Facebook F8 วิเคราะห์ Conference เวิร์ค ไม่เวิร์ค

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

Facebook, Facebook F8, Facebook Conference หลังจากที่ Mark Zuckerberg ได้เปิดงาน Facebook F8 conference ขึ้นมานั้นมี นักพัฒนาของ Facebook หลายคนขึ้น Keynote เกี่ยวกับโปรดักด์น่าสนใจปรากฏออกมาให้ติดตาม กันอย่างไม่หวาดไม่ไหว เอาเป็นว่าเช้านี้จะนำเอางาน F8 Conference ว่า Facebook ต้องการจะเปลี่ยนอะไร เดินทางไหน ผนวกกับความคิดเห็นของผู้เขียนเพิ่มเข้าไป

Feature ใหม่ของ F8 วันนี้ Timeline และ Open Graph Beta
แน่นอนว่าหลายคนคงได้พบแล้วว่า สิ่งที่ Facebook เปลี่ยนแปลงไปนั้นคือ หน้า Wall ของเรา โปรดักด์ที่ทางนักพัฒนาในงานที่เด่นๆ ตัวแรก มีชื่อว่า “Timeline” ซึ่งมันก็คือ หน้า Wall ใหม่ของเรานั่นแหละครับใน Keynote ได้มีการอธิบายไปถึง คุณลัษณะใหม่ของ Facebook ด้วยซึ่งรวมไปถึง Feature ที่ทาง Facebook ปรับแต่งขึ้นมาใหม่นั่นคือ หน้าแรกของ Facebook และหน้า Wall โดยเฉพาะการอนุญาตให้ ผู้ใช้งาน โพสท์ข้อความบท Wall ของ Profiles ตัวเองได้เกิน 500 ตัวอักษร ซึ่งทาง Facebook ออกมาพูดแล้วว่าสามารถโพสท์ได้สูงถึง 5,000 ตัวอักษรเลยทีเดียว ซึ่งน่าจะเป็นการเลียนเบียบระบบ Stream ของเจ้า Google+ แนวคิดของมันคือ เพื่อนของเราที่เราอนุญาตให้ เห็น Profile เรานั้นจะสามารถติดตามกิจกรรมของเราที่ทำมาทั้งหมดแบบละเอียด
ซึ่งเจ้า Timeline ของ Facebook นั้นสามารถสรุปเรื่องราวต่างๆ ตามระยะเวลาที่เราใช้งาน Facebook  และ Facebook Component ตามเว็บต่างๆ เช่น ปุ่ม Like สามารถแสดงทุกกิจกรรมที่เราทำในเฟชบุ๊ก ออกมาให้เพื่อนของเราเห็นในแต่ละเดือนในรูปแบบของรีพอร์ท และถ้าจะดูย้อนหลังในปีก่อนหน้า Facebook จะนำเสนอข้อมูลกิจกรรมในรูปแบบข้อมุลที่สรุปบางเหตุการณ์ให้เห็น ซึ่งมีผลดีต่อการทำการตลาด นักการตลาดออนไลน์สามารถสังเกตุพฤติกรรมความหน้าสนใจของผู้ใช้งาน Facebook และเพื่อนๆใน เครือข่ายได้
สำหรับตัว Timeline เมนูข้างบนเป็นเมนูในการปรับแต่งเลือกการแสดงผล ดึงข้อมูล Profile ที่สำคัญ มาแสดง ให้เหมือนหน้า info ของเราแบบย่อๆ โดยใช้ Visual Art หรือ กราฟิกไอคอนเป็นตัวสื่อความหมาย หากว่าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมลองศึกษาที่ https://www.facebook.com/about/timeline
แต่ตอนนี้ Facebook ปัจจุบันที่เพิ่ง Re Design มานั้น สามารถพิมพ์ได้ 5,000 ตัวอักษรแล้ว
แต่ Facebook ครับคุณไม่ใช่ Blog
สำหรับ Timeline นั้นผมว่าเป็นข้อดีสำหรับ ผู้ปกครอง อาจารย์ ที่จะสามารถติดตามบุตรหลานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ Social Network กันได้ อีกทั้ง กลุ่มนักการตลาดก็สามารถ Survey Market ได้ดีขึ้นจากพฤติกรรมของเพื่อน และลูกค้าที่อยู่ใน เครือข่าย

