NFT Games เป้าหมายของผู้เล่นหรือผู้สร้าง คือ อะไรกันแน่

Must Read

YamaSei
YamaSei
ชอบเรื่องการ์ดเกม บอร์ดเกม กีฬา ออกกำลัง และวัฒนธรม การใช้ชีวิต เพลงของญี่ปุ่น แต่ไม่ชอบภาษาญี่ปุ่นแหะ

NFT Games เป้าหมายของผู้เล่นหรือผู้สร้าง คือ อะไรกันแน่

 

NFT ย่อมาจาก  Non-Fungible Token เป็นชื่อเรียกของ Cryptocurrency ประเภทหนึ่ง สามารถทำการซื้อขายได้ แต่จะไม่อยู่ใน Exchange (ตลาดซื้อขาย Cryptocurrency) ถ้ามีก็จะแทบน้อยชนิดมาก เช่น SAND เป็นต้น

หลักๆ ของ NFT มักจะใช้เหรียญของ ETH(Ethereum) เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนซื้อขาย ไม่เฉพาะแค่ตัวเหรียญเท่าไหร่ รวมไปถึงสินค้าที่ขายอยู่ในโลกดิจิต่อล เช่น ภาพวาด การ์ด สินค้าเฉพาะในเกม เป็นต้น

ในที่นี่ มีคำว่า Games ติดมา ย่อมหมายถึง มีการเล่นเกมเพื่อได้รับ NFT หรือต้องใช้ NFT ในการเล่นเกมนั้นๆ ได้ ซึ่ง NFT Games มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า Game-Defi (คำว่า Defi ย่อมาจาก Decentralize Finance แปลว่าระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง)

 

พอคำว่า NFT มันเกี่ยวโยงกับ Cryptocurrency จะต้องมีการพูดถึงการเก็งกำไรทันที แต่ เกม เนี่ย เขาไม่ได้มองว่าเป็นการเก็งกำไร เขามองถึงความสนุก ไม่ได้มองที่การเก็งกำไร ดังนั้น พอสองคำนี่ รวมกัน จะหมายถึง เล่นเกมเพื่อหวังผลกำไร

แน่นอนว่า เกมพวกนี้ต้องมีการลงทุนก่อน หรือมีคำเรียกว่า Pay-to-Earn คือ ก่อนเล่น เราต้องมี โทเคน ของเกมนั้น ด้วยจากการซื้อด้วยเงินสด หรือด้วย Cryptocurrency ที่เกมนั้นรองรับ เพื่อใช้ในการซื้อของสำคัญ เช่น ตัวละคร อุปกรณ์ ร้านค้า เป็นต้น แต่เกมที่เล่นต้นด้วยการเล่นฟรีก็มีเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันนี่มีหลายเกมมาก

 

เมื่อคนเล่นเกมเพื่อหวังกำไร แน่นอนว่า เขาต้องใช้เวลาเล่นมันเพื่อหาโทเคนแล้วนำไปแลกเป็นเงินจริงนั้นเอง ประเด็นคือ Cryptocurrency เป็นการลงทุนประเภทหนึ่งที่มีความผันผวนสูงมาก บางทีโทเคนที่คุณเพิ่งลงทุนไป แล้วกว่าใช้เวลาหามันมาได้ อาจจะไม่คุ้มทุนกับเวลาที่คุณเสียไปด้วยซ้ำ แต่ไม่ใช่ว่ามันจะทำกำไรไม่ได้เลย เพียงแค่คุณต้องมีความรู้ด้านการลงทุนควบคู่ด้วย

แต่สิ่งที่ผมไม่ชอบในระบบ NFT Games คือ จะต้องมีระบบกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนโทเคน เพราะโทเคนของเกมหลายเกม ไม่ได้อยู่ใน Exchange หลัก จะต้องใช้ระบบกลาง อย่าง Metamask / Wallet Connect / Uniswap เป็นต้น ปัญหาของมัน คือ ค่าธรรมเนียม หรือที่เรียกกันว่า ค่าแก๊ส หมายความว่า ถ้าคุณจะซื้อหรือขายหรือฝากหรือถอนโทเคนนั้นๆ มันต้องผ่านตัวกลางอย่าง Metamask ก่อน ซึ่ง ตัวกลางนี้ ต้องมีเหรียญ อย่าง ETH เข้าไปอยู่ในระบบก่อน เพื่อเป็นค่าแก๊สในการดึงโทเคนนั้นมา เป็น ETH อีกที

