Hum to Search ฟีเจอร์ช่วยหาเพลงที่จำทำนองได้ แต่นึกชื่อเพลงไม่ออก เปิดตัวพร้อมใช้งานแว้วว

Must Read

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน พบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการอัพเดทข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในแวดวงไอที สำหรับครั้งนี้เราก็มีข่าวดีจะมาแจ้งให้ทุกคนได้ทราบว่า ตอนนี้ใครที่จำทำนองได้ แต่นึกเนื้อเพลงไม่ออก ฮัมเพลงให้ Google ฟังเพื่อช่วยหาเพลงได้แล้ว รายละเอียดจะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเล้ยย

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับฟีเจอร์ช่วยหาเพลงจาก Google ได้ดังนี้

  • ปัจจุบันหากเราได้ยินเพลงที่ชอบ แต่ไม่รู้จักชื่อเพลง ก็สามารถเปิดแอปฯ Shazam เพื่อค้นหาชื่อเพลงได้ง่ายๆ แต่ถ้าเราจำเนื้อเพลงไม่ได้ และจำได้แค่ทำนองเพลงละ
  • ปัญหานี้ถูกแก้ไขแล้วโดย Google ด้วยฟีเจอร์ที่เรียกว่า “Hum to Search” แค่เปิดแอปฯ Google และกดที่ Voice Search แล้วกดปุ่มด้านล่างที่เขียนว่า Search for a Song จากนั้นก็เริ่ม “ฮัมเพลง” ให้ Google ฟังได้เลย
  • ซึ่งตัวแอปฯ Google ก็จะใช้ Machine Learning ในการค้นหาเพลงที่เราฮัมให้ทันที พร้อมแสดงผลเพลงที่มีทำนองใกล้เคียงมากที่สุดขึ้นมาให้เราเลือก
  • นอกจากการใช้งานผ่านแอปฯ Google แล้วยังสามารถใช้งานผ่าน Google Assistant ได้อีกด้วย เพียงพูดว่า “นี่เพลงอะไร” หรือ “what is this song?” ก็สามารถเริ่มฮัมเพลงได้เลย

และนี่ก็คือฟีเจอร์ Hum to Search สำหรับช่วยหาเพลงผู้ช่วยดีๆ จากกูเกิ้ลที่จัดให้คนรักดนตรีโดยเฉพาะ ต่อไปใครที่จำทำนองเพลงได้ แต่นึกชื่อเพลงไม่ออกก็มาใช้ฟีเจอร์นี้กันได้เลยนะครับ

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This