เกาะติดทีมวิจัยจากประเทศออสเตรเลียที่กำลังเร่งพัฒนาวัคซีนป้องกัน “ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่”

Must Read

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งกับข่าวสำคัญจากรอบโลก สำหรับวันนี้เราจะพาเพื่อนๆ มาเกาะติดทีมวิจัยจากประเทศออสเตรเลียที่กำลังเร่งพัฒนาวัคซีนป้องกัน “ไวรัสอู่ฮั่น” ด้วยเทคโนโลยี Molecular clamp

เหตุการณ์โรคระบาดของไวรัส 2019-nCoV หรือไวรัสอู่ฮั่น ในช่วงต้นปีนี้ทำให้เกิดความวิตกกังวลไปทั่วโลก มหาวิทยาลัยแห่งรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย จึงเข้ามามีบทบาทด้วยการวิจัย “วัคซีน” เพื่อป้องกันโรคระบาดนี้

การระบาดของเชื้อไวรัส 2019-nCoV หรือไวรัสอู่ฮั่น สร้างความตื่นตระหนกให้กับทั่วโลก เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2020 เว็บไซต์   Sciencealert  รายงานว่า มหาวิทยาลัยแห่งรัฐควีนส์แลนด์ได้รับการร้องขอให้พัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสอู่ฮั่น โดยองค์กร Coalition for Epidemic Preparedness Innovations (CEPI) ได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนในงานวิจัยครั้งนี้ ด้วยเงินสำหรับการพัฒนาสูงถึง 15.4 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย

มหาวิทยาลัยแห่งรัฐควีนส์แลนด์ ร่วมกับ CEPI แถลงการณ์ความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซันป้องกันไวรัสอู่ฮั่น  โดย Paul Young คณบดีสำนักวิชาเคมีและวิทยาศสาตร์ไบโอโมเลกุล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแห่งรัฐควีนส์แลนด์มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ซึ่งช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถพัฒนาวัคซีนได้ในระยะเวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น

สำหรับเทคโนโลยีดังกล่าวนั้นได้รับการเผยแพร่เมื่อเดือนมกราคม รู้จักกันในชื่อ Molecular clamp ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มในการสร้างวัคซีนแบบใหม่ ที่สามารถแสดงโปรตีนของไวรัสให้กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อเพิ่มการตอบสนองต่อเชื้อโรคได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว เทคโนโลยี Molecular clamp ช่วยแสดงโปรตีนสำคัญของไวรัส เพื่อกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

ในส่วนนี้ผมจะขอเพิ่มเติมข้อมูลอีกสักเล็กน้อย โดยปกติแล้วภูมิคุ้มกันในร่างกายจะตรวจจับเชื้อโรค ผ่านโมเลกุลโปรตีนบนผิวเซลล์ของเชื้อโรคชนิดนั้น (ทั้งไวรัสและแบคทีเรีย) อย่างไรก็ตาม การหาโปรตีนที่เหมาะสมมากพอที่จะกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เทคโนโลยี Molecular clamp นี้จึงเข้ามามีบทบาทในการช่วยเพิ่มอัตราการแสดงผลโปรตีนสำคัญให้กับระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโรคได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย

เทคโนโลยี Molecular clamp นี้ ได้ถูกใช้ในการพัฒนาวัคซีนสำหรับเชื้อไวรัสมาแล้วหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่, ไวรัสนิปาห์, ไวรัสอีโบลา รวมถึงซาร์สและเมอร์ส คาดว่าในระยะเวลาเพียง 3 เดือน วัคซีนจะเข้าสู่การทดลองในมนุษย์ขั้นที่ 1

เกร็ดความรู้ๆ สำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ 

การผลิตยาหรือวัคซีนเพื่อนำไปใช้ในมนุษย์ จะต้องผ่านขั้นตอนการทดลองทั้งสิ้น 4 เฟส และต้องได้รับการรองรับจากองค์การอาหารและยา โดยใน 3 เฟสแรก จะเป็นการทดสอบในอาสาสมัคร เพื่อดูผลการรักาและผลข้างเคียง เมื่อมั่นใจแล้วจึงส่งให้ อย. ตรวจสอบ จากนั้นจะเข้าสู่เฟส 4 ซึ่งเป็นการศึกษาผลข้างเคียงในระยะยาวต่อไป ในระยะนี้หากพบผลข้างเคียงร้ายแรง อย. สามารถระงับการใช้งานและนำออกจากตลาดได้ทันทีครับ

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This