ฟินแลนด์เปิดตัวแบตเตอรี่ทราย เก็บพลังงานความร้อนได้นานหลายเดือนแล้ว

Must Read

คอเทคโนโลยีต้องมารวมกันทางนี้ เพราะครั้งนี้เรามีข่าวที่น่าตื่นเต้นจะแจ้งให้ทราบว่า ล่าสุดฟินแลนด์เปิดตัวแบตเตอรี่ทราย เก็บพลังงานความร้อนได้นานหลายเดือนแล้ว รายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเลย

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้

  • แบตเตอรี่แต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปในด้านประสิทธิภาพ, ขนาด, ที่ตั้ง, ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง, ค่าดำเนินการ, กระแสพลังงานเข้าออก, ระยะเวลาการใช้งาน, ระยะเวลาการกักเก็บพลังงาน แต่ปัจจุบัน มนุษย์ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ เพื่อเก็บพลังงานในรูปแบบที่เหมาะสมกับความต้องการ เช่นแบตเตอรี่ทรายในฟินแลนด์ที่ช่วยเสริมจุดอ่อนช่วงที่พลังงานเป็นที่ต้องการสูงในฤดูหนาวอันยาวนานของประเทศเขตหนาวเย็นแห่งนี้
  • บริษัท บริษัท โพลาร์ ไนท์ เอเนอร์จี (Polar Night Energy) จากฟินแลนด์ เปิดตัวแบตเตอรี่ทราย ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก ตั้งอยู่ในเขต วาทาเจนโคสกี (Vatajankoski) ในฟินแลนด์ตะวันตกที่อยู่ห่างจากกรุงเฮลซิงกิราว 3 ชั่วโมง
  • โดยบริษัทโพลาร์ฯ กล่าวว่า พวกเขาเป็นบริษัทแรกที่สามารถสร้างแบตเตอรี่จากทรายที่ใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้จริง โดยระบบดังกล่าวเหมือนกับระบบพลังงานหมุนเวียนดั้งเดิม ต่างกันไปที่วัสดุกักเก็บพลังงานคือทราย โดยศูนย์พลังงานแห่งนี้ใช้พลังงานลมและแสงอาทิตย์เป็นตัวตั้ง และนำมาเก็บเป็นพลังงานความร้อน เพื่อส่งต่อไปเป็นพลังงานใช้ในเขตเมืองดังกล่าว
  • ระบบจัดเก็บพลังงานความร้อนชนิดนี้ สร้างขึ้นโดยใช้ถังเหล็กฉนวนขนาดใหญ่ กว้าง 4 เมตร และสูง 7 เมตร ภายในบรรจุด้วยทรายธรรมดา เมื่อส่งความร้อนไปยังทราย โดยใช้เครื่องทำความร้อนแบบง่าย ๆ ที่ฝังอยู่ตรงกลาง ระบบจะสามารถปล่อยพลังงานความร้อนสูงสุด 100 กิโลวัตต์ และมีความจุพลังงานทั้งหมด 8 เมกะวัตต์ต่อชั่วโมง เท่ากับมีระยะเวลาการจัดเก็บสูงสุด 80 ชั่วโมง
  • เมื่อถึงเวลาที่จะใช้พลังงานที่เก็บไว้ ศูนย์พลังงานจะเริ่มกระบวนการทำความร้อนจากตัวต้านทานที่ใช้ในการอุ่นทราย ซึ่งจะสร้างอากาศร้อน ไหลเวียนภายในโครงสร้าง แบตเตอรี่จะปล่อยอากาศร้อนไปยังน้ำอุ่นในระบบทำความร้อนของเขต ซึ่งจะถูกสูบเข้าไปในบ้าน ห้างร้าน อาคารสำนักงานต่าง ๆ
  • ระบบนี้ยังมีข้อดีคือใช้ตัวจัดเก็บพลังงานเป็นทราย ซึ่งมีราคาถูก โดยบริษัทแจ้งว่า ทรายในระบบไม่ใช่ทรายพิเศษ เป็นทรายปกติ เพียงแค่ต้องแห้งและปราศจากชิ้นส่วนที่ติดไฟได้ บริษัทโพลาร์ยังอ้างว่าทรายเป็นแบตเตอรี่พลังงานที่มีราคาต่ำที่สุด การใช้งานระบบดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 10 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และยังทำงานได้เองอัตโนมัติ โดยไม่ต้องใช้วัสดุสิ้นเปลืองในราคาที่ต่ำที่สุดอีกด้วย
  • บริษัทโพลาร์ยังชี้ว่า จากประสิทธิภาพในการกักเก็บความร้อนถึง 500-600 องศาเซลเซียส ระบบนี้ยังเก็บความร้อนในทรายไว้ได้เป็นเดือน ๆ เพื่อใช้ในช่วงฤดูหนาวอันยาวนานของฟินแลนด์ ซึ่งความสามารถในการเก็บความร้อนยังสูงถึง 99% โดยมีการสูญเสียความร้อนน้อยที่สุด และระบบนี้มีอายุการใช้งานหลายสิบปี ขณะที่ล่าสุดทางการฟินแลนด์ต้องการขยายระบบนี้ให้ใหญ่ขึ้นหนึ่งพันเท่า หรือ 8 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมง

อย่างไรก็ดี ขณะนี้แบตเตอรี่ทรายของบริษัทโพลาร์ ให้บริการเฉพาะเขตเมืองเดียว และยังไม่ชัดเจนว่าพวกเขาสามารถปรับเพิ่มกำลังขนาดแบตเตอรี่ได้หรือไม่ อีกทั้งประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ทรายยังลดลงอย่างมาก เมื่อต้องส่งกระแสไฟฟ้ากลับไปยังศูนย์พลังงาน (Grid) แต่นี่ยังเป็นช่วงแรกๆ สำหรับการใช้งานเทคโนโลยีนี้ ซึ่งเป็นที่น่าจับตากันต่อไปว่า เทคโนโลยีนี้จะถูกพัฒนาได้ไปถึงระดับไหน

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This