อุตสาหกรรมป้องกันประเทศกำลังเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจโลก

Must Read

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน กลับมาพบกันเป็นประจำเช่นเคยกับเรื่องราวที่น่าสนใจในด้านเทคโนโลยี สำหรับในครั้งนี้เราจะพาทุกคนมาติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศบ้าง ซึ่งด้วยสถานการณ์การเมืองโลกปัจจุบันที่ทวีความร้อนแรง ทำให้ทั้งผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้ซื้ออาวุธต่างเห็นพ้องต้องกันว่า แม้เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว แต่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศจะเติบโตขึ้นแบบสวนทาง 

ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาวุธ และป้องกันประเทศ ทั้งไทยและนานาชาติ ระบุ งบกลาโหมที่เพิ่มอย่างต่อเนื่อง คือโอกาสทางธุรกิจที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการ ใหม่ ๆ ต่อกองทัพไทย ในจังหวะที่อุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมเริ่มเสื่อมอายุ และต้องการยกระดับเพิ่มประสิทธิภาพ แม้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในช่วงซบเซา

        บทวิเคราะห์ในรายงานของ GlobalData ระบุว่า ภาพรวมระหว่างปี 2558 – 2562 งบประมาณด้านกลาโหมของไทยเพิ่มขึ้น 5.53% นอกจากนี้อีก 5 ปีข้างหน้าค่าใช้จ่ายด้านนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกด้วย ส่วนเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านร่าง พ.ร.บ. งบประมาณปี 2563 ในวาระแรก ซึ่งมีงบกลาโหม 2.3 แสนล้านบาทรวมอยู่ด้วย เพิ่มขึ้น 2.7% จากปีนี้ ไม่เพียงไทยที่กำลังเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพให้มีความทันสมัย ชาติต่าง ๆ ในภูมิภาคล้วนเดินไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนผู้ผลิตอาวุธทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ต่างเติบโต เสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาดมากมาย ภาพที่สะท้อนได้อย่างดี คือ งานแสดงอาวุธนานาชาติ Defense and Security 2019 ที่จัดขึ้นที่ไทยระหว่างวันที่ 18 -21 พ.ย. ที่ผ่านมาคือมีขนาดใหญ่กว่าครั้งที่ผ่านมาเมื่อสองปีที่แล้วถึง 35% โดยมีผู้ผลิตชั้นนำกว่า 500 บริษัท จาก 60 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม ทิม แวน ลูเวิน รองประธานฝ่ายบริการหลังการขายประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ของ ฮันนีเวลล์ แอโรสเปซ บอกกับบีบีซีไทยในระหว่างการจัดงานนี้ว่า ฝูงบินของกองทัพอากาศและกองทัพเรือมีอายุการใช้งานเฉลี่ยราว 20-30 ปีหรือมากกว่า ถือว่าเป็นระยะเวลายาวนานสำหรับอากาศยานโดยเฉพาะการใช้ในการสู้รบ และยิ่งทำให้การบำรุงรักษามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายก็สูงด้วย

เครื่องบินรบ F-16

“สำหรับฮันนีเวลล์เอง พร้อมเปิดโอกาสใหม่ ๆ เพื่อนำเสนอแนวทางแก้ปัญหา (Solution) เพื่อสนับสนุนตามความต้องการในการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพฝูงบินเหล่านั้นได้” ผู้บริหารของบริษัทผลิตเทคโนโลยีด้านการป้องกันประเทศแห่งนี้กล่าว สำหรับบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ รายนี้มีความสัมพันธ์อันยาวนานในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในไทยมากว่า 2 ทศวรรษ โดยเล็งเห็นโอกาสในการขยายบริการหลังการขายกลุ่มยุทธภัณฑ์ทั้งในไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน บริษัทแห่งนี้ได้ร่วมพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์การบินสำหรับเครื่องบินลำเลียง C-130 Hercules และเฮลิคอปเตอร์ UH-60 Blackhawk การให้บริการระบบนำทาง TALIN (Tactical Advanced Land Inertial Navigator) สำหรับยุทโธปกรณ์ภาคพื้นที่กองทัพบกของไทย นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมสนับสนุนยุทธภัณฑ์ในเครื่องบินขับไล่ F-16 Fighting Falcon และเครื่องบินฝึก T-50 Golden Eagle ของกองทัพอากาศของไทย เล็งหาพันธมิตรท้องถิ่นเพื่อตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงในไทย ผู้บริหารฮันนีเวลล์ แอโรสเปซ บอกอีกว่า หากพิจารณาจากงบประมาณด้านกลาโหมของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา จึงมองว่าเป็นโอกาสในการรองรับการเติบโตระยะยาวทั้งภายในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน “บริษัทกำลังเล็งหาพันธมิตรท้องถิ่นจะจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงในไทย รองรับยุทธภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการของกองทัพอากาศไทย และย่นระยะเวลาบำรุงรักษาและลดต้นทุนการซ่อมบำรุง” เขากล่าว