สรุปคือ ต่อให้คุณมีล้านโทเคนนั้นเกมนั้น แต่คุณไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินจริง (ที่เรียกว่า เงิน Flat) ได้ ถ้าไม่มีตลาด Exchange รองรับการแลกเปลี่ยนซื้อขายโทเคนนั้น ต้องมาผ่านตัวกลางก่อน แล้วตัวกลางต้องมี ETH หรืออาจจะเป็นเหรียญอื่น เป็นค่าแก๊ส ในการดึงโทเคนในเข้ามาตัวกลาง เพื่อมาเปลี่ยนเป็น ETH แล้วนำ ETH ซึ่งรองรับใน Exchange อยู่แล้ว มาขายเป็นเงินจริงอีกที เหมือนกับคุณอยากซื้อสินค้า แต่ต้องมีรถยนต์เดินทาง หรือ ต้องไปที่ไปรษณีย์เพื่อส่งสินค้า นั้นแหล่ะ

ซึ่งค่าแก๊สนั้น แพงมากครับ แพงเกินที่จะเรียกว่า ตัวกลางได้ ผมยกตัวอย่างเกมหนึ่งซึ่งผมเล่นฟรีมาสักพัก ผมมีโทเคนตีเป็นเงินไทยประมาณ 2,000 กว่าบาท แต่ผมไม่สามารถนำออกจากเกมได้ เพราะผมไม่มี ETH เพื่อนำโทเคนนั้นออกมา ถ้าอยากเอาออกมา ผมต้องเติม ETH ซึ่งใช้ประมาณ 2,000 กว่าบาท เพื่อนำโทเคนราคา 2,000 กว่าบาทนั้นออกมา ซึ่งมันไม่คุ้มเลย

 

แต่บางเกม เว็บไซต์กลาง คือ เว็บเกมของตนเอง เพื่อมีกระเป๋าเก็บโทเคนของตัวเอง แล้วทำการแลกโทเคนนั้นกับผู้อื่นได้ แต่อย่างที่บอก ถ้าโทเคนนั้น ไม่มี  ตลาด Exchange รองรับ คุณก็แปลงเป็นเงินจริงไม่ได้อยู่ดี ถ้าเกมไหนมีเว็บพวกนี้ คนส่วนใหญ่จะทำการหากลุ่มซื้อขายภายนอก เช่น กลุ่มเฟซบุ๊ค เพื่อซื้อขายกันเป็นเงินสดจริงๆ แต่ก็ควรระวังเรื่องการโกงกันด้วย เพราะที่ผมเคยเจอมา คือ ต้องโอนโทเคนให้เขาก่อน เขาถึงจะโอนเงินสดมาให้ ถ้าคุณเจอพวกมิจฉาชีพ เขาก็เอาโทเคนของเราไปฟรีๆ แถมฟ้องร้องไม่ได้ด้วย เพราะมันไม่ได้มีสินค้าจริงๆ ให้เห็น มันแค่ข้อมูลดิจิตัลอย่างหนึ่งเท่านั้น ฟ้องธนาคารไป เขาก็ไม่สามารถเอาเงินคุณคืนกลับมาได้นะ

 

อีกความเสี่ยงหนึ่ง คือ RUG PULL หมายถึง การที่มูลค่าของโทเคนนั้นลงลด จนไม่มีมูลค่าเมื่อเทียบกันเงินจริง ซึ่งมีสาเหตุอยู่ 2 อย่าง คือ มีแต่การนำโทเคนออก ไม่มีการซื้อโทเคนเพิ่ม และผู้พัฒนาเกมตั้งใจลดมูลค่าของเหรียญลงไปเพื่อปิดเกมนั้นทิ้ง เพราะเห็นว่า มันไม่น่าทำเงินให้ผู้ทำเกมได้ต่อหรือเขาตั้งใจจะโกงผู้เล่นตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ซึ่งตอนนี้มีหลายเกมที่ปิดตัวลง เช่น CryptoCars / CryptoPlanes / Squid Game/ Monster Grand Prix เป็นต้น

บางที RUG PULL มันก็มี 2 กรณี คือ อยู่ดีๆ มูลค่าโทเคนก็ตกลงเรื่อยๆ จนเหลือ 0 โดยไม่มีการบอกกล่าว แทบจะบอกว่า โกง 100% ก็ว่าได้ หรือ มีการประกาศว่า เกมกำลังจะปิดตัวลง ใครมีโทเคนให้รีบขายซะ แต่พอบอกแบบนี้แล้ว ใครมันจะไปกล้าซื้อโทเคนที่กำลังปิดตัวลงล่ะ เว้นแต่ตัวเกมจะขอรับซื้อโทเคนนั้นเสียเอง แต่คิดว่าไม่มีทาง เพราะถ้าประกาศว่าจะปิดตัวเกมลง แสดงว่า มีการประเมินว่าเกมมันทำกำไรให้ผู้ทำเกมต่อไปไม่ได้แล้ว หรือตอนนี้ก็ขาดทุนอยู่แล้วด้วย

เราไม่รู้หรอกว่า ผู้ทำเกมตั้งใจจะโกงตั้งแต่แรกรึเปล่า แต่ที่แน่ๆ คือ ผู้เล่นที่ลงเงินไปเกมนี่ “เพื่อหวังผลกำไร” ย้ำว่า “เพื่อหวังกำไร” ต่างหากที่ต้องรู้สึกผิดหวังกับเงินที่หายไป