อาจจะเป็นข้อดีนะครับกับ Feature ที่ว่านี้ ตรงที่เมื่อก่อน Blogger ทั้งหลายต้องไปนั่งสมัครเว็บ Blog หรือจดโดเมนเว็บไซต์ของตัวเองกันก่อน แล้วค่อยบรรจงเขียน เรื่องราว เนื้อหา ความรู้ หลังจากนั้นก็ค่อยนำ Link ของเนื้อหาบทนั้นๆ มาแบ่งปันผ่าน RSS ไม่ก็ผ่าน Bookmark Service ที่เด่นๆ และเห็นกันบ่อยก็คือเอามาแชร์บน Facebok บนหน้า Profile ของตัวเอง เพื่อดึงความสนใจเพื่อนๆของเราไปเพิ่ม Page view และ Unique IP ให้กับเว็บไซต์ และ Blog ของเรา แต่ตอนนี้ หลังจาก Facebook เปลี่ยนคุณสมบัติบนหน้า Wall ของตัวเองจากที่จำกัดตัวอักษรยาวๆ ไม่เกิน 500 เหมือนเมื่อก่อนก็สามารถโพสท์ข้อความตัวอักษรได้ยาวตั้ง 5,000 ตัวอักษร ผมแปลกใจว่า Facebook สับสนเรื่องอะไรหรือเปล่า เค้ามีระบบ Note ที่ทำหน้าที่เหมือน Blog อยู่แล้วไว้ทำไม
ต่อมาเรื่องของส่วนแบ่งทางการตลาดในธุรกิจ Social Media ครับเป็นไปได้ว่า กลยุทธ์นี้ลึกๆ แล้ว Facebook ต้องการเปิดศึกกับ Google แน่นอน เพราะการที่เรามี Blog มีเว็บไซต์นั้น จุดประสงค์แรกก็คือ การติดอันดับต้นๆของ Search Engine ซึ่งการที่เราเอา Link บทความทั้งหมดของเราไปแบ่งปัน ไปแชร์ผ่าน Facebook นั้นก็เพื่อให้คนที่สนใจใน Facebook นั่นคือเพื่อนของเรากระจาย Link ให้ทุกคนคลิกเพื่อออกมาสู่หน้าเว็บไซต์ เพื่อได้ Page View เยอะๆที่จะมีผลดีกับ Google แต่ถ้า Facebook ทำตัวเป็นหนังสือพิมพ์ดิจิตอล ทำตัวเป็น Blog ซะเองแบบนี้ก็หมายความว่า Facebook ต้องการ Block ทุกคนให้เปิด และดำเนินเรื่องราว และทำอะไรต่อมิอะไรใน Facebook เพียงเว็บเดียวแน่ๆ เผื่อว่าถ้าวันหนึ่งมีระบบปฏิบัติการของ Facebook เองแบบที่ Google ทำ Google Chrome สงสัยว่าจะเป็นอย่างนั้น
อีกเรื่องหนึ่งครับอย่าลืมนะครับว่า Social Media หรือ Social Network นั้นก็เหมือนช่องทางสื่อสารที่ปรกติที่มุนษย์เรามีกัน ตามทฤษฎีของบทสนทนา และสมาธิของมนุษย์นั้น Twitter ใช้ 140 ตัวอักษรตามกฏของความน่าสนใจ เหมือนการพาดหัวของหนังสือพิมพ์ และหากจะเป็นข้อความที่เหมาะกับการเป็นบทความ ที่คนสนใจ และพอดีนั้นมาตรฐานสมาธิมุนษย์นั้นมันอยู่ที่ความยาว 400 ตัวอักษร แล้วค่อยจบบริบท หรือ ขึ้นย่อหน้าใหม่นะครับ ที่สำคัญอย่างที่น้องทีมงานของเราเคยว่าไว้ Profile ของเราเราก็อยาก Private บ้างส่วนตัวบ้าง ไม่ได้อยากจะเป็นหลินปิงให้ เพื่อนที่ว่างงานของเรา นั่งดุว่าเราทำอะไร ไปไหน กินอะไร อ่านอะไรไปซะหมด แต่ข้อดีนั้นมันอาจจะมีก็ได้ ต้องรอใช้งาน แล้วเห็น Point ของมันจริงๆซะก่อน
Open Graph Beta สำหรับนักพัฒนา Facebook API
ส่วนต่อประสานโปรแกรม หรือ API ของ Facebook อย่าง Open Graph ตัวใหม่นั้นนักพัฒนาที่ใช้บัญชี Facebook Developer สามารถขอสิทธิในการนำ Open Graph ไปใช้กับหน้าเว็บไซต์ และแอพลิเคชันได้โดยไม่ต้องขออนุญาตให้ Facebook Approve ก่อนได้แล้ว เวลาเขียนโปรแกรม หรือพัฒนาแอพพลิเคชันอย่าง เกม หรือ แอพฯ บน facebook ต่างๆให้มีการ feed ข้อมุลไปยังเพื่อนๆ เพื่อขอไอเท็ม หรือ ทำกิจกรรมร่วมกัน เจ้า Open Graph นี้จะแสดงกิจกรรมของเราผ่าน Ticker เจ้า Blog Real-Time หน้า News Feed เท่านั้น หากต้องการให้ปรากฏที่หน้า Wall ด้วยก็สามารถปรับแต่งได้ ทำให้หลายคนที่กังวลเรื่องรกหน้า Wall นั้นสบายใจได้เลย

