เสี่ยง! การนำขวดน้ำใช้แล้วมาใส่น้ำซ้ำๆ อาจเกิดการปนเปื้อนสะสมของเชื้อโรค

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

ช่วงนี้อากาศร้อนชาวไอทีเมามันส์หลายท่านบริโภคน้ำขวด ซึ่งมีหลายท่านใช่วิธีนำขวดเดิมไปเติมน้ำจากจุดบริการน้ำฟรี หรือน้ำลิตรบาทตามที่มีจุดขายน้ำต่างๆ ซึ่งเจ้าขวดพลาสติกที่มีการใช้งานซ้ำๆนั้นจะเสี่ยงต่อการสะสมของเชื่อโรคได้นะครับ วันนี้ผมเลยหยิบยกข้อมูลดีๆมาฝากกัน

จากข้อมูลของสำนักสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง กระทรวงสาธารณสุข ขวดพลาสติกที่ใช้ใส่น้ำเก็บไว้เพื่อดื่มหรือใช้ในครัวเรือน โดยเฉพาะการนำมาใช้ซ้ำมีแนวโน้มให้เกิดการปนเปื้อนสะสมของเชื้อโรค อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ในบางพื้นที่ของประเทศไทย กำลังประสบปัญหา ภัยแล้ง ทำให้ขาดแคลนน้ำในการบริโภคและอุปโภค และต้องใช้น้ำอย่างประหยัด ทำให้ประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง มีการนำขวดพลาสติกเปล่าที่ผ่านการใช้งานแล้วมาใส่น้ำเก็บไว้เพื่อดื่มหรือใช้ในครัวเรือนนั้น บางครั้งขวดพลาสติกเหล่านั้นไม่ได้ผ่านการทำความสะอาดที่ถูกวิธี โดยเฉพาะบริเวณปากขวดและฝาขวดที่เกิดจากการใช้ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้ขวดน้ำกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่มักพบมากในน้ำบรรจุขวดพลาสติกที่มีการเติมน้ำซ้ำๆ กันหลายครั้ง

ซึ่งผลจากการเก็บน้ำดื่มบรรจุขวดโดยกรมอนามัย ตั้งแต่ปี 2554 – 2557 พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 76.47, 72.64, 78.1 และ 73.91 ตามลำดับ พบมีการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ประชาชนจึงควรให้ความสำคัญระมัดระวังในเรื่องความสะอาด เพราะการขัดถูเพื่อล้างทำความสะอาดขวดน้ำ อาจทำให้เกิดรอยขูดขีดหรือการบุบชำรุดของขวด ที่เกิดจากการนำมาใช้ซ้ำมีแนวโน้มให้เกิดการปนเปื้อนสะสมของเชื้อโรค นอกจากนี้หากขวดน้ำตั้งอยู่ในบริเวณที่มี ความร้อนหรือได้รับแสงแดดอาจมีความเสี่ยงจากสารเคมีจากจากขวดพลาสติกปนเปื้อนลงในน้ำที่อยู่ในขวดได้

กรณีที่จำเป็นต้องนำขวดพลาสติกเก่ามาใช้ก็ควรทำความสะอาดให้ทั่วถึง และต้องสังเกตลักษณะของขวด หากมีรอยชำรุด รั่ว แตกร้าว บุบ ก็ไม่ควรนำมาใช้ หรือหากเป็นขวดที่มีการปนเปื้อนดิน ก็ควรหลีกเลี่ยงในการนำมาใช้ซ้ำเช่นกัน และสำหรับพื้นที่ทุรกันดารที่ขาดแคลนน้ำสะอาด ก่อนนำมาดื่มควรต้มให้เดือดอย่างน้อย 5นาที เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิดมิดชิด ส่วนการนำน้ำจากแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำผิวดินแหล่งอื่นๆ มาใช้โดยตรง ควรปรับปรุงคุณภาพน้ำและฆ่าเชื้อโรคก่อน ด้วยการแกว่งสารส้มชนิดก้อนในน้ำและให้สังเกตตะกอนในน้ำ หากเริ่มจับตัวให้นำสารส้มออกตั้งทิ้งไว้จนตกตะกอน แล้วนำเฉพาะน้ำใสมาฆ่าเชื้อโรคโดยใช้หยดทิพย์ อ.32ของกรมอนามัย ซึ่งเป็นสารละลายคลอรีนชนิดเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ ในอัตราส่วน 1หยดต่อน้ำ 1ลิตร หรือเติมผงปูนคลอรีนตามปริมาณที่กำหนด จากนั้นปล่อยให้มีระยะเวลาฆ่าเชื้อโรคอย่างน้อย 30นาที ก่อนนำไปใช้ ซึ่งจะช่วยป้องกันเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำ

“ทั้งนี้ ก่อนตักน้ำใส่ภาชนะบรรจุ ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์จากมือที่ไม่สะอาด รวมทั้งทำความสะอาดแก้วน้ำ ภาชนะเก็บน้ำดื่มต่างๆ หลังการใช้งานเพื่อเป็นการป้องกันการเจ็บป่วยจากโรคอุจจาระร่วงที่อาจตามมาได้”

ฝากไว้สำหรับชาวไอทีเมามันส์ที่ทานน้ำในหน้าร้อนนี้ครับ โดยหวังว่าข้อมูลที่หยิบมาฝากจะช่วยได้นะครับ เอาล่ะคราวนี้ก็ดื่มน้ำอย่างปลอดภัยสู้อากาศร้อนๆกันได้แล้ว ร้อนๆก็ดื่มน้ำบ่อยๆนะครับเพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันโรคที่มากับอากาศร้อนกัน..

Reference

  • เลี่ยงใช้ขวดพลาสติกซ้ำ ตุนน้ำดื่ม at thaihealth

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This