มาดูเหตุผลที่ฟีเจอร์ตรวจวัดออกซิเจนในเลือดของ Apple Watch Series 6 ไม่ต้องผ่านการตรวจสอบจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ

Must Read

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน พบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการอัพเดทข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในโลกไอที สำหรับครั้งนี้เราจะพาเพื่อนๆ มาทราบเหตุผลว่าทำไมฟีเจอร์ตรวจวัดออกซิเจนในเลือดของ Apple Watch Series 6 จึงไม่ต้องผ่านการอนุมัติจาก FDA ใครที่อยากรู้ก็ตามมาหาคำตอบกันเล้ยย

สรุปข่าวความเคลื่อนไหวล่าสุดเกี่ยวกับ Apple Watch Series 6 ได้ดังนี้

  1. Apple Watch เริ่มยกระดับเป็นอุปกรณ์สวมใส่เพื่อติดตามสุขภาพให้มากขึ้นตั้งแต่ Apple Watch Series 4 ได้รับการเปิดตัวพร้อมกับฟีเจอร์ ECG วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งมีให้ใช้งานในไม่กี่ประเทศ เนื่องจากต้องได้รับการอนุมัติจาก FDA หรือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในแต่ละประเทศ
  2. แต่เมื่อมาถึง Apple Watch Series 6 ได้มีการเพิ่มฟีเจอร์ตรวจวัดออกซิเจนในเลือด หรือ SpO2 และสามารถใช้งานได้ในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการรับรองจาก FDA แลนี่คือเหตุผลว่าทำไม?

ความจริงแล้ว FDA มีข้อบังคับว่า ผลิตภัณฑ์ใดก็ตามที่รองรับเครื่องมือวัดความอิ่มตัวของออกซิเจน จะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม อุปกรณ์ทางการแพทย์ Class II และจะต้องได้รับการอนุมัติจาก FDA

  1. อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดของ FDA ยังมีข้อยกเว้นในกรณีที่ผลิตภัณฑ์นั้น วางจำหน่ายในฐานะเครื่องมือในการวัดสุขภาพที่ดี ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจาก FDA
  2. นั่นทำให้ Apple ต้องระบุในหมายเหตุด้านล่างของเว็บไซต์ไว้ว่า “การวัดค่าด้วยแอพออกซิเจนในเลือดไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้งานทางการแพทย์ รวมถึงเพื่อวินิจฉัยตนเองหรือปรึกษาแพทย์ แต่ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ด้านฟิตเนสและสุขภาพที่ดีโดยทั่วไปเท่านั้น”

 

และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในโลกไอทีเกี่ยวกับ Apple Watch Series 6 ที่เราอยากแจ้งให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ สำหรับใครที่สงสัยกับคำถามนี้ก็หวังว่าคงจะได้รับคำตอบที่เป็นที่พอใจหายสงสัยกันแล้วนะครับ

ที่มา wccftech

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This