นอกจากปุ่ม หรือกิจกรรมกด Like แล้ว Open Graph จะมีปุ่มใหม่ๆ ให้ใช้กันอย่างถ้วนหน้าเช่น Eat, Watch, Listen, Review, Recommend และอื่นๆ ที่เป็นกิจกรรม หรือ คำกิริยาที่เรากระทำกับ สื่อที่ปรากฏใน Facebook เพื่อให้เกิดความหมายในเชิง Semantic หรือเว็บเชิงความหมายที่ Facebook ใช้แนวคิดด้านนี้มาแต่ไหนแต่ไร
ข้อดีคือเว็บมีชีวิต ข้อเสียคือตัวตนที่ปรากฏมากเกินชีวิตจริงจะกระทำ
“เว็บมีชีวิต” หลายคนตื่นเต้นมากกับคำนี้ แนวคิดด้าน Semantic Web นั้นเป็นเทคโนโลยีที่มีการเติบโตขึ้นมาก ขนาดที่มีองค์กรรองรับแนวคิดนี้ นักพัฒนาพยายามจะทำให้เว็บมีชีวิต และตอบคำถาม โต้ตอบ สิ่งที่เราสนใจ สิ่งที่เราอยากรู้ได้ โดยอาศับพฤติกรรมของเราที่กระทำบนเว็บไซต์นั้นๆ ซึ่ง Facebook เองถือว่าทำได้ดีในจุดนี้ หากเราสนใจเรื่องหนังอินดี้ และ แชร์วีดีโอหนังอินดี้มาก หน้า News Feed, โฆษณาด้านข้าง ไปจนถึงเพื่อนที่ Facebook แนะนำให้เราเค้าก็จะมีไฟล์สไตล์ที่ชอบหนังอินดี้กับเรา ยิ่งเจ้า API Facbook OpenGraph Beta ที่มีการเพิ่มกิริยา ใหม่อย่าง Watch ,Eat, Listen และอื่นๆ นั้นจะเป็นการเติมเต็มพฤติกรรมของเรามากขึ้นกับเว็บ และเว็บไซต์ Facebook จะสามารถรู้ว่าเราต้องการข้อมูลอะไร ข่าวสารแบบไหน เพื่อนลักษณะยังไง ตามกฏของ Semantic Web หรือเว็บสื่อความหมาย หรือเว็บที่มีชีวิตทันที อีกทั้งยังเอื้อต่อนักการตลาดออนไลน์ในการสังเกตุพฤติกรรมมากขึ้นไปอีกจาก Timeline เพราะคราวนี้จะรู้พฤติกรรมเชิงลึกที่กว้างของ เพื่อนในเครือข่าย และลูกค้าที่อยู่ในมือกับพฤติกรรมที่บ่งบอกไลฟ์สไตล์ผ่านแอพพลิเคชันที่ใช้ Facebook OpenGraph API พัฒนาขึ้นมา

