Friday, May 9, 2025
35 C
Bangkok

ไม่อยากเป็นกรดไหลย้อนต้องปฏิบัติตัวอย่างไร..มาดูกัน!

โรคยอดนิยมก็ว่าได้สำหรับเจ้าโรค “กรดไหลย้อน” ที่หลายๆคนก็เป็นกัน บางคนอาจจะยังไม่แน่ใจว่ามันเป็นยังไง หรือไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรหากเป็นโรคนี้ ผมเลยหยิบยกมาฝากชาวไอทีเมามันส์กันครับ จะได้เตรียมรับมือกันได้และป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากเจ้าโรคนี้

กรดไหลย้อน” หมายถึง โรคที่มีอาการซึ่งเกิดจากกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน หรืออาจเกิดในขณะที่ยังไม่ได้กินอาหารก็ได้

โรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร หรือที่นิยมเรียกว่า โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease; GERD) คือภาวะที่มีกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติ หลอดอาหารจะมีการบีบตัวไล่อาหารลงด้านล่างและหูรูด ทำหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อย กรด หรืออาหาร ไม่ให้ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร แต่ในปัจจุบัน หูรูดส่วนนี้ทำงานได้น้อยลงในบางคน ซึ่งจะตรวจพบได้ประมาณ 1 ใน 5 คน พบในคนทั่วไป ทุกกล่ม ทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้มากในคนอ้วน หรือสูบบุหรี่ และการไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ซึ่งหากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้

ภาวะของโรคกรดไหลย้อน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

  • ระดับแรก ผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนบ้างในบางครั้ง เป็นบ้างไม่เป็นบ้าง แล้วก็หายไป ไม่มีผลต่อสุขภาพมากมาย (Gastro-Esophageal Reflux : GER)
  • ระดับสอง ผู้ป่วยจะมีอาการกรดไหลย้อนขึ้นมาเฉพาะที่บริเวณหลอดอาหาร (Gastro-Esophageal Reflux Disease : GERD)
  • ระดับสาม ผู้ป่วยมีกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาก จนไหลขึ้นไปถึงกล่องเสียง หรือหลอดลม (Laryngo-Pharyngeal Reflux : LPR)

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน นอกจากจะเกิดจากความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหาร หรือความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหารในตัวผู้ป่วยเองแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นเสริมอีกด้วย เช่น

  • กินเสร็จอิ่มๆ หรือกินอาหารเสร็จยังไม่ถึง 4 ชั่วโมงแล้วนอน
  • Hiatus hernia คือ โรคที่เกิดจาก กระเพาะอาหารส่วนต้น ยื่นเข้าไปกะบังลม
  • สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์, น้ำอัดลม
  • รับประทานอาหารประเภท ของทอด ของมัน หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด

โรคนี้พบได้ในคนทั่วไป ทุกกลุ่ม ทุกช่วงอายุ มักพบได้มากในคนอ้วนหรือสูบบุหรี่ หากการไหลย้อนของกรดมีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร ทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ จึงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา เพราะจะทำให้มีอาการเรื้อรัง กลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้

โดยปกติบริเวณรอยต่อของหลอดอาหารและกระเพาะอาหารมีกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่คล้ายหูรูดคอยป้องกันการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหาร เมื่อใดที่กล้ามเนื้อหูรูดทำหน้าที่ไม่ดี จะทำให้กรดในกระเพาะไหลย้อนกลับขึ้นไปยังหลอดอาหารได้ ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อยเรียกว่า “เรอเหม็นเปรี้ยว” ถ้าเป็นมากจนเกิดอาการอักเสบของหลอดอาหารหรือมากกว่านั้น เรียกว่า กรดไหลย้อน

อาการทางหลอดอาหารนั้นจะเจ็บแสบที่หน้าอกและลิ้นปี่ มักเกิดหลังขึ้นหลังการทานอาหาร ซึ่งต่างจากอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด ที่มีลักษณะบีบคั้นหนักๆ หรือแน่น หรือมีอะไรขัดๆ หรือปวดตื้อๆ หลังออกกำลังกาย รู้สึกเหมือนมีก้อนอยู่ในลำคอ กลืนลำบาก รู้สึกติดๆ ขัดๆ เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในคอ หรือกดกลืนเจ็บ เจ็บคอ แสบปากหรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา เรอบ่อย คลื่นไส้ รู้สึกเหมือนมีอาหารหรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาในอกหรือคอ รู้สึกจุกแน่นอยู่ในคอหรือหน้าอก เหมือนอาหารไม่ย่อย เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม ไอเรื้อรัง เป็นต้น

แนวทางการป้องกันและปฏิบัติตัว

การรักษาคือ เปลี่ยนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้อาการน้อยลง หรือป้องกันไม่ให้เกิดอาการ และลดการอักเสบเป็นซ้ำ โดยลดกรดในกระเพาะอาหาร เช่น งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับหรือรัดแน่นเกินไป โดยเฉพาะเอว ควรกินอาหารที่มีไขมันต่ำ ไม่ควรนอนทันทีหลังกินอาหาร ควรใช้เวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ไม่ควรซื้อยากินเองเมื่อมีอาการเจ็บป่วย ควรกินยาอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรลดขนาดยาหรือหยุดทานเอง นอกจากแพทย์แนะนำ และควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อปรับขนาดยา

Reference

  • กรดไหลย้อน ป้องกันได้ at thaihealth
  • โรคกรดไหลย้อน at wikipedia

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

This field is required.

