“123456” เลิกเสียทีเถอะ รหัสห่วยๆ จะทำให้คุณถูกแฮ็คได้ง่ายๆ

Must Read

“123456” ชื่อไหมว่าทุกวันนี้ยังมีคนใช้รหัสผ่านนี้อยู่ และยังเป็น รหัสผ่านยอดแย่ยอดนิยมอันดับหนึ่งด้วย ผลสำรวจโดยทาง NordPass บริการช่วยจัดเก็บรหัสผ่าน ล่าสุดได้เผยอีกสถิติน่าสนใจ พบเหล่า CEO หรือผู้บริหารระดับสูงหลายราย ใช้รหัสผ่านยอดแย่มากเป็นพิเศษ

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้

  • CEO , CTO และ CFO หรือเหล่า Chief ทั้งหลาย พบนิยมใช้รหัสผ่านเป็น “123456” และรหัสผ่านเดาง่ายอื่น ๆ ด้วย คาดถูกใช้เหมือน ๆ กันไปแล้วกว่า 103 ล้านครั้ง
  • อีกทั้งบางรายยังใช้รหัสผ่านเป็นชื่อตนเองด้วย เช่น “Tiffany” (100,534 ครั้ง), “Charlie” (33,699 ครั้ง) และ “Michael” (10,647 ครั้ง)
  • หรือหนักกว่านั้นคือใช้ชื่อสัตว์ตั้งซะเลย เช่น “Dragon” และ “Monkey” ที่ต่างก็ใช้เหมือนกันกว่า 1 พันครั้ง และเป็นประเภทรหัสที่ถูกแฮกมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ด้วย
  • แน่นอนว่าหากระดับผู้บริการใช้รหัสผ่านที่เดาง่าย ก็ย่อมส่งผลให้แฮ็กเกอร์ (ครกเกอร์) เข้าสู่บัญชีผู้บริหารระดับสูงได้ง่าย และสามารถสร้างความเสียหายให้กับบริษัทได้เลย

นอกจากรหัสผ่านเดาง่ายแล้ว ก็ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ถูกแฮ็กได้เหมือนกันคือ การใช้รหัสซ้ำ การแชร์รหัสผ่าน การโดนฟิชชิง (phishing) ดักให้กรอกรหัสผ่าน และข้อผิดพลาดอื่น ๆ รวมไปถึงโครงสร้างด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่ไม่ดีตั้งแต่ พื้นฐานของบริษัทด้วย

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This