อิสราเอลพัฒนา “ตัวอ่อนมนุษย์เทียม” หวังใช้เป็นอวัยวะปลูกถ่ายต่อชีวิตคนป่ว

Must Read

ผู้สนใจในเทคโนโลยีการด้านการแพทย์ทุกคนโปรดทราบ ครั้งนี้เรามีข่าวดีจะแจ้งว่า ตอนนี้อิสราเอลพัฒนา “ตัวอ่อนมนุษย์เทียม” หวังใช้เป็นอวัยวะปลูกถ่าย ยืดอายุขัยมนุษย์ได้คืบหน้าแล้ว รายละเอียดจะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเลย

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้

  • เซลล์ต้นกำเนิด หรือรู้จักกันในชื่อ “สเต็มเซลล์” (Stem Cell) คือ หนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามามีบทบาทด้านการแพทย์มากขึ้น เนื่องจากเซลล์ต้นกำเนิดเหล่านี้สามารถปรับเปลี่ยนไปเป็นเซลล์, เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะใดในร่างกายของมนุษย์ได้ตามที่ต้องการ ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในการรักษาโรคที่จำเป็นต้องใช้อวัยวะทดแทน เช่น โรคไตระยะสุดท้าย, โรคหัวใจล้มเหลว, โรคตับ เป็นต้น
  • ทั้งนี้ การเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดอาจต้องพึ่งพาเทคนิคพิเศษในการเลี้ยงเซลล์ ให้เจริญเติบโตเป็นเนื้อเยื่อหรืออวัยวะตามที่ต้องการ ซึ่งบางครั้งการเจริญเติบโตอย่าง “ไม่เป็นธรรมชาติ” นี้ อาจทำให้เกิดความล้มเหลวในระหว่างการเพาะเลี้ยงได้ เช่น การเจริญเติบโตไปเป็นอวัยวะที่ไม่ต้องการ เป็นต้น
  • ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์จากบริษัทรีนิวออล ไบโอ (Renewal Bio) นำทีมโดย เจคอบ ฮานนา (Jacob Hanna) ได้นำเสนอการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนหรือเอมบริโอ (Embryo) เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและอวัยวะตามธรรมชาติ ช่วยลดข้อผิดพลาดในระหว่างการเพาะเลี้ยงได้
  • ก่อนหน้านี้ฮานนาเคยทำการทดลองเพาะเลี้ยงเซลล์ผิวหนังหนู จนกลายเป็นตัวอ่อนที่มาพร้อมหัวใจที่บีบตัวได้, หลอดเลือดไหลเวียน และร่องประสาทที่กำลังจะเจริญไปเป็นระบบประสาท โดยไม่ต้องพึ่งพาอสุจิจากหนูเพศผู้, ไข่จากหนูเพศเมีย หรือแม้กระทั่งมดลูกเพื่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ทั้งหมดนี้สำเร็จได้ภายในหลอดทดลอง
  • แต่เพื่อตอบโจทย์ในการนำมาใช้รักษาโรคในมนุษย์ ฮานนาและรีนิวออล ไบโอ ต้องการต่อยอดงานวิจัยดังกล่าวเพื่อทดลองเพาะเลี้ยงตัวอ่อนจากเซลล์ของมนุษย์ เช่น เซลล์ผิวหนัง หรือเซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นต้น จึงกลายเป็นที่มาของงานวิจัยล่าสุดที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้
  • “ตัวอ่อนเหล่านี้เปรียบเสมือนอวัยวะสามมิติที่เราพิมพ์ขึ้นมา” ฮานนากล่าว เนื่องจากคุณอาจจะเคยได้เห็นข่าวที่นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างอวัยวะขึ้นด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติชีวภาพ (Bioprinting) แต่ในงานวิจัยของฮานนานี้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเครื่องพิมพ์ เพียงแค่ปล่อยให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะขึ้นตามธรรมชาติ (ภายใต้การดูแลในห้องทดลอง) เท่านี้ก็จะได้อวัยวะใหม่พร้อมใช้งาน
  • นอกจากนี้ การสร้างตัวอ่อนเทียมขึ้นมาจากเซลล์ในร่างกายของมนุษย์ เพื่อสร้างอวัยวะปลูกถ่าย จะช่วยลดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่ออวัยวะปลูกถ่ายได้ เพราะใช้เซลล์ของผู้ที่ต้องการเข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะเอง ดังนั้น ตัวอ่อนที่เติบโตขึ้นจะมีคุณสมบัติของเซลล์เหมือนเจ้าของเดิมทุกประการ
  • แต่ประเด็นสำคัญที่มักกระทบต่องานวิจัยลักษณะดังกล่าว คือ จริยธรรมในการทดลองกับสิ่งมีชีวิต ซึ่งตัวอ่อนเทียมของมนุษย์ที่ฮานนากำลังทำการทดลองนี้ จะมีอายุเทียบเท่ากับตัวอ่อนจริง ๆ อายุราว 40-50 วัน โดยในช่วงนี้เซลล์ต้นกำเนิดถูกเปลี่ยนจากชนิดพลูริโพเทนต์ (Pluripotent stem cell – ซึ่งเป็นเซลล์ที่สามารถกระตุ้นให้กลายเป็นเซลล์ชนิดใดก็ได้) กลายเป็นเซลล์ค้นกำเนิดที่มีความจำเพาะ หมายความว่าเซลล์เหล่านี้พร้อมจะเจริญไปเป็นอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้แล้ว
  • ปัญหาด้านจริยธรรมจะเกิดขึ้นเมื่อโดยเฉพาะกรณีที่ตัวอ่อนเริ่มพัฒนาระบบประสาท จนสามารถรับรู้ความรู้สึกจากภายนอกได้ (แม้หัวใจจะสูบฉีดเลือดได้แล้ว แต่หากยังไม่สามารถรับความรู้สึกได้ อาจจัดได้ว่าตัวอ่อนนี้ยังไม่มีความรู้สึกนึกคิดใด ๆ) หรือกล่าวง่าย ๆ ว่า ตัวอ่อนนี้ยังไม่ควรที่จะพัฒนาสมองให้กลายเป็นรูปร่าง มิเช่นนั้นอาจผิดต่อหลักจริยธรรม ในขณะที่การทดลองกับตัวอ่อนเทียมจากผิวหนังหนู ตัวอ่อนเพิ่งพัฒนาร่องประสาทยังไม่ได้กลายเป็นระบบประสาทเต็มขั้น จึงอาจจะพิจารณาไม่เข้าข่ายเรื่องจริยธรรมต่อสิ่งมีชีวิต

ในยุคที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ฮานนาเชื่อว่าการทดลองของเธอจะช่วยให้มนุษย์มีอายุยืนยาว ผู้สูงอายุจะยังคงร่างกายแข็งแรงและอาจจะยังทำงานได้ไม่ต่างจากวัยทำงาน รวมถึงการทดลองนี้อาจช่วยรักษาโรคบางชนิดที่มีมาตั้งแต่กำเนิดได้ด้วย

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This