มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่นจับมือบริษัท ช.ทวี เปิดตัวรถรางไฟฟ้าแอลอาร์ที และบัสไฟฟ้า

Must Read

คอเทคโนโลยีนวัตกรรมทุกคนต้องมารวมกันทางนี้ เพราะครั้งนี้เรามีข่าวใหญ่จะแจ้งให้ทราบว่า ล่าสุด มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่นจับมือบริษัท ช.ทวี เปิดตัวรถรางไฟฟ้าแอลอาร์ที และบัสไฟฟ้า ที่เน้นการสร้างจากวัสดุและฝีมือคนไทย พร้อมผลักดันขอนแก่นให้เป็นต้นแบบเมืองนวัตกรรมระบบรางแล้ว รายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นเช่นไร เรามาติดตามกันเลย

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้

  • ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาที่อาคารปฏิบัติการซ่อมบำรุงรถไฟ หรือ เดปโป ตั้งอยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ได้โชว์นวัตกรรมระบบขนส่งที่เป็นผลงานการวิจัยของมหาวิทยาลัย มีทั้งรถรางไฟฟ้าแอลอาร์ทีต้นแบบ และรถบัสไฟฟ้า ที่เป็นฝีมือการออกแบบและผลิตโดยคนไทย
  • สำหรับรถบัสไฟฟ้า ดร.ไพวรรณ เกิดตรวจ หัวหน้าโครงการวิจัยอาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น กล่าวว่า รถบัสไฟฟ้าคันนี้ เป็นผลงานการวิจัยที่ได้รับงบประมาณจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่ต้องการให้การสนับสนุนนักวิจัยได้สร้างผลงานอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และต่อยอดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดขอนแก่น ที่ต้องการให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายการเดินทางในเขตเมือง หันมาใช้บริการรถสาธารณะ ลดปัญหาการจราจรในเขตเมืองและช่วยลดมลพิษทางอากาศ โดยฝีมือคนไทย
  • “รถบัสไฟฟ้าคันนี้เป็นไมโครซิตี้บัสชนิดพื้นต่ำ ระบบกักเก็บพลังงานเป็นแบบไฮบริด จึงทำให้สามารถทำระยะทางได้มากกว่าการใช้แบตเตอรี่อย่างเดียว จากการทดสอบเป็นไปตามที่ทางคณะวิจัยได้ออกแบบไว้ คือ ทดสอบเส้นทางวงแหวนรอบเมือง สามารถทำความเร็วได้ที่ 250-300 กิโลเมตรต่อการชาร์ท 1ครั้ง โดยรถบัสไฟฟ้าคันนี้ถูกออกแบบให้ใช้บริการขนส่งในเขตเมือง เชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่นๆทั้งสนามบิน บขส. ข้อดีคือไม่มีเครื่องยนต์ จึงทำให้ไม่มีมลพิษ บรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ 30 คนต่อ 1 เที่ยว มีการออกแบบประตูให้มีขนาดกว้าง มีทางลาดให้สะดวกกับการขึ้นลงของผู้โดยสารทุกคน” ดร.ไพวรรณ กล่าว
  • ด้าน ดร.ศุภฤกษ์ ชามงคลประดิษฐ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับระบบขนส่งที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอาคารปฎิบัติการซ่อมบำรุงรถไฟ หรือที่เรียกว่า เดปโป เป็นอาคารเรียนที่รวมแหล่งความรู้ระบบขนส่ง ตั้งอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น จุดประกายให้เกิดการสร้างระบบขนส่งแบบรางเป็นการเดินรถไฟฟ้า ที่ใช้เป็นโมเดลทางธุรกิจของจังหวัดขอนแก่น ต่อยอดมาเป็นรถรางไฟฟ้าแอลอาร์ที ที่ใช้ระบบไฟฟ้าและแบตเตอรีในการเดินรถ ต้นแบบแห่งแรกของประเทศ โดยฝีมือคนไทย ออกแบบและผลิตในอีสาน โดยได้รับการสนับสนนุงบประมาณณจากรัฐบาลไปแล้วกว่า 130 ล้านบาท พร้อมผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมระบบรางขึ้น ถือเป็นการยกระดับ รวมถึงทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ขึ้นในระยะยาวด้วย

และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในแวดวงวิจัยและพัฒนาระบบรถรางที่เราอยากแจ้งให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นที่ชื่นชอบถูกใจคอเทคโนโลยีทุกคน และหากมีข่าวความคืบหน้าประการใดเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก เราจะรีบมาอัพเดทให้ทุกท่านได้ทราบก่อนใครทันที

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This