มาแล้ว โกคู จาก TRIPLE-1  หน่วยประมวลผลระดับ 5 นาโนเมตรที่ทรงพลังที่สุดในโลก

Must Read

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน กลับมาพบกันเป็นประจำกับเรื่องราวที่น่าสนใจในแวดวงไอที สำหรับวันนี้เรามีข่าวสำคัญมาแจ้งให้ทุกคนได้ทราบว่า TRIPLE-1   ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ที่เมืองฟุกุโอกะทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น ได้ประกาศการพัฒนา “GOKU” หน่วยประมวลผลพลัง AI สำหรับการเรียนรู้เชิงลึกที่ใช้กระบวนการผลิตระดับ 5 นาโนเมตรสุดล้ำระดับโลก ซึ่งจะมีความน่าสนใจอย่างไร ลองมาดูสรุปสั้นๆ กัน 

สรุปความสามารถของหน่วยประมวลผล “GOKU” 

=> “GOKU” เป็นหน่วยประมวลผลพลัง AI สำหรับการเรียนรู้เชิงลึกที่ใช้กระบวนการผลิตระดับ 5 นาโนเมตรสุดล้ำระดับโลก

=>  ถือกำเนิดจากกระบวนการพัฒนา TSMC 7-nm อย่าง “KAMIKAZE”  

=> ใช้กระบวนการผลิตระดับ 5-nm สุดล้ำระดับโลก  ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ให้สมรรถนะสูงแต่ใช้พลังงานน้อยอันเป็นเอกลักษณ์ของบริษัท รวมถึงความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบในกระบวนการผลิตสุดล้ำดังกล่าว

=>  “GOKU” หน่วยประมวลผลพลัง AI สำหรับการเรียนรู้เชิงลึก พร้อมกระบวนการผลิตระดับ 5-nm สุดล้ำระดับโลก

=> หน่วยประมวลผลนี้ใช้กระบวนการผลิตระดับ 5-nm สุดล้ำระดับโลก ส่งผลให้ประหยัดพลังงานขึ้นถึง 10 เท่าเมื่อเทียบกับกระบวนการผลิตทั่วไป

=> TRIPLE-1 มีเป้าหมายเพื่อลดการใช้พลังงานให้เหลือ 1/10 เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ทั่วไป (ที่ใช้กระบวนการผลิต 12 nm) โดยมีคุณสมบัติเด่นอยู่ที่การใช้แรงดันไฟฟ้าต่ำซึ่งเป็นไปไม่ได้กับผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายทั่วไปในปัจจุบัน

          – กระบวนการผลิต: 5 nm
          – อัตราการกินไฟ: 100 W
          – สมรรถนะสูงสุด (ในรูปแบบ half-precision): 1 PFLOPS (1,000 TFLOPS)
          – ประสิทธิภาพทางไฟฟ้า (ในรูปแบบ half-precision): 10 TFLOPS / W

=> ออกแบบเพื่อเชื่อมต่อหน่วยคำนวณหลายหน่วย เช่นเดียวกับโครงสร้างสมองของมนุษย์ ซึ่งไซแนปส์เชื่อมต่อเซลล์ประสาทเข้าด้วยกันอย่างซับซ้อน ปริมาณการสื่อสารที่มีจำนวนมหาศาลรวมถึงการสื่อสารแบบ inter-core ที่มีความซับซ้อนนั้น ล้วนมีความสำคัญต่อหน่วยประมาลผล AI สำหรับการเรียนรู้เชิงลึก

=>   “GOKU” อาศัยเทคโนโลยีการออกแบบวงจรไฟฟ้าอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งวางหน่วยประมวลผลคณิตศาสตร์ขนาดจิ๋วให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้บนแม่พิมพ์เดี่ยวขนาดใหญ่ GOKU ออกแบบมาเพื่อรักษาแบนด์การสื่อสาร (interconnect) ระหว่างแต่ละหน่วยประมวลผลคณิตศาสตร์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งออกแบบโดยมีเป้าหมายเพื่อให้ใกล้เคียงกับสมองของมนุษย์

=> ดีไซน์แบบอนาล็อกบางส่วน เพื่อยกระดับประสิทธิภาพวงจรทวีแรงดัน

=> วงจรทวีแรงดันที่ใช้พลังงานสูงนี้ได้รับการออกแบบแบบอนาล็อก ซึ่งด้วยดีไซน์แบบอนาล็อก (วางตำแหน่งด้วยมือและวางสายด้วยมือ) แทนที่จะเป็นดิจิทัล (วางตำแหน่งและวางสายอัตโนมัติ) จึงใช้มือออกแบบวงจรได้อย่างละเอียด และช่วยลดการใช้พลังงานให้เหลือน้อยที่สุด

 

 

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

ปรับตัวใหม่! ตลาดหุ้นโลกและผลการประชุมธนาคารกลางส่งสัญญาณอะไรบ้าง?

สัปดาห์นี้เราเห็นการเคลื่อนไหวใหญ่ในตลาดหุ้นทั่วโลก ที่มาพร้อมกับการตัดสินใจสำคัญจากธนาคารกลางหลายแห่ง ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยไปจนถึงการอัปเดตเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ให้สัญญาณว่าอาจจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ตามด้วยธนาคารกลางสวิสฯ ที่เริ่มต้นด้วยการลดดอกเบี้ยลง 0.25% เป็นการตอบสนองต่อเงินเฟ้อที่ลดลง ในอีกด้านของโลก, ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็ทำการปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี ขณะที่ยังคงนโยบายการซื้อพันธบัตร เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในขณะนี้...
- Advertisement -

More Articles Like This