EVAT เผยถึงแนวโน้มและทิศทางการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

Must Read

นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย หรือ EVAT เผยถึงแนวโน้มและทิศทางการเติบโตของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งรายละเอียดจะเป็นอย่างไร ใครอยากรู้ ตามมาดูกันที่ด้านล่างนี้เลย

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้

  • การเติบโตของ BEV จะมีผลต่อเนื่อง มีความต้องการเพิ่มเติมขึ้น บวกกับการสนับสนุนจากภาครัฐที่ชัดเจน และพัฒนาระบบอินฟราสตรักเจอร์ให้สามารถรองรับได้เร็วแค่ไหนจากการสำรวจเมื่อ ส.ค. 2564 พบว่ามี 2,200 หัวจ่ายทั่วประเทศ 660 โลเกชั่น แบ่งเป็น DC quick charge 700 กว่าหัวจ่าย หรือ 300 กว่าตู้ทั่วประเทศ
  • ซึ่ง DC quick charge จะมีผลการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้ามากเนื่องจากมีสปีดที่เร็วกว่า ตู้ชาร์จทั่วไปใช้เวลาทีละหลายชั่วโมง ตามแผนของคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าในปี 2025 จะมี DC quick charge 4,400 สถานี
  • ปี 2030 จะมีระดับ “หนึ่งหมื่น” กว่าตู้ การพัฒนาให้สอดคล้องกับเป้าหมายการผลิตทั้งสองอย่างต้องไปด้วยกันทั้งรถยนต์และตู้ชาร์จ เพราะสถานีชาร์จไฟฟ้าถือเป็นตัวสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างดี และเสริม “เป้าหมาย” ของทางภาครัฐมากขึ้น
  • ส่วนเรื่องการชาร์จที่ยุ่งยากสมาคมเราก็พยายามผลักดันตรงนี้อยู่ เราทำ MOU เกี่ยวกับ charging consortium มา 2 ปีแล้ว พยายามหารือระหว่างผู้ให้บริการทั้งหมด ทั้ง EA, การไฟฟ้าฯทั้ง 3 และ OR หรืออรุณ พลัส และหน่วยงานต่าง ๆ
  • โดยสิ่งที่ทำกันอยู่คือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการด้วยกัน เราพยายามทำให้ตู้แต่ละตู้คุยกันรู้เรื่อง เหมือนการใช้บัตร “ATM” บัตรเดียวใช้ได้ทุกตู้ ขั้นแรกต้องทำให้ตู้ชาร์จไฟคุยกันรู้เรื่องก่อน และทำระบบการชำระเงินให้สามารถรองรับทุกเครือข่ายคล้าย ๆ “EV roaming”

เราหวังว่าอนาคตจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้รถยนต์อีวี และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในแวดวงยานยนต์ไฟฟ้าบ้านเราที่อยากแจ้งให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะสร้างความตื่นเต้นแก่คอ EV ทุกคน และหากมีข่าวสารที่เป็นประโยชน์จากวงการ EV อีก เราจะรีบมาอัพเดทให้ทุกท่านได้ทราบโดยทันที

ที่มา

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This