ICT Free Wifi จับมือกับ Dtac เปิดตัวโรงเรียนต้นแบบ พร้อมขยายต่ออีก 12 โรงพยาบาล

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

ICT Free Wifi จับมือกับ Dtac น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในการเปิดตัวโรงเรียนต้นแบบ โครงการ dtac Free Wifi ว่า ในปี 2556 ไอซีทีได้รับอนุมัติงบประมาณดำเนินโครงการขยายจุดเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (WiFi) เป็นจำนวนเงิน 831 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมงบของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรองรับการใช้งานของโครงการแท็บเล็ตของรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันไอซีทีมีจุดให้บริการ WiFi แล้ว 200,000 จุด ภายใต้โครงการ ICT Free Wifi ทั้งนี้จำนวนจุดให้บริการ Wi-fi ดังกล่าว มาจากการร่วมมือของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จำนวน 30,000 จุด และจะเพิ่มอีก 20,000 จุดภายในสิ้นปีนี้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 30,000 จุด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) และ บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 50,000 จุด และคาดว่าจะมีของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อีก 150,000 จุดจากงบ USO ขณะทีดีแทคจะเน้นการสนับสนุน ICT Free wifi เป็นบางพื้นที่ อาทิ โรงเรียน และโรงพยาบาล เป็นต้น ขณะเดียวกันในปี 2556 ไอซีทีจะเดินหน้าจัดซื้อแท็บเล็ตในเฟสที่ 2 เพื่อให้ทันกับปีการศึกษา 2556 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 และมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 1.6 ล้านเครื่องโดยจะแบ่งชั้นละ 8 แสนเครื่อง ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นเดือนม.ค.56 จะได้ข้อสรุปเงื่อนไขทีโออาร์ และกำหนดคุณภาพตัวเครื่อง โดยไอซีทีจะใช้รูปแบบการแบบเปิดในการจัดซื้อในเฟสที่ 2 “แท็บเล็ตเฟส 2 นี้ไอซีทีจะเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนทั้งใน และนอกประเทศที่สนใจเข้าร่วมประมูลโครงการแท็บเล็ตได้หมดไม่เหมือนในเฟสแรกที่เจาะจงเฉพาะบริษัทในต่างประเทศเท่านั้น” อย่างไรก็ดีในส่วนการเรียนการสอนด้วยแท็บเล็ตของโรงเรียนทั้งในสังกัด กทม. สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต่างๆทั่วประเทศ ขณะนี้กว่า 31,334 โรงเรียน ไอซีทีได้วางสมาร์ทเน็ตเวิร์กเสร็จไปแล้วจำนวน 9,600 โรงเรียน ทำให้สามารถใช้งานแท็บเล็ตพร้อมระบบอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว มีระดับความเร็วขั้นต่ำประมาณ 100 Kbps ต่อนักเรียน 1 คน ส่วนอีก 22,000 – 30,000 โรงเรียนในพื้นที่ต่างจากทั่วประเทศที่ระบบอินเทอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุม ซึ่งจะต้องมีการขยายการเข้าถึง โดยจะต้องเลือกการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยช่องทางต่างๆตามความเหมาะสมแต่ละพื้นที่ “เราคาดว่าจะขยายระบบอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมได้ 80% ของโรงเรียนทั้งหมดภายในเดือนพ.ค.ปีหน้า ใช้งบประมาณราว 30,000 ล้านบาท” ล่าสุดไอซีที ร่วมกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดตัวโรงเรียนต้นแบบ โครงการ dtac Free Wifi ให้กับโรงเรียนวัดหนามแดง จ.สมุทรปราการ เป็นโรงเรียนนำร่อง ซึ่งการให้บริการครอบคลุมบริเวณชั้นเรียนป.1 จำนวน 4 ห้องเรียน ซึ่งมีนักเรียนในการชั้นจำนวน 140 คน ได้รับแทบเล็ตป.1 จำนวน 143 เครื่อง โดยการให้บริการสามารถให้บริการได้พร้อมกันเป็นจำนวนครั้งละ 150 ผู้ใช้งาน โดย นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร ดีแทค กล่าวว่า โครงการดังกล่าวถือเป็นหนึ่งใน CSR ของดีแทค โดยใช้งบประมาณโรงเรียนต้นแบบไป 300,000 บาท ซึ่งที่ผ่านมาดีแทคไม่ได้ร่วมกับการให้บริการ Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะของไอซีที เพราะเน้นการให้บริการแก่หน่วยงานราชการ สถานศึกษา และสถานพยาบาลมากกว่า “ในปี56 เราคาดว่าจะขยายบริการ Free Wi-Fi ในโรงพยาบาลของรัฐอีก 12 แห่ง ส่วนจะขยายไปตามโรงเรียนอื่นๆอีกหรือไม่ คงต้องดูผลจากโครงการต้นแบบก่อน” [code]ที่มา : http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000152614 [/code]

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This