เปิดตัวรถยนต์ Fisker Ocean SUV 2022 ยานยนต์ไฟฟ้าที่มีแผงโซล่าเซลล์ติดบนหลังคา

Must Read

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน กลับมาพบกันเป็นประจำเช่นเคยกับความเคลื่อนไหวในโลกยานยนต์ สำหรับครั้งนี้ก็เป็นข่าวของ Fisker Automotive ที่ตัดสินใจเรียกความเชื่อมั่นกลับมาด้วยการเผยโฉม Fisker Ocean 2022 ย่างเป็นทางการในงาน Consumer Electronics Show 2020 ที่ลาส เวกัส โดยค่ายรถดังกำลังวางแผนที่จะกลับมาช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดด้วย Fisker Ocean SUV 2022 ที่ทางค่ายเคาะราคาขายที่ 37,499 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1.13 ล้านบาท)  

 

สำหรับ Fisker Ocean 2022 จะใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งสรุปข้อมูลที่น่าสนใจได้ดังนี้ 

=> โดยจะมีทั้งระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ และระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ

=> ติดตั้งด้วยแบตเตอรี่ 80 กิโลวัตต์ชั่วโมง

=> มีอัตราการเร่งจาก 0 ถึง 60 ไมล์ต่อชั่วโมงในเวลาเพียงแค่ 2.9 วินาที

=> สามารถขับขี่ได้ระยะทางมากถึง 300 ไมล์ (ประมาณ 482 กิโลเมตร) ต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้ง

=> ภายในห้องดูเรียบง่ายมันถูกออกแบบมาให้ควบคุมได้ง่าย

=> พร้อมด้วยหน้าจอแสดงผลแบบสัมผัสขนาดใหญ่ head-up แผงควบคุมประกอบด้วยแผงมาตรวัดแบบดิจิตอล

=> วัสดุเบาะที่นั่งใช้หนัง faux สีขาวคลุมทุกส่วน การเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนใช้งานง่ายผ่าน Apple CarPlay และ Android Auto

=> ที่เด็ดก็คือ California Mode ที่สามารถเปิดหน้าต่างลงทุกด้านรวมถึงประตูท้ายและซันรูฟที่มีทั้งหมด 9 บาน เพื่อรับอากาศจากภายนอกคล้ายกับรถเปิดประทุน แถมยังมีจุดที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือมีการติดแผงโซลาร์เซลล์ไว้บนหลังคารถอีกด้วย

หากใครสนใจ รถยนต์ Fisker Ocean 2022 จะเริ่มเปิดให้จองในช่วงปลายปี 2021 ก่อนที่มีกำหนดจะออกวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในช่วงปี 2022 เป็นต้นไป  

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This