รัสเซียสวนคืน ระงับส่งออกอาหารทะเล-ยกเลิกข้อตกลงน่านน้ำกับญี่ปุ่นแล้ว

Must Read

ในที่สุดญี่ปุ่นก็กลายเป็นคู่ขัดแย้งกับรัสเซียจนได้ โดยล่าสุดรัสเซียสวนคืน ระงับส่งออกอาหารทะเล-ยกเลิกข้อตกลงน่านน้ำ ทำราคาอาหารสูงลิ่วตามก้นสหรัฐฯ ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเลย

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้

  • จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย ที่กินเวลามาสักระยะแล้ว ส่งผลให้ทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบหลายเรื่อง เช่น ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น การขาดแคลนทรัพยากร รวมไปถึงราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น
  • โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ก็คือหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งหลังจากที่เกิดสงคราม ส่งผลทำให้อาหารทะเลก็มีราคาสูงขึ้น
  • โดยประเทศที่ส่งอาหารทะเลให้ญี่ปุ่นมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ จีน 1% ชิลี 8.9% และรัสเซีย 8.6% โดยมีมูลค่าการนำเข้าอาหารทะเลของญี่ปุ่นจากรัสเซีย คิดเป็นมูลค่ามากถึง 37,600 ล้านบาท
  • ล่าสุดทางเพจ World Update ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีที่รัสเซียได้ระงับการส่งออกอาหารทะเล และระงับข้อตกลงทางทะเลบริเวณน่านน้ำติดกับญี่ปุ่นห่างออกมาจากเกาะฮอกไกโด โดยอ้างอิงจาก MarketeerOnline ระบุว่า
  • ผลจากญี่ปุ่นถูกสหรัฐ ยุยงให้คว่ำบาตรรัสเซียก่อน จึงถูกสวนกลับบ้าง โดยระงับการส่งออกอาหารทะเลไปยังญี่ปุ่น ด้วยรัสเซียคือแหล่งอาหารทะเลชาวญี่ปุ่น อันดับ 4 คือ ปู 60% , แซลมอน 5% และปลาค็อด 7.1% ส่งผลให้ มี.ค.65 อาหารทะเลญี่ปุ่นแพงขึ้นพรวดทันที จนร้านซูชิต้อง หันไปนำเข้าอาหารทะเลราคาแพงจากประเทศอื่นๆ
  • หรือเปลี่ยนเมนู จากนั้นอาหารทะเลในญี่ปุ่นก็แพงขึ้นตลอดเวลา ตามราคาน้ำมัน และภาวะเงินเฟ้ออย่างหนัก , ราคาปลาแซลมอนเกรดพรีเมียมก็แพงขึ้นอีก เพราะฟาร์มเลี้ยงในนิวซีแลนด์เผชิญปรากฏการณ์ทะเลเดือดจนปลาแซลมอน 1,000 ตันตายคาบ่อ

และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในต่างประเทศที่เป็นผลกระทบโดยตรงจากสงครามรัสเซียบุกยูเครนที่เราอยากแจ้งให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ซึ่งเราก็คงต้องจับตากันต่อไปว่าชาติใดจะกลายเป็นคู่ขัดแย้งรายใหม่กับรัสเซียอีก

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

ปรับตัวใหม่! ตลาดหุ้นโลกและผลการประชุมธนาคารกลางส่งสัญญาณอะไรบ้าง?

สัปดาห์นี้เราเห็นการเคลื่อนไหวใหญ่ในตลาดหุ้นทั่วโลก ที่มาพร้อมกับการตัดสินใจสำคัญจากธนาคารกลางหลายแห่ง ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยไปจนถึงการอัปเดตเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ให้สัญญาณว่าอาจจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ตามด้วยธนาคารกลางสวิสฯ ที่เริ่มต้นด้วยการลดดอกเบี้ยลง 0.25% เป็นการตอบสนองต่อเงินเฟ้อที่ลดลง ในอีกด้านของโลก, ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็ทำการปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี ขณะที่ยังคงนโยบายการซื้อพันธบัตร เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในขณะนี้...
- Advertisement -

More Articles Like This