ทิม แวน ลูเวิน รองประธานฝ่ายบริการหลังการขายประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ของบริษัท ฮันนีเวลล์ แอโรสเปซ

หากพิจารณาในด้านภูมิศาสตร์แล้ว ประเทศไทยถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดีเพราะอยู่ใกล้กับประเทศมาเลเซีย ซึ่งบริษัทมีสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคอาเซียน และมีศูนย์กระจายสินค้าอีกด้วย ซึ่งจะเอื้อต่อการตอบสนองความต้องการของกองทัพไทย ที่มียุทโธปกรณ์ที่ต้องการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง หากพิจารณาในภูมิภาคอาเซียน ผู้บริหารของบริษัทฮันนีเวลล์ ระบุว่า เป็นตลาดสำคัญ เช่นเดียวกันกับ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย และโดยตั้งเป้าเติบโตตัวเลขหลักเดียว (single-digit growth) แต่ในอัตราสูงกว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของงบประมาณของไทย Thales พร้อมขับเคลื่อนระบบดิจิทัลให้กองทัพ เธลีส (Thales) บริษัทจัดหาระบบเทคโนโลยี บริการและผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าในแวดวงการบินและอากาศยาน การขนส่ง คือ ผู้ประกอบการอีกรายหนึ่งที่เข้าร่วมงาน จัดแสดงอาวุธครั้งนี้ในไทย เธลีส เปิดเผยถึงการเพิ่มขีดความสามารถให้กับกองทัพด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการสื่อสารในสนามรบ โดยภายในปลายปีนี้ สถาบันเทคโนโลยีการป้องกันประเทศของไทย (สทป.) จะได้รับมอบยานเกราะลำเลียงพลทหารราบรุ่น BTR 3C S ชุดแรก ที่ได้รับการยกระดับด้วยการติดตั้งระบบ C5I ที่ทันสมัย ที่ประกอบด้วย การทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การสั่งการ การควบคุม การสื่อสาร และข้อมูลการรบ จากบริษัท นี่ถือว่าเป็นโครงการแรกที่ส่งมอบให้กับ สทป. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกข้อตกลงที่ลงนามระหว่าง สทป. เธลีสและ พันธมิตรทางธุรกิจอย่าง บริษัทดาต้าเกท มาตั้งแต่ปีที่แล้ว

เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. ที่ผ่านมา Thales ได้ส่งมอบเรือล่าทำลายทุ่นระเบิดให้แก่กองทัพเรือจำนวน 2 ลำ คือ ร.ล.บางระจัน และ ร.ล.หนองสาหร่าย โดยเรือทั้งสองลำนี้สร้างขึ้นในปี 2523 แต่ได้รับการอัพเกรดด้วยเทคโนโลยีล่าสุด

มาสซิโม มารินซี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยของ Thales ระบุในแถลงการณ์ว่า บริษัทจะยังคงเดินหน้าต่อไปเพื่อช่วยเพิ่มพูนทักษะ และความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ของประเทศไทย ด้วยระบบดิจิทัลผ่านความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ โดยจัดให้มีการฝึกอบรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการไทยครวญรัฐหนุนน้อย แม้ว่างบประมาณด้านป้องกันประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ก็มีเสียงสะท้อนจากผู้ประกอบการไทยที่ต้องการได้รับการสนับสนุนโดยเฉพาะด้านการวิจัยและพัฒนา หนึ่งในจำนวนนั้นคือ บริษัท ชัยเสรีเม็ททอลแอนด์รับเบอร์ จำกัด ผู้ผลิตยานยนต์หุ้มเกราะของไทยมาแล้วกว่า 50 ปี นพรัตน์ กุลหิรัญ ผู้ก่อตั้งบริษัท บอกกับบีบีซีไทยว่า ธุรกิจของเธอสามารถพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตยุทโธปกรณ์เพื่อการส่งออกได้แล้ว และ เธอต้องการให้บริษัทอื่น ๆ สามารถผลิตชิ้นส่วนยุทโธปกรณ์ไปขายต่างประเทศได้มากขึ้นเช่นกัน

ในงาน Defense & Security 2019 บริษัท ชัยเสรีเม็ททอลแอนด์รับเบอร์ จำกัด เปิดตัวรถหุ้มเกราะรุ่นใหม่ First Win

