กฤษดามหานคร สร้างภาพจาก เคเอ็มซี อดีตบริษัทยักษ์ใหญ่ของวงการอสังหาริมทรัพย์

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

กฤษดามหานคร

“ก่อนปี 2540 เราเคยมีภาพลักษณ์ดีมาก แต่ตอนนี้ภาพลักษณ์ของเราติดลบ ทั้งในมุมของผู้บริโภคและสถาบันการเงิน… เราต้องเร่งแก้ไขภาพเหล่านั้น” นี่คือคำปณิธานของ “วิรัตน์ เอี้ยวอักษร” กรรมการผู้จัดการคนใหม่ของ บมจ.กฤษดามหานคร หรือเคเอ็มซี อดีตบริษัทยักษ์ใหญ่ของวงการอสังหาริมทรัพย์ ที่ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน ธเนศวร์ สิงคาลวณิช หลังจากที่สถานะทางการเงินพลิกผัน จาก 10 ยักษ์ใหญ่แห่งวงการ กลับกลายเป็นบริษัทที่มีหนี้สินมากมาย จากการกู้ซื้อที่ดินเก็บไว้จำนวนมากเมื่อก่อนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ล่าสุด วิรัตน์ ผู้นำใหม่ของเคเอ็มซี บอกว่า ภายหลังจากที่บริษัทพยายามปรับโครงสร้างหนี้มาตลอดช่วงกว่า 10 ปี และตัดที่ดินเกือบทั้งหมดแบ่งขายให้แก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้ เมื่อต้นปีที่ผ่านมาธนาคารเกียรตินาคินได้เข้ามาช่วยซื้อหนี้ก้อนสุดท้ายของบริษัทจากธนาคารธนชาต แล้วแปลงหนี้ก้อนดังกล่าวไปเป็นหนี้สำหรับพัฒนาโครงการ ทำให้ปัจจุบันบริษัทเหลือแต่หนี้เพื่อสร้างรายได้ในการพัฒนาโครงการใหม่ๆ เท่านั้น เมื่อสถานะทางการเงินคล่องตัวขึ้นแล้ว ขั้นต่อไปในการฟื้นฟูบริษัท ด้วยการเริ่มต้นสร้างภาพลักษณ์ใหม่ที่ดีให้แก่ทั้งผู้บริโภคและสถาบันการเงิน โดยในส่วนของผู้บริโภคนั้น เราจะรีแบรนด์เคเอ็มซีใหม่ จากเดิมที่โครงการส่วนใหญ่จะต้องมีคำว่ากฤษดาอยู่ในชื่อโครงการ แต่ต่อจากนี้ ทุกโครงการจะต้องใช้ชื่อแบรนด์ใหม่นำ แล้วตามด้วยคำว่า “บาย เคเอ็มซี” “เพราะหากพูดชื่อแบรนด์กฤษดาให้คนรุ่นใหม่ฟัง คนจะนึกถึงบ้านแนวราบทรงสี่เหลี่ยมสไตล์เก่าๆ เชยๆ สิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการไม่ดี ราคาแพง แต่ต่อจากนี้จะไม่เป็นอย่างนั้น เราจะพัฒนาโครงการให้ทันสมัยมากขึ้น และเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายจากที่เคยเน้นผู้บริโภคระดับบน ลงมาเจาะตลาดบ้านราคา 3-10 ล้านบาทแทน” วิรัตน์ ย้ำด้วยว่า สัดส่วนรูปแบบการพัฒนาโครงการก็ต้องเปลี่ยนไป จากเดิมที่ผู้บริโภคจดจำเคเอ็มซีในฐานะผู้พัฒนาโครงการแนวราบ แต่ต่อจากนี้เคเอ็มซีจะหันมาพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมโลว์ไรซ์แนวรถไฟฟ้า 60% และบ้านแนวราบ 40% เพื่อตอบโจทย์ 3 เรื่อง คือ 1.เรื่องที่ดิน เนื่องจากเคเอ็มซีมีที่ดินเก่าเหลือไม่มาก  2.เรื่องเงินทุน และ 3.เรื่องความต้องการของผู้บริโภค สำหรับปีนี้ วิรัตน์ บอกว่า ขอมีรายได้เพียง 500 ล้านบาทก็พอใจแล้ว แต่เป้าหมายต่อจากนี้คือการพลิกยอดขาดทุนสะสมที่มีอยู่กว่า 1,000 ล้านบาทให้หมดในปีหน้า ด้วยการทำรายได้ในปีหน้าให้ได้ 1,000 ล้านบาท ปี 2557 ประมาณ 2,000 ล้านบาท และหากเป็นไปได้ในปี 2558 เราต้องการให้เคเอ็มซีกลับมายืนหยัดด้วยรายได้ 5,000 ล้านบาท เพื่อให้ก้าวถึงจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ในปีหน้า เราจะทยอยนำที่ดินที่ยังเหลืออยู่ออกมาพัฒนา เริ่มต้นจากพัฒนาที่ดิน 10 ไร่ บริเวณใกล้โรงกษาปณ์ติดถนนพหลโยธิน มาพัฒนาเป็นโฮมออฟฟิศ 3 ชั้น ประมาณ 40 ยูนิต ยูนิตละ 70 ตร.ว. มูลค่า 240 ล้านบาท ต่อจากนั้น จะพัฒนาบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดอีก 50 ยูนิต บนที่ดิน 20 ไร่ มูลค่า 250 ล้านบาท พร้อมทั้งเดินหน้าเปิดขายเฟสใหม่ของโครงการคอนโดมิเนียม เดอะคริส ซอยรัชดาภิเษก 17 ราคาเริ่มต้น 1.5 ล้านบาท อย่างต่อเนื่อง ขณะที่มรสุมการเมืองเกี่ยวกับคดีความที่เกี่ยวพันกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เขายืนยันว่า ทั้ง 3 บริษัทที่ถูกอ้างว่าเป็นบริษัทในเครือของเคเอ็มซีนั้น แท้จริงเป็นบริษัทของตระกูล “กฤษดาธานนท์” อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัท อีกทั้งปัจจุบันตระกูล “กฤษดาธานนท์” ถือหุ้นในบริษัทรวมกันเพียงไม่ถึง 2% เท่านั้น “เราจะเอาแต่ปิดตัวเงียบหลังเจอปัญหาไม่ได้ เมื่อเรากลับมามีรายได้หลักพันล้านบาท เราจะเริ่มกลับมาทุ่มงบการตลาดอย่างเต็มที่อีกครั้ง”

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This