 

ย้อนกลับมาเรื่องเกมทั่วไป เกมสมัยนี้ต่างจากเกมสมัยก่อน คือ มีระบบเติมเงินเพื่อเปิดซองการ์ด กล่องไอเท็ม แน่นอนว่ามีทั้งแบบสุ่ม และไม่สุ่ม แต่ส่วนใหญ่คือเติมเงินมาให้เปิดแบบสุ่มกัน ซึ่งมักจะเป็นเกมในมือถือ หรือเป็นระบบออนไลน์ ที่มีการอัพเดตทั้งสิ่งของ ฉากใหม่ ตัวละคร โดยใช้เงินจริง ทำให้หลายเกมสามารถทำกำไรแทนยอดขายซึ่งมีในเกมแบบฟรีและไม่ฟรี

ถามว่า เราสามารถไม่เติมเงินเพื่อเล่นได้ไหม คำตอบคือ “ได้แน่นอน” แต่เราจะ “อาจจะ” เก่งไม่เท่า หรือ เล่นได้ไว ไม่เท่ากับกับคนที่เติมเงิน คนที่เติมเงินก็เหมือนซื้อเวลาเล่นครับ มีเงินเติมเยอะ ก็มีโอกาสได้ของเยอะ มีตัวเลือกทีดีกว่าคนอื่นที่ไม่ได้เติม “แต่ก็ไม่เสมอไป” บางที ความขยันเยอะ ก็ยังมีสิทธิ์สู้คนที่เติมได้

 

ถ้ามาเทียบความแตกต่างระหว่าง เกมทั่วไป กับ NFT Games ส่วนตัว คือ “ความสนุก” ครับ เพราะคำว่า เกมนั้น ความสนุกควรเป็นสิ่งที่มาก่อน แม้ว่าคุณต้องเติมไปมากเท่าไหร่ แต่ก็ไม่รู้สึกเสียใจด้วยซ้ำ(แต่มันต้องมีเซ็งกันบ้าง เสียเงินไปเยอะ แต่ไม่คุ้มเลย มันก็มี) กลับกันแต่ถ้าคุณมองถึงผลกำไรจากการเล่นเกม คุณต้องใช้ความรู้ในเกมๆ นั้น รวมไปถึงความรู้ด้านการลงทุนด้วย เช่น การทราบถึงความต้องการของสิ่งของในตลาดภายในเกม,  ช่วง Upsidedown ของไอเทม หรือ ตัวละครที่ใช้ในอีเว้นท์นั้นๆ, การคาดเดาราคาของใหม่แทนที่ของเก่า เป็นต้น

 

สรุป คือ เกมทั่วไปแม้ว่าจะเติมเงินในเกมเพื่อเล่นมากเท่าไหร่ กลับไม่รู้สึกเสียดายเท่าเกมที่มองแต่ผลกำไรที่คุณอาจจะเล่นไปก็ไม่ได้สนุก แถมต้องมาเครียดกับผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่าอีก

 

กลับไปที่หัวข้อที่ผมจั่วไว้ว่า เป้าหมายของผู้เล่นหรือผู้สร้าง คืออะไร แน่นอนว่าผู้สร้างต้องการกำไรจากการสร้างเกมอยู่แล้ว ไม่งั้นเขาจะทำมาทำไม มันก็คือสินค้าเพื่อขายอย่างหนึ่ง แต่ถ้ามีข้อผิดพลาดก็ต้องแก้ไข พัฒนาในคราวต่อไป อันนี้ยังพอเป็นผู้สร้างที่ดีได้ แต่ถ้าผู้สร้างมีเป้าหมายที่จะหลอกผู้เล่นให้เติมเงินแต่แรก แล้วอ้างว่าจะได้ผลตอบแทนที่สูง สุดท้ายพอได้กำไรพอประมาณก็ปิดตัว เหมือนที่เขาไปเทียบกันว่าเหมือนแชร์ลูกโซ่นั้นแหล่ะ นี่คือตัวอย่างของผู้สร้างที่แย่ หวังจะโกงแต่แรก

กลับมามองเป้าหมายของผู้เล่น ถ้าเล่นเกมไม่สนุก คุณยังฝืนเล่นต่อไปเหรอ แต่ถ้ามันยังได้ผลตอบแทนกลับคืนมา มันอาจจะคุ้มค่าที่จะเล่นก็ได้ บางคนไม่ได้มองถึงเรื่องเสียเงินเลย แค่ได้อวดชาวบ้านว่า เปิดได้ของดีๆได้ก็ดีใจมากแล้ว

 

ดังนั้น อยู่ที่คุณเลือกแล้วแหล่ะว่า คุณเลือกเล่นเกมนี้เพราะอะไร คุณพอใจในความเสี่ยงไหม เม็ดเงินที่เสียไปทดแทนความสนุกได้หรือไม่

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This