Apple ปฏิวัติวงการศึกษา

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

Apple, ปฏิวัติวงการศึกษา ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน หลายคนน่าจะยังจำข่าวเล็กๆ ข่าวหนึ่งที่มีผู้ออกมาเปิดเผยผลการวิจัยว่า โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยอ่านหนังสือปีละสามบรรทัดเท่านั้น! ซึ่งได้สร้างกระแสวิพากวิจารณ์ไปทั่วทั้งที่เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของงาน วิจัย นิยามของคำว่า “อ่านหนังสือ” รวมทั้งความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าคนไทย “อ่าน” น้อยเหลือเกิน แต่ถึงอย่างไร ประโยคที่ว่า “คนไทยอ่านหนังสือปีละสามบรรทัด” ก็ได้กลายมาเป็นวาทะเด็ดที่เข้าไปอยู่ในภาพยนตร์ไทยเรื่องหนึ่งที่ออกฉายใน เวลาใกล้เคียงกันไปแล้ว! เรื่องการอ่านหนังสือย่อมสามารถถูกเชื่อมโยงมายังแวดวงการศึกษาได้ไม่ยาก ผลการสำรวจโดยยูเนสโกเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เรียนหนักที่สุดในโลกโดยเฉลี่ยถึง 1,000 ชั่วโมงต่อปี! ในขณะที่ประเทศอื่นในเอเชียที่มีระบบเศรษฐกิจแข็งแกร่งกว่าบ้านเราอย่างจีน และญี่ปุ่นนั้นเด็กๆ ของเขาเรียนเพียงเฉลี่ย 700 ชั่วโมงต่อปี ที่สำคัญคือผลสำรวจนี้นับเฉพาะชั่วโมงเรียนธรรมดาเท่านั้น ยังไม่นับชั่วโมงเรียนกวดวิชาที่เปิดกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันในบ้านเราด้วย! ข้อมูลจากยูเนสโกเปิดเผยว่าเด็กไทยเรียนหนักที่สุดในโลก! ผู้ใหญ่ที่เคยผ่านช่วงเวลาเป็นเด็กล้วนทราบกันดีว่าปัญหาการศึกษาในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่จะอยู่ที่ “ระบบ” ซึ่งเน้นการวัด “ความฉลาด” กันที่ผลการทดสอบมาตรฐาน (standardized test) ซึ่งนับวันจะสูงขึ้นเรื่อยๆ (แปรผันตามจำนวนโรงเรียนกวดวิชาที่เปิดมากขึ้น) และความไม่เท่าเทียมกันทางด้านการเข้าถึงความรู้ของเด็กแต่ละโรงเรียน (อันนำมาซึ่งปัญหาการเส้นเด็กเข้าตามโรงเรียนดังๆ) เท่านั้น แต่องค์ประกอบหลักคือ ครูผู้สอน ตำราเรียน และตัวนักเรียนเองที่ยังคงไม่สามารถหาโซลูชันเพื่อปรับตัวให้เข้ากับโลกที่ หมุนเร็วขึ้นทุกวันได้ โรงเรียนดังแถวบ้านผมยังคงมีนักเรียนเฉลี่ย 40-50 คนต่อห้อง หนังสือเรียนยังมีขนาดใหญ่เทอะทะ ราคาแพง แถมนักเรียนยังถูกบังคับให้นำกลับบ้านทุกครั้งโดยหวังว่าจะนำกลับไปอ่าน! (ใครทำบ้างยกมือขึ้น 😀 ) แล้วยังปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันมีสิ่งยั่วยวนไม่ให้เด็กสนใจเรียนมากมายกว่า เมื่ิอก่อน แต่จะให้ทำอย่างไรได้ ในเมื่อทรัพยากรการเรียนการสอนที่มีอยู่สุดแสนจะเก่าคร่ำครึ หนังสือหนาเป็นร้อยๆ หน้าที่ไม่มีอะไรนอกจากตัวหนังสือและภาพนิ่งที่ไม่น่าสนใจ ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์หรือโต้ตอบอะไรกับผู้อ่านได้ เห็นแบบนี้แล้วไปเปิดคอมเล่นเกมต่อดีกว่า! ประสบการณ์การเรียนรูปแบบใหม่ แม้ว่าปัญหาการศึกษาจะประกอบไปด้วยหลายปัจจัยทั้งจากระบบและตัวบุคคล แต่ผมมองว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งนับเป็นต้นตอของปัญหาการศึกษาที่ทั่วโลก กำลังประสบก็คือ การที่ “ไม่สามารถสร้างแรงจูงใจ” ให้กับผู้เรียนได้ อย่างที่กล่าวไป หนังสือเรียนในปัจจุบันยังคงไม่ต่างกับเมื่อสองร้อยปีที่แล้วซึ่งมีแต่ตัว หนังสือกับภาพประกอบน่าเบื่อประเภทที่ว่าเป็นยานอนหลับชั้นดี ในขณะที่โลกยุคปัจจุบันกำลังก้าวไปสู่ประสบการณ์อินเทอร์แอคทีฟที่สามารถ เข้าถึงได้ง่ายผ่านทางอินเทอร์เน็ต นี่เองที่ทำให้ผมมองว่าหนังสือเรียนอินเทอร์แอคทีฟใน iBooks 2 ที่ Apple เพิ่งเปิดตัวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาจะสามารถเข้ามาแก้ปัญหาการขาดแรงจูง ใจระหว่างเรียน และเพิ่มระดับความเข้าใจในเนื้อหาได้ไม่มากก็น้อย หนังสือเรียนใน iBooks 2 นับว่านำประสบการณ์ใช้งานแบบอินเทอร์แอคทีฟที่ผู้ใช้งานคุ้นเคยกันดีจาก แอพพลิเคชันมาประยุกต์ใช้ได้อย่างน่าสนใจ ไม่เพียงแต่เนื้อหาภายในจะสามารถได้รับการอัปเดตจากผู้เขียนได้แทบจะทันที เท่านั้น แต่ด้วยการที่ตัวคอนเท้นต์สามารถมีปฏิกิริยาโต้กลับกับผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นการซูมภาพ/ตัวอักษร แทรกเนื้อหาด้วยวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหวนั้นจะช่วยเพิ่มระดับความน่าสนใจมาก ขึ้นเมื่อเทียบกับคอนเท้นต์บนหน้ากระดาษแบบก่อน อีกทั้งผู้อ่านยังสามารถทำการไฮไลท์ข้อความของจดโน้ตได้อย่างง่ายดายเหมือน หนังสือจริง ซึ่งจะถูกเก็บเป็นสัดเป็นส่วนสามารถเข้าถึงได้ง่ายเมื่อต้องการอีกด้วย ทั้งหลายทั้งปวงนี้จะช่วยให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมไปกับคอนเท้นต์ภายในได้ไม่ ยาก สร้างคอนเท้นต์ได้ง่ายๆ แน่นอนว่าการศึกษาก็เหมือนกับความรักที่ปรบมือข้างเดียวมักไม่ดัง (ฮา!) นั่นก็คือไม่เพียงแต่ต้องสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียนได้เท่านั้น แต่กับครูผู้สอนเองก็ต้องได้รับโอกาสในการสร้างสรรค์เนื้อหาตามที่ต้องการ ด้วย และด้วยเหตุนี้จึงทำให้ iBook Author เครื่องมือการสร้างสรรค์อีบุ๊คแบบอินเทอร์แอคทีฟที่ Apple ปล่อยฟรีบน Mac App Store