แต่ข้อเสียนั้นก็ใหญ่หลวงเช่นกัน บางครั้งกิจกรรมที่เราทำในเว็บกับโลกแห่งความเป็นจริงนั้น อาจจะสวนทางโดยสิ้นเชิง เพราะเว็บที่มีชีวิตและเข้าใจความหมายนั้น จะเข้าใจเพียงมิติเดียวคือกิจกรรมที่ภายนอกที่มนุษย์ควรจะเป็น แต่ผู้ใช้หรือมนุษย์ที่ใช้งาน Social Network แสนฉลาดที่บรรจงถ่ายทอดกิจกรรมทั้งหมดลงไปใน Facebook ว่าชอบอะไร กินอะไร ดูอะไร ฟังอะไร ทั้งหลาย นั้นมีหลายมิติ เว็บมีชีวิต เว็บมีการประมวลผลความหมาย แต่เว็บไม่มีมิติของ “อารมณ์” ซึ่งแน่นอนว่าบางครั้ง ผลเสียอาจจะเกิดกับผู้ใช้งานด้วยกัน เช่น นายจ้าง ลูกจ้าง แฟนสาว เพื่อน พ่อแม่ ที่มักตั้งคำถามกับกิจกรรมที่มากเกินไปของผู้กระทำผ่าน Facebook ซึ่งหากมันมากไปก็จะเป็นที่มาของภาวะทางอารมณ์ ผลลัพท์ที่มุนษย์เก็บประมวลผลได้รวดเร็วโดยไม่ต้องไตร่ตรองข้อมูล และถามหาว่าเหตุผลที่ทำไปแต่ละอย่างนั้น มันมีเหตุผลอะไรหรือไม่ เช่น บางทีเราแค่พักผ่อนดูคลิปวีดีโอไป แต่งานการไม่เสียหายหรอก แต่เจ้านายกลับมองว่าเราแทบไม่ทำงานเลย เป็นต้น กลับกันลูกน้องที่นั่งทำงานอยู่ กลับเห็นเจ้านายเล่นเกม บ่อยเหลือเกิน ทั้งๆประชุมในห้องประชุม โดยที่จริงๆ แล้วอาจจะเป็นลูกชาย ลูกสาวใช้บัญชี Facebook ของเจ้านายเล่นอยู่ที่บ้าน ก็อาจจะเกินความเคืองใจกันมากขึ้น มันชัดเจนดีไหมล่ะครับ สรุปเป็นไปได้ว่า เวลาประชุม นั้นอย่าเล่น Facebook เลย ก็จะขยายยาวไปถึงประเด็นที่ว่า
ถ้าอะไรต่อมิอะไรมันเปิดเผยกันได้ขนาดนี้ใน Facebook จาก feature ของงาน F8 Conference ที่ว่ามา คนที่ชอบก็คงจะถูกใจในการประกาศตัวตน แต่คนที่ไม่ชอบที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่ไม่ว่าจะซ่อนยังไงก็รู้ ก็อาจจะมีการย้ายสำมะโนครัวไป Google+ หรือไป บ่นพึมพำใน Twitter แทนแล้วเลิกเล่น Facebook ไปเลยก็เป็นได้ ณ จุดนี้ต้องรอดูต่อไปว่า โปรดักด์ทั้งหลายจากงาน Facebook F8 Conference นั้นมันเวิร์คแล้วจริงหรือ?

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This