5 เป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นมาตรฐานและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะทำการกู้ยืมจากแหล่งใด ตัวแปรที่สำคัญ คือ ค่าจัดการสินเชื่อเพราะมีมูลค่าสูงและแตกต่างกันมากระหว่างแหล่ง ค่างวดผ่อนชำระรายเดือน (Monthly Payment) จำนวนเงินที่คุณจะต้องจ่ายคืนแก่ผู้ให้กู้ในแต่ละเดือน โดยปกติจะมีมูลค่าที่เท่ากันตลอดอายุสินเชื่อ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ดอกเบี้ย (Interest Charge) จะคิดบนยอดเงินต้นที่ยังค้างชำระอยู่ ส่วนนี้จะมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆ ตามการผ่อนชำระคืนเงินต้น เงินต้น (Principal Repayment) ส่วนที่ไม่ใช่ภาระดอกเบี้ยจะถูกนำไปลดยอดเงินต้น

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This