นั้นจะกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยเปิดประสบการณ์การสอนในรูปแบบใหม่ ได้ เพราะบรรดาครูไม่จำเป็นต้องอิงแต่กับตำราดั้งเดิมเสมอไป แต่จะสามารถสร้างเนื้อหาขึ้นมาใหม่เพื่อประกอบการเรียนการสอนได้ทันทีถ้า เห็นว่าเหมาะสม อีกทั้งเท่าที่ผมลองกดเล่นใช้งานดูก็พบว่าอินเตอร์เฟสสามารถใช้งานได้ง่าย ออกอารมณ์เดียวกับการใช้ Keynote สร้างงานนำเสนอหน้าชั้น และอย่างที่กล่าวไป iBook Author ไม่มีราคาค่างวดแต่อย่างใด (จะเว้นก็แต่ผู้เขียนต้องการขายอีบุ๊คที่ใช้แอพนี้สร้างขึ้น ซึ่งต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่ Apple ระบุตามเคย) จะมีข้อน่าสังเกตก็ตรงที่แอพพลิเคชันนี้รองรับแต่เฉพาะ Mac OS X เท่านั้น แต่ก็อาจมีการขยับขยายเปลี่ยนแปลงเมื่อมีเสียงเรียกร้องมากขึ้น กระดาษตายแล้ว! จุดจบของพับลิชเชอร์!? เป็นเรื่องปกติที่พอมีนวัตกรรมใหม่ออกมาก็จะมีเสียงตะโกนดังขึ้นมาว่าของ เก่าจะต้องถึงกาลดับสูญ แต่หลายอย่างก็ได้พิสูจน์แล้วว่าถึงแม้ของใหม่จะออกมา ของเก่าก็ยังมีที่ทางของมันอยู่ (เพียงแต่อาจเปลี่ยนสถานะ) หนังแผ่นไม่เคยฆ่าโรงภาพยนตร์ก็เพราะให้ประสบการณ์รับชมและมีโมเดลทางธุรกิจ ที่ต่างกัน ดิจิตัลไม่อาจทำให้ฟิล์มหายไปจากโลกเพราะให้อารมณ์ความรู้สึกหรือ “ฟีลลิ่ง” คนละระดับ (แถมปัจจุบันคนเล่นฟิล์มยังถูกมองว่า “มีเงิน” เพราะค่าใช้จ่ายเบ็ดเสร็จนั้นแพงเหลือเกิน) เข่นเดียวกับอีบุ๊กที่จะไม่มีทางฆ่าหนังสือกระดาษไปได้ง่ายๆ เริ่มจากที่หลายฝ่ายมองว่า กระดาษให้อารมณ์ความรู้สึกขณะอ่านแบบดั้งเดิมที่สืบเนื่องยาวนานมาเป็นร้อย ปี จึงทำให้หลายคนคุ้นเคยเมื่ออ่านจากกระดาษมากกว่า อีกทั้งในแง่ของการนำไปใช้เพื่อการเรียนการสอนนั้น ยังมีคนอีกไม่น้อยที่มองว่ากระดาษมีความยื่นหยุ่นกว่า สามารถจดโน้ตและไฮไลท์ได้รวดเร็วทันใจ แถมยังเปิดหาข้อมูลไปพร้อมกันได้หลายๆ เล่ม สามารถสำเนาได้ง่าย แล้วยังไม่ต้องมาปวดหัวกับสารพันฟอร์แม็ตหรือการจัดการสิทธิ์ทางดิจิตัล (Digital Rights Management หรือ DRM) อีกด้วย นอกจากนั้น การที่มีเครื่องมือพัฒนาอีบุ๊กเองอย่าง iBook Author นั้นก็ทำให้หลายฝ่ายมีความเห็นว่าอีกไม่นานสำนักพิมพ์หรือพับลิชเชอร์ราย ใหญ่ที่เคยเป็นเหมือนพ่อค้าคนกลางจะถึงจุดจบ เพราะนักเขียนสามารถเขียนงานและจำหน่ายผ่านร้านค้าออนไลน์ได้เลย แต่ความจริงแล้วใครที่เคยสัมผัสขั้นตอนการเขียนหนังสือมาก่อนจะทราบดีว่า ประกอบไปด้วยปัจจัยหลายอย่างมาก งานเขียนยังคงเป็นงานที่หนัก และประกอบไปด้วยหลายฝ่ายหลายขั้นตอน ไม่่ว่าจะเป็นด้านการออกแบบ การพิสูจน์อักษร การประชาสัมพันธ์ การตลาด และสำหรับอีบุ๊กแบบอินเทอร์แอคทีฟขั้นสูงก็คงต้องเพิ่มการทำโปรแกรมมิ่งด้วย เหล่านี้คงจะมีแต่สำนักพิมพ์ทุนหนาเท่านั้นที่จะสามารถมอบให้ได้ อีกทั้งยังคงเป็นเรื่องยากที่นักเขียนเล็กๆ ที่ไม่มีชื่อเสียงมาก่อนจะสามารถสร้างที่ทางในตลาดที่อีกหน่อยใครๆ ก็กลายเป็นนักเขียน คงต้องอาศัยแบรนด์ของสำนักพิมพ์เองช่วยกันโปรโมท และนี่เองที่ Apple ตัดสินใจเป็นพันธมิตรกับสำนักพิมพ์ตำราเรียนรายใหญ่ และไม่ได้ปล่อยเครื่องมือมาให้สำหรับนักเขียนอิสระอย่างเดียว เมื่ออินเทอร์แอคทีฟคือคำตอบของการศึกษายุคหน้า การอ่านยังคงเป็นเมล็ดพันธ์ของความรู้ที่สำคัญ แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป เราก็คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ที่เราต้องเปลี่ยนตาม ปัจจุบันความรู้ไม่ได้อยู่ในงานวิจัยเล่มหนา หรือตำราเล่มโตเหมือมเมื่อก่อน แต่กลับอยู่ในโลกออนไลน์ที่เข้าถึงได้โดยคลิ้กเดียว การรณรงค์โปรโมทให้คนไทยรักการอ่านนับเป็นเรื่องที่ดี แต่เพียงแค่การนำหนังสือไปวางไว้ตามที่ต่างๆ หรือการสร้างห้องสมุดสาธารณะแต่เพียงอย่างเดียวนับว่าไม่เพียงพอและเป็นการ เกาไม่ถูกที่คัน เพราะปัจจุบันปัญหาของการอ่านน้อยนั้นไม่ได้เป็นเพราะเราไม่สามารถเข้าถึง ทรัพยากรดังกล่าวไดอีกต่อไป แต่เป็นการขาดแรงจูงใจและการที่ไม่สามารถ “อิน” ไปกับคอนเท้นต์ได้เต็มที่มากกว่า เช่นเดียวกับการศึกษาบ้านเราซึ่งยังมีท่ีทางให้ได้แก้ไขกันอีกมาก เด็กหนีเรียนไปเล่มเกมไม่ใช่เป็นเพราะเด็กคนนั้นหัวแข็งเกเรเสมอไป แต่เป็นเพราะระบบรวมทั้งตำราเรียนมันสุดแสนจะน่าเบื่อ แถมยังต้องจำมาสอบอีกต่างหาก ซึ่งคิดๆ ไปแล้วก็เหมือนกันเป็นการนำปัจจัยภายนอกมาบีบคั้นให้เด็กต้องไปเรียนมากกว่า การสร้างแรงจูงใจจากภายในให้เด็กสนใจและเห็นความสำคัญ แน่นอนว่ากระดาษยังคงอยู่และสำนักพิมพ์จะยังไม่หายไปชั่วข้ามคืน แต่จากการที่เครื่องมือสร้างสรรค์งานเขียนได้ถูกพัฒนาให้ใช้งานง่ายและแทบจะ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลยนั้นก็เป็นการบังคับให้ผู้ที่กำลังหากินกับของเก่าต้องปรับตัว Fuji Film อยู่รอดได้เพราะหันมาเล่นกับดิจิตัลเต็มที่แต่ก็ยังไม่ละทิ้งรากเหง้าที่ เป็นฟิล์มเดิม (แถมยังนำของใหม่มาผสานกับของเก่าได้อย่างลงตัวจนกลายเป็นตลาดใหม่ขึ้นมา เช่นกล้องรีโทรอย่าง X100 และ X10) ในขณะที่ Kodak ยังคงหายใจพะงาบๆ รอวันลงโลงเพราะก้าวไม่ทันความเปลี่ยนแปลก ก็ขออย่าให้การศึกษาบ้านเราต้องเหมือนกับรายหลังเล้ยยยย…..

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This