มังกรโคโมโด ความเชื่อและความหวังใหม่ในวงการยา หลายคนเชื่อว่าเลือดของมันสามารถสกัดเป็นยาดีครอบจักรวาลได้

Must Read

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน สาระความรู้ที่น่าสนใจที่เราอยากจะมานำเสนอเพื่อนๆ ในวันนี้ก็คือเรื่องราวของ “เลือดมังกรโคโมโด” ที่อาจเป็นความหวังใหม่ในการสร้างยาปฏิชีวนะ ของมนุษยชาติ  ซึ่งจะเป็นไปได้อย่างไร ลองมาดูรายละเอียดกันเลย 

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2019 เว็บไซต์ Washington Post รายงานว่า

รัฐบาลอินโดนีเซียสั่งปิดเกาะโคโมโด (Komodo Island) เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี เพื่อป้องกันผู้ลักลอบเข้ามาขโมยมังกรโคโมโดไปขายในตลาดมืด รวมถึงลดความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ของสัตว์ชนิดนี้ด้วย

มาทำความรู้จักเจ้ามังกรโคโมโดกันก่อนดีกว่า 

มังกรโคโมโด (Komodo) เป็นสัตว์เลื้อยคลานกินเนื้อขนาดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับตะกวด แต่มีขนาดใหญ่และยาวกว่ามาก ตัวโตเต็มวัยมีความยาวประมาณ 2-3 เมตร หนักประมาณ 90 กิโลกรัม พบได้เฉพาะในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น แต่ปัจจุบันสัตว์ชนิดนี้มีจำนวนลดลงมากเหลือเพียง 6,000 ตัวทั่วทั้งเกาะ แย่ยิ่งกว่านั้นคือมีตัวเมียเหลือเพียง 500 ตัวที่คาดว่าน่าจะสามารถตั้งท้องเพื่อมีลูกหลานสืบต่อไปได้ สาเหตุของการลดจำนวนนี้มาจากการล่าเพื่อนำไปขายในตลาดมืด จากรายงานล่าสุด ตำรวจท้องที่ได้เข้าจับกุมชาย 9 คนที่พยายามลักลอบนำโคโมโดจำนวน 40 ตัวออกนอกพื้นที่ พวกเขากล่าวว่าโคโมโด 1 ตัวขายได้ราคาสูงถึง 35,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.07 ล้านบาทเลยทีเดียว

มังกรโคโมโดมีสรรพคุณเป็นยาที่หายากมาก 

 

ฟังดูแล้วมันไม่น่าถูกล่าได้เลยใช่ไหม  เพราะรูปร่างก็ไม่ได้น่ารัก จะเลี้ยงไว้เป็นสัตว์แปลกหายากก็ไม่ได้น่าดึงดูดสักเท่าไร แต่อย่าลืมว่าบางครั้งการซื้อขายสัตว์ไม่ได้หวังเพียงเพื่อนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงหรือของสะสม แต่ยังหวังสรรพคุณจากส่วนต่าง ๆ ของมันเพื่อใช้ทำยาอีกด้วย กรณีนี้จะคล้ายกับการนำนอแรดมาใช้ทำยาโด๊ป (หรือยาปลุกอารมณ์ทางเพศอะไรเทือกนี้แหละครับ) แต่สำหรับโคโมโดนั้น มีนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าเลือดของมันมีโมเลกุลบางชนิดที่ออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้ (โดยเฉพาะแบคทีเรียดื้อยารุนแรงอย่าง S. aureus และ P. aeruginosa) ซึ่งเชื่อว่ามันเกิดจากการวิวัฒนาการของร่างกายในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรียจำนวนมากในช่องปากของโคโมโด จึงเกิดแนวคิดที่ว่าเราอาจจะสามารถนำเลือดของสัตว์ชนิดนี้มาทำยาปฏิชีวนะได้นั่นเอง 

โมเลกุลเปปไทด์ (Peptide) ที่สกัดได้จากเลือดของโคโมโค มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ  อย่างไรก็ตาม Bryan Fry ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยรัฐควีนส์แลนด์ กล่าวว่า การทำยาปฏิชีวนะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคุณจะต้องทราบถึงคุณสมบัติของสารที่ต้องการนำมาใช้เสียก่อน แล้วในเลือดของโคโมโดเองอาจมีสารอยู่หลายชนิด ผู้ทดลองต้องมีการศึกษาโครงสร้างที่ “คาดว่า” มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและคัดแยกออกมาทำการทดลองอีกครั้ง เมื่อได้ยาตัวอย่างมาแล้วต้องมีการทดลองในสัตว์และมนุษย์อาสาสมัครเสียก่อน นี่ยังไม่รวมถึงการศึกษาผลข้างเคียงจากยาที่ได้มาจากสิ่งมีชิวตอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้ด้วย รวม ๆ แล้วอาจใช้เวลาในการผลิตนานถึง 10 ปีเลยทีเดียว

 

สิ่งที่ทุกคนควรทราบเกี่ยวกับมังกรโคโมโด 

ในช่องปากและน้ำลายของโคโมโดมีแบคทีเรียกว่า 80 ชนิดปะปนอยู่ แต่ก่อนเชื่อกันว่าแบคทีเรียเหล่านี้ เป็นส่วนที่คอยสร้างพิษในบาดแผลจากการกัดของโคโมโด ทว่า ปัจจุบันได้มีการค้นพบว่าโคโมโดสามารถสร้างพิษได้จากต่อมพิเศษ ออกฤทธิ์ทำให้เหยื่อความดันต่ำและเลือดไม่แข็งตัวจนเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา ส่วนการติดเชื้อจากแบคทีเรียนั้นเป็นผลพลอยได้นั่นเอง 

 

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This