iOS 16 สามารถใช้งานฟีเจอร์ Keyboard Haptics (ระบบสั่นเมื่อขณะพิมพ์ข้อความ) ได้

Must Read

สวัสดีชาวค่ายผลไม้ทุกคน วันนี้เรามีข่าวดีจะแจ้งให้ทราบว่า iOS 16 อนุญาตให้ผู้ใช้งานเปิดฟีเจอร์ Keyboard Haptics ระบบสั่นเมื่อขณะพิมพ์ข้อความ ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเลย

สรุปข้อมูลอัพเดทล่าสุดเกี่ยวกับ iOS 16 ได้ดังนี้

  • แผงคีย์บอร์ดพื้นฐานของ iPhone สามารถใช้ระบบสั่นเพื่อตอบสนองการพิมพ์ข้อความได้แล้ว เหมือนกับแผงคีย์บอร์ดของ Android แต่ต้องอัปเดทเป็น iOS 16 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดลองใช้ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ก่อนจะปล่อยให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้อัปเดทในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
  • Apple กล่าวว่าฟีเจอร์ Keyboard Haptics หรือ ตอบสนองการพิมพ์ด้วยระบบสั่น เป็นอีกวิธีที่จะช่วยยืนยันการพิมพ์ข้อความของผู้ใช้งาน และเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงครั้งใหญ่สำหรับแผงคีย์บอร์ดพื้นฐานบน iOS 16 ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนภาษาใหม่ 19 ภาษา ในการค้นหา Emoji พร้อมปรับปรุงประสบการณ์สำหรับผู้ใช้ภาษาจีน
  • iOS 16 ยังมาพร้อมฟีเจอร์ การป้อนตามคำบอก หรือ Dictation ที่ฉลาดยิ่งขึ้น โดยยินยอมให้ผู้ใช้สามารถสลับไปมาระหว่างเสียงและการสัมผัสได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถพิมพ์ด้วยคีย์บอร์ด แตะช่องข้อความ ขยับเคอร์เซอร์ และแทรกคำแนะนำ QuickType โดยทั้งหมดไม่จำเป็นต้องหยุดใช้ฟีเจอร์ Dictation นอกจากนี้ ฟีเจอร์ Dictation ยังรองรับการใส่เครื่องหมายวรรคตอนแบบอัตโนมัติ และสามารถใส่อิโมจิด้วยการป้อนตามคำบอกได้ด้วย

และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจล่าสุดเกี่ยวกับ iOS 16  ที่เราอยากแจ้งให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ชาวแอปเปิ้ลทุกคน และหากมีข้อมูลสำคัญเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการตัวนี้อีก เราจะรีบมาอัพเดทให้ทุกท่านได้ทราบก่อนใครทันที

ที่มา

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This