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

Hot this 48 hr.

ความหมายของไพ่ยิปซี ไพ่ทาโรต์ ไพ่ชุดเมเจอร์และไพ่ชุดไมเนอร์ อาร์คานา

ไพ่ทาโรต์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ไพ่ชุดเมเจอร์ อาร์คานา มี 22...

ครั้งแรกในไทย! แมคโดนัลด์ X Minecraft ส่งชุด Minecraft Movie Meal พร้อมของเล่นกล่องสุ่มสุดคิ้วท์ เอาใจสายเกมเมอร์ GEN Z และน้องๆ GEN A

สายเกมเมอร์เตรียมเฮ! แมคโดนัลด์ เปิดตัวแคมเปญสุดคิวต์ครั้งแรกกับ Minecraft เกมสุดฮิตระดับโลกที่มีแฟนๆ หลายล้านคนทั่วโลก โดยล่าสุด วันที่ 3...

ใครได้ใครเสีย? วิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายภาษีนำเข้ารถยนต์ของ Trump ต่อค่ายรถทั่วโลก

นโยบายภาษีนำเข้ารถยนต์ของ Donald Trump ที่เคยเป็นกระแสใหญ่ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งหลังมีการคาดการณ์ว่าเขาอาจกลับมาชิงตำแหน่งอีกครั้งในปี 2024 และแน่นอนว่าโลกยานยนต์ต่างก็จับตามอง โดยเฉพาะค่ายรถที่มีฐานการผลิตในต่างประเทศ หรือมีแผนขยายตลาดไปยังสหรัฐฯ แล้วใครกันที่จะได้ประโยชน์จากภาษีนี้...

ผู้บริหาร Palantir ออกโรงปกป้องบริษัท หลังถูกวิจารณ์หนักเรื่องการสอดแนมคนเข้าเมืองในสหรัฐฯ

Palantir Technologies บริษัทเทคโนโลยีด้านข้อมูลและวิเคราะห์ระดับโลก กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง หลังมีข่าวว่าบริษัทเข้าไปมีบทบาทสำคัญในระบบสอดแนมและติดตามผู้เข้าเมืองในสหรัฐฯ โดยล่าสุดหนึ่งในผู้บริหารระดับสูงของ Palantir ได้ออกมาปกป้องบริษัทอย่างชัดเจน พร้อมยืนยันว่า...

Powell พูดอะไรวันนี้? สรุปสุนทรพจน์ประธาน Fed ล่าสุด พร้อมวิเคราะห์ผลกระทบเศรษฐกิจโลก

วันนี้ (16 เมษายน 2025) ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาสุนทรพจน์สำคัญของ Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (Federal...

Topics

ศึกใหญ่ใน China Auto Show! ค่ายรถ EV งัดไม้เด็ดสู้ Tesla ท่ามกลางกฎใหม่คุมเทคโนโลยีอัตโนมัติ

งาน China Auto Show ปีนี้ร้อนแรงสุด ๆ เพราะไม่ใช่แค่เวทีโชว์รถใหม่เท่านั้น แต่ยังเป็นสนามรบของเหล่าค่ายรถยนต์ไฟฟ้า (EV)...

Nikon Z6III เตรียมเพิ่มโหมดโฟกัสนก! ฟีเจอร์ที่คนรักนกเรียกร้องกันมานาน

สาวก Nikon เตรียมเฮ! เพราะ Nikon ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าในกล้อง Nikon Z6III รุ่นถัดไป...

โปสเตอร์ใหม่ “Superman” เผยโฉม David Corenswet ซูเปอร์แมนคนใหม่แห่งจักรวาล DC

แฟนหนังฮีโร่มีเฮ! ล่าสุด James Gunn ได้ปล่อยโปสเตอร์ใหม่จากภาพยนตร์เรื่อง Superman ที่จะออกฉายในปี 2025 โดยครั้งนี้ไฮไลต์อยู่ที่การเปิดตัว...

อีเมลลับเผย Meta ปวดหัวหนัก พยายามทุกทางให้ Facebook ยังอินกับวัฒนธรรมยุคใหม่

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Facebook ต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะเมื่อผู้ใช้รุ่นใหม่หันไปใช้แพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น TikTok และ Snapchat อีเมลภายในที่ถูกเปิดเผยในระหว่างการพิจารณาคดีของ...

Related Articles

Popular Categories

spot_img