ไทยสร้าง แบตเตอรี่สังกะสีไอออน ที่มีศักยภาพไม่ด้อยกว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน

Must Read

สวัสดีคอยานยนต์ไฟฟ้าทุกคน ครั้งนี้เรามีข่าวสำคัญจะมาแจ้งให้ทุกท่านได้ทราบว่า ล่าสุดนักวิจัยไทยประสบความสำเร็จสร้าง แบตเตอรี่สังกะสีไอออน ที่มีศักยภาพไม่ด้อยกว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แถมยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า รายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเลย

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้

  • แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงานสูงที่สุดเมื่อเทียบต่อน้ำหนักของแบตเตอรี่ และยังเป็นแบตเตอรี่หลักให้กับรถยนต์ไฟฟ้าอยู่ในตอนนี้ แต่ก็อย่างที่ทราบว่ากันว่าทรัพยากรแร่ลิเทียมยังคงเป็นแร่ที่หายาก ซึ่งสวนทางกับความต้องการที่สูงขึ้นส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลน และอาจทำให้เกิดการขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากรได้ในอนาคต
  • อีกทั้งแบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออนยังมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย เนื่องจากการผลิตแบตเตอรี่ชนิดนี้ใช้อิเล็กโทรไลต์อินทรีย์ซึ่งเป็นพิษและไวไฟ สามารถระเบิดได้ รวมถึงด้วยแบตเตอรี่ชนิดนี้ยังมีส่วนผสมของโลหะหนัก หากมีการใช้จำนวนมากและกำจัดไม่ถูกวิธี จะก่อให้เกิดการรั่วไหลของสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมได้
  • แต่ล่าสุดนักวิจัยไทยได้พัฒนา “แบตเตอรี่สังกะสีไอออน” ที่มีศักยภาพทั้งด้านของประสิทธิภาพ ราคา และความปลอดภัย ได้ไม่ด้อยไปกว่าแบตเตอรี่แบบลิเทียมที่ใช้กันอยู่ปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
  • ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ นักวิจัยศูนย์ NSD สวทช. เล่าถึงแบตเตอรี่สังกะสีไอออนที่ทีมวิจัยร่วมกันพัฒนาว่า ได้นำเทคโนโลยีกราฟีนเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บประจุของแบตเตอรี่ ซึ่งแบตเตอรี่สังกะสีไอออนมีค่าการเก็บประจุสูงถึง 200-220 mAh/g และมีค่าความหนาแน่นพลังงานอยู่ในช่วง 200-250 Wh/kg ให้ค่าแรงดันได้ 2–1.4 โวลต์ สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า 2,000 รอบ มีประสิทธิภาพด้านความหนาแน่นพลังงานสูงกว่าแบตเตอรี่ตะกั่วกรด และสามารถเทียบเคียงกับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนบางชนิดได้
  • “แบตเตอรี่สังกะสีไอออนยังมีจุดเด่นในหลายด้าน เช่น ด้านราคา ด้านความปลอดภัย และด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากวัตถุดิบสังกะสีมีราคาถูกและมีปริมาณมากในธรรมชาติ แบตเตอรี่สังกะสีไอออนมีความปลอดภัยสูง ไม่ติดไฟ ไม่ระเบิดแม้ถูกเจาะ ที่สำคัญไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถนำมารีไซเคิลได้ ทั้งยังให้สมรรถนะที่ดี สำหรับแนวทางการนำไปใช้งาน เช่น ระบบกักเก็บพลังงานแบบอยู่กับที่ แบตเตอรี่สำรองไฟฟ้าในบ้านพักอาศัย สถานีวิทยุสื่อสารทหาร รถไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้า หรือสถานที่ที่ต้องการความปลอดภัยสูง อาทิ แท่นขุดเจาะน้ำมัน”
  • และที่สำคัญประเทศไทยมีแหล่งสำรองแร่สังกะสี จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจที่จะสร้างอุตสาหกรรมใหม่ทางด้านการผลิตแบตเตอรี่สังกะสีแบบปลอดภัยได้เองในประเทศ ซึ่งประโยชน์ที่เกิดขึ้นนอกจากจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของประเทศด้วย

และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในแวดวงยานยนต์ไฟฟ้าที่เราอยากแจ้งให้ทุกท่านได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะสร้างความตื่นเต้นแก่คออีวีไม่น้อย และหากมีข่าวคืบหน้าสำคัญในวงการอีวีอีก เราจะรีบอัพเดทให้ทุกท่านได้ทราบก่อนใครทันที

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This