พามารู้จัก Auvis หูฟังแพทย์รุ่นใหม่ ทำงานด้วยระบบดิจิตอล ช่วยลดขั้นตอนการตรวจของแพทย์ได้มาก

Must Read

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน พบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการอัพเดทข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในแวดวงเทคโนโลยีนวัตกรรม สำหรับในครั้งนี้เราจะพาทุกท่านมารู้จัก Auvis หูฟังแพทย์แบบดิจิทัลที่สามารถฟังเสียงข้อต่อกระดูกได้ ซึ่งหูฟังตัวนี้จะมีความน่าสนใจอย่างไร ใครอยากรู้รายละเอียด ตามมาดูกันเล้ยย

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Auvis หูฟังแพทย์แบบดิจิตอลได้ดังนี้

  • หากใครที่เคยไปหาหมอต้องเคยเห็น ‘สเต็ดโทสโคป’ หรือหูฟังแพทย์ที่คุณหมอใช้ฟังเสียงภายในร่างกายทั้ง เสียงปอด และชีพจรการเต้นของหัวใจ รวมถึงเสียงจากลำไส้ และการไหลเวียนของเลือด ซึ่งหูฟังแพทย์ที่ใช้กันทั่วไปนั้นมีสายยาวระโยงระยาง
  • Lara Laddey จากมหาวิทยาลัย Muthesius Kunsthochschule Kiel จึงได้พัฒนาหูฟังแพทย์ที่ชื่อว่า ‘Auvis’ เป็นเป็นโซลูชันการตรวจสอบสุขภาพที่จะช่วยให้ผู้แพทย์สามารถติดตามปัญหาได้ดีขึ้น
  • Auvis คือหูฟังแพทย์แบบดิจิทัลสามารถตรวจฟังเสียงได้เหมือนหูฟังแพทย์ทั่วไป นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนโหมดเพื่อฟังเสียงข้อต่อ ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถตรวจหาข้อเข่าเสื่อมในระยะเริ่มต้นเพื่อป้องกันการลุกลามของโรคได้
  • หูฟังแพทย์แบบดิจิทัลนี้ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบข้อต่อได้ง่ายขึ้นโดยที่คนไข้ไม่ต้องเอกซเรย์ ซึ่งช่วยลดขั้นตอนในการตรวจหาโรคได้

และนี่ก็คือหูฟังแพทย์ Auvis ทำงานแบบดิจิตอลที่เราอยากแนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้จักในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นที่ชื่นชอบและถูกใจคอเทคโนโลยีกันทุกคนนะครับ

ที่มา

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This