สิทธิบัตรงานวิจัย นั้นสำคัญอย่างไร

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

พอดีตัวผมเองก็ทำงานวิจัยอยู่เหมือนกันเห็นบทความน่าสนใจเลยขอหยิบยกมาเผยแพร่ต่อให้ชาวไอทีเมามันส์ได้อ่านกันครับ โดยกว่าจะได้งานวิจัยแต่ละชิ้นมาก็ลำบากแต่ก่อนจะเริ่มทำนั้นก็ต้องศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้สำหรับอ้างอิง และนอกจากใช้สำหรับอ้างอิงแล้วยังเป็นการดูว่างานที่เราทำนั้นไปซ้ำกับคนที่เคยทำมาแล้วหรือไม่ซึ่งเป็นเรื่องของสิทธิบัตรนั้นเอง มาดูกันกว่าสิทธิบัตรงานวิจัยนั้นมันสำคัญอย่างไร

ผมขอหยิบยกจากข้อมูลสรุปจาก Fcebook เพจ “ทันแมว” ที่กล่าวไว้ว่า การทำวิจัยนั้นเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ และส่วนหนึ่งที่สำคัญในการเริ่มต้นทำวิจัยนั้นคือการทำ “ทบทวนวรรณกรรม” หรือที่เรียกกันว่า “Literature review”

การทำทบทวนวรรณกรรมนั้นให้ประโยชน์ในหลายแนวทาง เช่น หาช่องว่างเพื่อพัฒนางานวิจัยเพื่อเติมเต็มวิทยาการด้านนั้น ศึกษาพื้นฐานทางวิชาการด้านนั้นๆ เพื่อเปรียบเทียบผลการทดลอง หรือเพื่อค้นหาว่างานที่เราศึกษานั้นมีผู้ริเริ่มทำแล้วหรือยังและพัฒนาได้ในแนวทางไหนบ้าง ใครเป็นผู้ชำนาญการในวงการนั้นๆ โดยในปัจจุบันนั้นมีการสนับสนุนกันอย่างกว้างขวาง เพื่อผลักดันงานวิจัยให้สามารถนำไปใช้ได้จริง ทั้งเพื่อการกระจายองค์ความรู้และพัฒนาเพื่อการค้า ซึ่งโดยปกตินั้นงานวิจัยนั้นทำการทบทวนวรรณกรรมจากฐานข้อมูลด้านวิชาการ วารสารวิชาการ หรืองานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์จากแหล่งต่างๆ ยังมีอีกแหล่งข้อมูลที่สำคัญนั้นได้แก่ ฐานข้อมูลสิทธิบัตร

โดยฐานข้อมูลสิทธิบัตรนั้นสามารถให้ข้อมูลการประดิษฐ์ได้ในเชิงลึกว่ามีขั้นตอน กระบวนการ หรือลักษณะทางวิศวกรรมอย่างไร หรืองานดังกล่าว ใคร เป็นผู้ประดิษฐ์ หรือใครเป็นเจ้าของงานดังกล่าว อีกทั้งบอกได้ว่างานดังกล่าวนั้นมีจุดเริ่มที่ไหน และกระจายไปที่ไหนบ้าง อีกทั้งงานที่มีการจดสิทธิบัตรมักเป็นงานที่มีการผลักดันเข้าสู่ตลาดจริง หรือมีแผนการเพื่อเข้าสู่ตลาดในอนาคต ทำให้รู้ถึงทิศทางหรือแนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยีหรือการพัฒนาในสาขาวิทยาการนั้นๆ รวมไปถึงทำให้เราเห็นแง่มุมทางกฏหมายว่างานวิจัยที่เราศึกษาหรือทำอยู่นั้นมีจะติดขัดประเด็นทางกฏหมายหรือไม่เมื่อมีการนำงานวิจัยเข้าสู่เชิงพาณิชย์และเป็นการวิเคราะห์คู่แข่งในเชิงพาณิชย์อีกด้วย

การใช้ข้อมูลสิทธิบัตรร่วมด้วยนั้นจะช่วยให้นักประดิษฐ์หรือนักวิจัยเห็นภาพของวิทยาการดังกล่าวชัดเจนขึ้นและทำการวางแผนระยะยาวเพื่อพัฒนางานในเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทางเพจเขาได้รวบรวมมาเป็น Infographic แบบเข้าใจง่ายๆดังนี้ครับ

Infographic สิทธิบัตรงานวิจัย

นอกจากในที่ทางเพจกล่าวมาแล้วยังมีแหล่งฐานข้อมูลออนไลน์อีกมากมายที่ใช้สำหรับเป็นข้อมูลอ้างอิงและสืบค้นข้อมูลเช่น

และยังมีที่อื่นๆอีกมายมายที่ยังไม่กล่าวถึง หลายมหาลัยเป็นสมาชิกเว็บไซต์เหล่านี้เพื่อให้เหล่านักศึกษาเข้าไปสืบค้นข้อมูลเพื่อทำงานวิจัยครับ ผมเองก็เป็นหนึ่งคนที่เข้าบ่อยๆ เอาละครับวันนี้มาด้วยสาระล้วนๆ ใครสนใจและกำลังทำงานวิจัย หรือกำลังศึกษาข้อมูลเพื่อทำงานวิจัยอยู่หวังว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยใช่ไหมครับชาวไอทีเมามันส์..

 

 

Reference

  • อยากวิจัย ค้นหาข้อมูลสิทธิบัตรก่อนสิ at aware.of.cat
  • ฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับโดยสำนักหอสมุด at lib.kmutt

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This