“ในปัจจุบัน แนวโน้มทุกประเทศพยายามทำในประเทศด้วยตัวเอง เพื่อความมั่นคงของประเทศทั้งนั้น แต่ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการไทยยังไม่ได้รับความสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งด้านวิชาการเท่าที่ควร” เธอระบุ นพรัตน์ ซึ่งมีฉายาว่า “มาดามรถถัง” บอกว่า สิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือ ความแตกต่างของจำนวนสั่งซื้อรถหุ้มเกราะ First Win จากบริษัทของเธอ จากกองทัพ 2 ประเทศ โดย กองทัพไทยสั่งเพียง 19 คัน ตลอด 10 ปีผ่านมา ในขณะที่ กองทัพมาเลเซียสั่งซื้อกว่า 200 คัน “จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ทุกประเทศมีการวิจัยและพัฒนาตลอด เพราะเล็งเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศต้องเป็นสิ่งที่ประเทศต้องผลิตได้เอง การใช้ผลิตภัณฑ์ในประเทศเป็นสิ่งที่ทุกประเทศปรารถนา และถือว่าสิ่งเหล่านี้คือความมั่นคง” เธอกล่าว “ฉันปรารถนาที่จะให้กระทรวงกลาโหมหรือหน่วยงานของไทย ซื้อหรือใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศเพิ่มขี้น” แนวโน้มงบประมาณป้องกันประเทศยังเติบโต ข้อมูลจากสถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสต็อกโฮล์ม หรือ SIPRI ที่เผยแพร่เมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ระบุว่า ทั่วโลกค่าใช้จ่ายด้านทหารปีที่แล้วมีมูลค่าราว 1.82 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือราว 55 ล้านล้านบาท) ยังคงเติบโตราว 2.6% จากปี 2560 โดยมูลค่าดังกล่าวนี้คิดเป็นสัดส่วน 2.1% ของจีดีพีทั้งโลก ประเทศที่ใช้จ่ายมากที่สุดได้แก่ สหรัฐฯ จีน ซาอุดีอาระเบีย อินเดีย และฝรั่งเศส โดยรวมกันแล้วคิดเป็นสัดส่วน 60% ของค่าใช้จ่ายทางทหารทั้งหมดของโลก สำหรับประเทศไทยนั้น เมื่อปีที่แล้ว อันดับมีการเปลี่ยนแปลงจากลำดับที่ 31 ของโลก มาเป็นอันดับที่ 29 โดยมีค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมกว่า 2 แสนล้านบาท ขณะที่เมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมาสภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านร่าง พ.ร.บ. งบประมาณปี 2563 ในวาระแรก ซึ่งมีงบกลาโหม 2.3 แสนล้านบาทรวมอยู่ด้วย เพิ่มขึ้น 2.7% จากปีนี้ เปรียบเทียบงบ 3 ปีของกระทรวงกลาโหม

ที่มา : บีบีซีไทยสรุปจากเอกสาร “งบประมาณโดยสังเขปประจำปีงบประมาณ 2562” และเอกสารภาคผนวก การจัดสรรงบประมาณปี 2563 จัดทำโดยสำนักงบประมาณ ตัวเลขอาจเปลี่ยนแปลงได้

จากบทคัดย่อของรายงานเรื่อง “อนาคตของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย – จุดดึงดูดทางการตลาด ภูมิทัศน์การแข่งขัน และการคาดการณ์ถึงปี 2014 (Future of the Thai Defense Industry – Market Attractiveness, Competitive Landscape and Forecasts to 2024) เผยแพร่โดย GlobalData ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลวิเคราะห์เชิงลึกในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ระบุว่า ระหว่างปี 2558 – 2562 งบประมาณด้านกลาโหมของไทยเพิ่มขึ้น 5.53% และไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่ยังคงมีอัตราการเพิ่มของการใช้จ่ายงบประมาณทางทหารอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าในปี 2567 งบประมาณด้านกลาโหมจะเพิ่มเป็น 8.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯ หรือราว 2.6 แสนล้านบาท จากการที่งบประมาณที่ถูกจัดสรรให้กับภารกิจด้านการป้องกันประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น หลายฝ่ายทั้งนักวิชาการและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน ต่างตั้งข้อสังเกตว่า มีความจำเป็นหรือไม่ ในขณะที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้และปีหน้าคาดว่ายังคงอยู่ในภาวะชะลอตัว อันเป็นผลจากผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมทั้งภาคการส่งออกที่ยังไม่ขยายตัว และ คาดว่าจะอยู่ในภาวะชะลอตัวลง เมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี ไตรมาสที่ 3/2562 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเพียง 0.1% จากไตรมาส 2 เท่านั้น ส่วนภาพรวมจีดีพีปีนี้คาดว่าจะโตเพียง 2.6% ซึ่งเป้าดังกล่าวถูกปรับลงเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี หลังจากเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สศช. ได้ปรับประมาณการณ์ไปแล้วที่ 2.7-3.2% การคาดการณ์เดิมที่ 3.3-3.8% ขณะที่คาดการณ์การเติบโตของจีดีพีปีหน้า คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.7-3.7%

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This