อสังหาริมทรัพย์ไทยยังไม่พร้อมสำหรับ AEC

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

AEC ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จัดงานสัมมนาประจำปี 2555 เรื่อง “AEC และตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูมิภาคอาเซียน” มีวิทยากรจากนักวิชาการ นักธุรกิจ และตัวแทนที่ปรึกษาการลงทุนระหว่างประเทศมาร่วมแสดงความเห็นถึงโอกาสและแนวโน้ม ธุรกิจอสังหาฯไทยและโอกาสใหม่ๆ ในภูมิภาคอาเซียน รศ.มานพ พงศทัต อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทย ยังไม่มีความพร้อมทั้งรองรับการแข่งขันของคู่แข่งที่จะเข้ามาในประเทศ รวมถึงการขยายธุรกิจในต่างประเทศ โดยปัจจุบันพบว่ามีนักลงทุนต่างชาติ เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศในหลายรูป ทั้งการเป็นนายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ส่วนใหญ่เป็นบริษัทชั้นนำ เป็นที่ยอมรับ ขณะที่ผู้ประกอบการไทยยังไม่มีฝีมือในระดับนานาชาติ การเข้ามาในลักษณะการเป็นผู้ดูแลอาคาร และบริการหลังการขาย ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่และเป็นที่ยอมรับ ขณะที่ผู้ประกอบการไทย ยังคงดำเนินธุรกิจในลักษณะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) อย่างไรก็ดี แม้ขณะนี้จะมีผู้ประกอบการไทยรายใหญ่ เช่น บมจ.แสนสิริ, บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท ได้จัดตั้งบริษัทดำเนินการแต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป นอกจากนี้นักลงทุนต่างชาติ ที่เข้ามาเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ ทั้งบมจ.ไรมอนแลนด์, บมจ.โกลเด้นท์แลนด์, บมจ.อิสเทิร์นสตาร์ และขณะนี้มีนักลงทุนจากสิงคโปร์ มาเลเซีย เข้ามาเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในระดับกลาง ทำธุรกิจในลักษณะให้เช่าและขายอย่างละครึ่ง เนื่องจากมองเห็นผลตอบแทนการลงทุนในระยะยาว เพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยเป็นการจัดตั้งบริษัทในลักษณะนอมินี “ต่างชาติมีการเข้ามาลงทุนในไทยหลายรูปแบบ มีทั้งที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งพร้อมที่จะสนับสนุนการเงินให้ หรือเข้ามาลงทุนทางอ้อม ผ่านตลาดหุ้นทั้งหมดเขาเข้ามานานแล้ว” รศ.มานพ กล่าว ส่วนการขยายการลงทุนในต่างประเทศ รศ.มานัพ ย้ำว่า ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของไทยยังไม่มีความพร้อม เห็นได้ว่ามีผู้ประกอบการายใหญ่เคยขยายการลงทุนในประเทศแถบอาเซียนมาแล้วและไม่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ดี เนื่องจากตลาดในประเทศเริ่มมีอุปสงค์มากกว่าอุปทานแล้ว เราจึงควรที่จะเริ่มมองหาการขยายการลงทุน แต่ควรเป็นไปในลักษณะที่มีรัฐบาลเป็นผู้นำตลาด ไม่ควรเป็นการที่เอกชนขยายลงทุนเองโดยลำพัง ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงการลงทุน โดยรัฐบาลควรทำสัญญาลักษณะรัฐต่อรัฐ (G to G) เช่นขอเช่าที่ดินในต่างประเทศ และเชิญผู้ประกอบการไทยเข้าลงทุนพัฒนาโครงการเพื่อขายหรือให้เช่า ซึ่งโมเดลนี้ เกาหลีใต้ได้ดำเนินการประสบความสำเร็จด้วยดี รศ.มานพ ยังได้เสนอแนะให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมายที่ดิน เพิ่มระยะเวลาการถือครองกรรมสิทธิ์ของต่างชาติจาก 30 ปี เป็น 60 ปี  เพื่อลดปัญหาการลงทุนในลักษณะนอมินี การลดภาษีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถแข่งขันได้  มีการกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้พร้อมรองรับ ส่วนผู้ประกอบการไทย แนะให้มีบันไดทอง 5 ขั้นก่อนการไปลงทุนในต่างประเทศ คือ 1.การไปท่องเที่ยวต่างประเทศเพื่อเรียนรู้สังคมวัฒนธรรม 2.หาเพื่อนทำธุรกิจในต่างประเทศ  3.การซื้อสินค้าต่างประเทศ  4.การให้ต่างชาติซื้อสินค้าไทย และ5.จึงจะสามารถทำธุรกิจร่วมกันได้ “ทำอะไรอย่างผลีผลาม กระตุ้นให้รัฐบาลนำและควรไปเป็นกลุ่ม เริ่มที่ 4 ประเทศก่อน คือ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม” รศ.มานพ กล่าว [code] Data: http://bit.ly/PRtBYv Images: http://www.prolanguage.co.th/wp-content/uploads/2012/07/banner-aec-web.jpg [/code]

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

ปรับตัวใหม่! ตลาดหุ้นโลกและผลการประชุมธนาคารกลางส่งสัญญาณอะไรบ้าง?

สัปดาห์นี้เราเห็นการเคลื่อนไหวใหญ่ในตลาดหุ้นทั่วโลก ที่มาพร้อมกับการตัดสินใจสำคัญจากธนาคารกลางหลายแห่ง ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยไปจนถึงการอัปเดตเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ให้สัญญาณว่าอาจจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ตามด้วยธนาคารกลางสวิสฯ ที่เริ่มต้นด้วยการลดดอกเบี้ยลง 0.25% เป็นการตอบสนองต่อเงินเฟ้อที่ลดลง ในอีกด้านของโลก, ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็ทำการปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี ขณะที่ยังคงนโยบายการซื้อพันธบัตร เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในขณะนี้...
- Advertisement -

More Articles Like This