IMF เข้าพบ รบ. ศรีลังกา หากรือการแก้ปัญหาวิกฤติการณ์พลังงาน และเศรษฐกิจแล้ว

Must Read

เรามาติดตามวิกฤติการณ์เศรษฐกิจ และการเงินในประเทศศรีลังกากันหน่อย ล่าสุดตัวแทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ  เดินทางไปหารือกับตัวแทนรัฐบาลศรีลังกา ที่กำลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่แล้ว รายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร มาติดตามกันเลย

สรุปรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเด็นนี้ ได้ดังนี้

  • คงเป็นที่ทราบกันดีว่าตอนนี้ชาวศรีลังกาทั่วประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิง ซึ่งทำให้น้ำมันราคาพุ่งสูงขึ้น ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 70 ปี
  • ล่าสุด กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เตรียมส่งตัวแทนเดินทางไปเยือนศรีลังกาเป็นระยะเวลา 10 วัน เพื่อหารือกับตัวแทนรัฐบาลเกี่ยวกับโครงการกู้ยืมเงินสำหรับใช้จัดการกับวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
  • ตัวแทน IMF มีแผนที่จะเพิ่มทางเลือกในการกู้ยืมเงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถช่วยได้ โดยก่อนหน้านี้ IMF ระบุชัดเจนว่า ปัจจัยที่จะทำให้กระบวนการช่วยเหลือเป็นไปได้นั้น จะพิจารณาจากการปรับโครงสร้างหนี้เป็นหลัก ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญของศรีลังกาก็มองว่า อาจจะทำให้ศรีลังกาได้เงินช่วยเหลือจาก IMF ค่อนข้างช้า
  • จากสถานการณ์ขาดแคลนพลังงานในปัจจุบัน ส่งผลให้เมื่อในช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รัฐบาลศรีลังกาเพิ่งจะมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่รัฐทำงานจากบ้านเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แถมยังอนุมัติให้ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์อีกด้วย
  • นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า ประชาชนอีกราว 5 ล้านคน จะประสบกับปัญหาขาดแคลนอาหารในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในต่างประเทศที่เราอยากแจ้งให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นที่ชื่นชอบถูกใจคอข่าวต่างประเทศกันทุกคน และหากมีความคืบหน้าประการใดเกี่ยวกับวิกฤติการณ์ในครั้งนี้อีก เราจะรีบอัพเดทให้ทุกท่านได้ทราบโดยทันที

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

ปรับตัวใหม่! ตลาดหุ้นโลกและผลการประชุมธนาคารกลางส่งสัญญาณอะไรบ้าง?

สัปดาห์นี้เราเห็นการเคลื่อนไหวใหญ่ในตลาดหุ้นทั่วโลก ที่มาพร้อมกับการตัดสินใจสำคัญจากธนาคารกลางหลายแห่ง ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยไปจนถึงการอัปเดตเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ให้สัญญาณว่าอาจจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ตามด้วยธนาคารกลางสวิสฯ ที่เริ่มต้นด้วยการลดดอกเบี้ยลง 0.25% เป็นการตอบสนองต่อเงินเฟ้อที่ลดลง ในอีกด้านของโลก, ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็ทำการปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี ขณะที่ยังคงนโยบายการซื้อพันธบัตร เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในขณะนี้...
- Advertisement -

More Articles Like This