มหาวิทยาลัยมิชิแกนสำเร็จเบื้องต้นในการใช้คลื่นเสียงอัลตราซาวด์รักษามะเร็ง

Must Read

สวัสดีเพื่อนๆ คอแพทย์ทุกคน วันนี้เรามีข่าวดียิ่งจะมาแจ้งให้ทราบว่า ล่าสุด มหาวิทยาลัยมิชิแกนประสบความสำเร็จใช้คลื่นเสียงอัลตราซาวด์รักษามะเร็งแล้ว รายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นเช่นไร เรามาติดตามกันเลย

สรุปรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเด็นนี้ ได้ดังนี้

  • ปกติแล้วการรักษามะเร็งในจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดร่วมกับการทำคีโมเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง แต่ล่าสุดมหาวิทยาลัยมิชิแกนประสบความสำเร็จในการรักษามะเร็งแนวใหม่ด้วยการใช้คลื่นเสียงอัลตราซาวด์
  • ทีมวิศวกรของ มหาวิทยาลัยมิชิแกนได้พัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า histotripsy โดยดัดแปลงใช้คลื่นอัลตราซาวด์ ส่งพลังงานเสียงคลื่นสั้นไปยังจุดที่ต้องการ เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะมีข้อดีเหนือวิธีรักษาอื่นๆคือการระบุจุดรักษาได้อย่างแม่นยำ
  • ซึ่งคลื่นเสียงนี้จะเข้าไปทำให้เกิดฟองขนาดเล็กในเซลล์ที่ผิดปกติ จากนั้นฟองนี้จะขยายตัวและแตกออกเพื่อทำลายโครงสร้างของเซลล์มะเร็งจากด้านใน แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ยังถือเป็นความท้าทายในการรักษามะเร็งในมนุษย์ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดมะเร็งและเนื้อเยื่อที่อยู่โดยรอบ
  • จากการทดลองรักษามะเร็งตับในหนูทดลอง พบว่าสามารถทำลายเซลล์มะเร็งตับได้ 50 – 75% โดยมีความแม่นยำระดับมิลลิเมตร จากนั้นภูมิคุ้มกันของร่างกายจะสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งส่วนที่เหลือได้
  • หลังจากนี้คือการทดสอบเชิงคลีนิกกับผู้ป่วยที่เป็นคนจริงๆ ในสหรัฐและยุโรป โดยในช่วงเริ่มต้นจะเน้นไปที่การรักษามะเร็งตับก่อน ซึ่งหากสามารถรักษาคนจริงๆ ได้สำเร็จก็น่าจะช่วยเพิ่มความหวังในกลับผู้ป่วยมะเร็งทั่วโลกได้

และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในแวดวงเทคโนโลยีด้านการแพทย์ที่เราอยากแจ้งให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นที่ชื่นชอบถูกใจสายแพทย์กันทุกคน และหากมีเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่น่าตื่นเต้นเช่นนี้อีก เราจะรีบมาอัพเดทให้ทุกท่านได้ทราบก่อนใครทันที

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This