Google ยังคงครอง Online Display Ad (โฆษณาบนเว็บไซต์) มากกว่า Facebook

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

Online Display Ad ธุรกิจแสดงภาพโฆษณาออนไลน์หรือออนไลน์ดิสเพลย์แอดนั้นหมายถึงกลุ่มโฆษณาภาพกราฟฟิกทุกชนิดที่ชาวออนไลน์จะได้เห็นบนเว็บไซต์ สำหรับปีนี้ บริษัทวิจัยตลาดคาดว่ากูเกิลจะครองส่วนแบ่งตลาดดีสเพลย์แอดอันดับหนึ่งในสหรัฐฯ โดยมีแนวโน้มจะมีส่วนแบ่งมากกว่า 15.4% ถือเป็นการยึดแชมป์คืนจากคู่แข่งอย่างเฟซบุ๊ก เบื้องต้น คาดว่ายอดรายรับรวมตลาดออนไลน์ดีสเพลย์แอดของกูเกิลจะมีมูลค่าทะลุหลัก 2.31 หมื่นล้านเหรียญ (ราว 6.93 แสนล้านบาท) สำหรับเฟซบุ๊ก อีมาร์เก็ตเตอร์คาดว่าจะมีส่วนแบ่งตลาดออนไลน์ดีสเพลย์แอดราว 14.4% ของตลาดรวมสหรัฐฯ โดยจะมีรายได้ทะลุ 2.16 หมื่นล้านเหรียญ (ราว 6.48 แสนล้านบาท) น้อยกว่ากูเกิลเล็กน้อย ก่อนหน้านี้ อีมาร์เก็ตเตอร์เชื่อว่าเฟซบุ๊กจะครองแชมป์ตลาดดีสเพลย์แอดเหนือกูเกิล โดยช่วงเดือนก.พ.ที่ผ่านมา บริษัทเผยแพร่บทวิเคราะห์ว่าเฟซบุ๊กจะครองแชมป์ดีสเพลย์แอดในสหรัฐฯต่อไปหลังจากทำได้ในปี 2011 แต่ปรากฏว่ารายได้จากธุรกิจดีสเพลย์แอดของเฟซบุ๊กตกต่ำลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้บริษัทต้องปรับเปลี่ยนคำวิเคราะห์ตลาดใหม่ การสำรวจตลาดดีสเพลย์แอดครั้งนี้ยังสะท้อนการเปลี่ยนแปลงในตัวกูเกิลที่น่าสนใจ เพราะที่ผ่านมา กูเกิลนั้นทำรายได้หลักจากโฆษณาในรูปแบบข้อความ ซึ่งจะปรากฏอยู่ถัดจากรายการค้นหาข้อมูลในหน้าผลการค้นหา โดยยาฮู (Yahoo!) นั้นเป็นแชมป์ในตลาดออนไลน์ดีสเพลย์แอดสหรัฐฯมาตลอดด้วยส่วนแบ่งตลาดราว 14% กระทั่งปี 2011 เฟซบุ๊กสามารถครองส่วนแบ่งตลาดออนไลน์ดีสเพลย์แอดในสหรัฐฯราว 14.4% เหนือกว่ากูเกิลที่ทำได้ 13.5% และยาฮูอยู่ในอันดับรองลงมา Online Display Ad แต่จากการพัฒนาเครือข่ายโฆษณาของกูเกิล โดยเฉพาะระบบโฆษณาบนบริการวิดีโอออนไลน์บนยูทูบ (YouTube) และบริการโฆษณาบนระบบอุปกรณ์พกพาอย่างแอดม็อบ (AdMob) ซึ่งกูเกิลซื้อกิจการมาเมื่อปี 2010 ทำให้กูเกิลสามารถขยายรายได้ในธุรกิจดีสเพลย์แอดได้มากขึ้น จนทำให้อีมาร์เก็ตเตอร์เชื่อว่ากูเกิลจะสามารถครองตลาดหลักในวงการออนไลน์ดีสเพลย์แอดได้ในปี 2012 เรื่องนี้มีผลทำให้กูเกิลมีความแข็งแกร่งทางด้านธุรกิจมากขึ้น เนื่องจากโฆษณาแบบรูปภาพนั้นมีกำไรมากกว่าการโฆษณาแบบข้อความ เท่ากับกูเกิลมีแนวโน้มว่าจะสามารถทำเงินเข้ากระเป๋าได้มากขึ้นแน่นอน แต่ในมุมของเฟซบุ๊ก แนวโน้มนี้กลับแสดงว่าเฟซบุ๊กยังไม่สามารถขยายฐานตลาดดีสเพลย์แอดได้มากเท่าที่ควร โดยเฉพาะระบบโฆษณาบนอุปกรณ์พกพาที่เพิ่งเริ่มโฆษณาแก่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนได้ในปีนี้ ถือเป็นจุดอ่อนที่เปิดทางให้กูเกิลสามารถแซงหน้าไปได้อย่างไม่น่าสงสัย ในภาพรวม อีมาร์เก็ตเตอร์เชื่อว่าตลาดดีสเพลย์แอดอเมริกันจะเติบโตราว 21.5% ทำสถิติที่ 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ผลจากการขยายธุรกิจของทั้งเฟซบุ๊กและกูเกิล โดยภายในปี 2014 คาดว่าทั้ง 2 ยักษ์ใหญ่โลกออนไลน์จะสามารถครองส่วนแบ่งตลาดออนไลน์ดีสเพลย์แอดเกิน 37% ของตลาด ซึ่งจะยิ่งทำให้เจ้าของเว็บไซต์รายเล็กมีโอกาสลืมตาอ้าปากได้ยากขึ้น นอกจากนี้ อีมาร์เก็ตเตอร์ยังเชื่อว่าส่วนแบ่งตลาดออนไลน์ดีสเพลย์แอดของยาฮูจะลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียว เช่นเดียวกับเว็บไซต์ใหญ่สัญชาติอเมริกันรายอื่นอย่างเอโอแอลและไมโครซอฟท์ ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากการเติบโตของเฟซบุ๊กและกูเกิลในสมรภูมิออนไลน์ดิสเพลย์แอด [code] Data : http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000117127 Image1 :  http://blog.kontera.com/wp-content/uploads/2010/09/fusing-search-and-display-advertising.gif Imgae2 : http://www.looksmart.com/assets/Uploads/online-display-ads.jpg [/code]

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

ปรับตัวใหม่! ตลาดหุ้นโลกและผลการประชุมธนาคารกลางส่งสัญญาณอะไรบ้าง?

สัปดาห์นี้เราเห็นการเคลื่อนไหวใหญ่ในตลาดหุ้นทั่วโลก ที่มาพร้อมกับการตัดสินใจสำคัญจากธนาคารกลางหลายแห่ง ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยไปจนถึงการอัปเดตเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ให้สัญญาณว่าอาจจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ตามด้วยธนาคารกลางสวิสฯ ที่เริ่มต้นด้วยการลดดอกเบี้ยลง 0.25% เป็นการตอบสนองต่อเงินเฟ้อที่ลดลง ในอีกด้านของโลก, ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็ทำการปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี ขณะที่ยังคงนโยบายการซื้อพันธบัตร เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในขณะนี้...
- Advertisement -

More Articles Like This