ปิดฉากประมูล 3G ท่ามกลางข้อกังขา ทีดีอาร์ไอ จี้ กสทช. ส่อเอื้อเอกชน!

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

ทีดีอาร์ไอ (TDRI: Thailand Development Research Institute) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย รายการตรงประเด็น “กรุงเทพธุรกิจทีวี” สัมภาษณ์ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอ และนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.หลังจากผลการประมูลใบอนุญาต 3จี เสร็จสิ้นลง มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า ผลการประมูลคลื่น 3จี เป็นไปตามที่คาดหมาย คือ ได้ราคาเพิ่มขึ้นจากราคาตั้งต้นเพียงเล็กน้อยคือประมาณ 2.8% เท่านั้น คือ เพิ่มจากราคาตั้งต้นโดยรวม 9 ใบ ที่ 40,500 ล้านบาท เป็นเพียง 41,650 ล้านบาทเท่านั้น  โดยมีคลื่น 6 ชุดที่มีราคาประมูลเท่ากับราคาตั้งต้น การประมูลครั้งนี้แม้จะทำให้ประชาชนมีบริการ 3จี ใช้กันอย่างเต็มรูปแบบในปีหน้า แต่ก็ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนในฐานผู้เสียภาษี เมื่อเทียบจากราคาประเมินถึง 16,335 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการทั้งสามรายได้ประโยชน์จากส่วนต่างนี้ไปเป็นเสมือน “ลาภลอย” ทั้งนี้ยังไม่รวมประโยชน์ที่ได้จากการลดค่าสัมปทานที่ต้องจ่ายให้รัฐอีกปีละกว่า 4 หมื่นล้านบาท  ที่สำคัญการที่แต่ละรายได้คลื่น 3จี มูลค่าถูกแสนถูกต่ำกว่าปีละ 1 พันล้านบาทต่อปี จะไม่มีผลต่ออัตราค่าบริการ 3จี ที่ประชาชนต้องจ่ายแต่อย่างใด นอกจากจะเพิ่มกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ประกอบการ ดังจะเห็นได้จากราคาหุ้นของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น ผลการประมูลครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่า ข้อมูลที่ กสทช. พยายามโฆษณาให้ประชาชนเชื่อมาโดยตลอดว่าจะมีการแข่งขันมาก เนื่องจากคลื่นความถี่แต่ละชุดมีความแตกต่างกันมาก เสมือนเป็นที่ดินทำเลดีติดทะเลกับที่ดินแออัดติดถนนใหญ่ไม่เป็นความจริง และตอกย้ำความเชื่อของสาธารณชนในวงกว้างที่ว่า การประมูลครั้งนี้มีลักษณะเอื้อต่อการสมคบกันของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ผลการประมูลยังชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรงของการออกแบบการประมูล 2 ประการคือ หนึ่ง การจำกัดคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการแต่ละรายจะสามารถถือครองได้ให้เท่ากัน ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันอย่างที่ควรจะเป็น  สอง การกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ทำให้เกิดความเสียหายมาก เมื่อไม่มีการแข่งขันกันเท่าที่ควร ทั้งนี้ หาก กสทช. ได้รับฟังข้อทักท้วงของฝ่ายต่างๆ ก็จะไม่เกิดข้อผิดพลาดดังกล่าวขึ้น จึงขอเรียกร้องให้ กสทช. รับผิดชอบต่อความเสียหายต่อรัฐและประชาชนที่เกิดขึ้น โดยให้แถลงต่อประชาชนว่า จะมีการรับผิดชอบอย่างไร  และขอเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบ นอกจากนี้ ในการประมูลคลื่นความถี่ 4จี และคลื่นความถี่อื่นๆ ที่จะมีขึ้นต่อไป ก็ขอให้ระวังอย่าได้ใช้แนวทางเดียวกันมาดำเนินการอีก นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ระบุว่า ตัวเขาเอง กับ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. อีกรายหนึ่ง เคยพูดไว้อย่างชัดเจนว่า สนับสนุนให้เกิดการประมูล 3จีโดยเร็ว แต่ต้องการให้เกิดผลประโยชน์กับทุกฝ่ายสูงสุด ซึ่งประโยชน์ที่สำคัญจริงๆ ก็คือ รายได้จากการประมูลเข้ารัฐ ซึ่งการกำหนดราคาที่ 4,500 ล้านบาท  เราคาดการณ์ว่าการแข่งขันในการประมูลต้องต่ำถึงต่ำมาก ถึงจะทำให้ราคาประมูลไม่ไปใกล้เคียงหรือเท่ากับราคาประเมินที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินไว้ราว 6,400 ล้านบาท “ปรากฏว่า ในวันนี้ ผลการประมูลเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ราคาประมูลจบที่ 4,500 ล้าน ราคาตั้งต้นเลย ไม่ขยับ ตามที่หลายคนพยายามจะบอกว่าเดี๋ยวราคาจะขยับขึ้นมาเอง” สำหรับการพิจารณาอนุมัติเรื่องผลการประมูลที่ออกมานั้น โดยหลักแล้วจะเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคม (กทค.)  ซึ่งถ้าผลเป็นไปลักษณะนั้น ก็คงต้องยืนยันความเห็นเดิมว่า เป็นไปตามคาดการณ์  นายประวิทย์  ระบุด้วยว่า ต้องอ่านรายงานวิจัยของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ฉบับเต็ม ที่บอกว่าถ้าเอาค่าเฉลี่ยของทุกประเทศมา ราคาตั้งต้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 67% ของราคาประเมิน แต่มีอีกข้อมูลหนึ่งที่บอกว่า ถ้ามีผู้เข้าประมูลเพียง 3 ราย ราคาตั้งต้นควรจะเป็น 82%  ซึ่งในเมืองไทยคาดว่าจะมีผู้ประมูลเพียง  3 รายอยู่แล้ว ดังนั้น การตั้งต้นที่ 67% ขัดกับผลการศึกษาอย่างชัดเจน โดยหลักการแล้วเอกชนไม่ได้มีความผิดใดๆ ทั้งสิ้น  เพราะเอกชนมาดำเนินการตามกติกาที่รัฐวางไว้ ดังนั้นคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงราคาประเมินอะไรได้อีก ยกเว้นแต่ยกเลิกการประมูล แล้วเปิดประมูลใหม่ แต่ในขณะนี้ ยังไม่เห็นเหตุที่จะทำอย่างนั้นได้ ซึ่งหมายความว่า การออกใบอนุญาตคงเดินหน้าไปตามราคาที่เอกชนเสนอมาเท่านี้ ส่วนเรื่องการฟ้องร้องต่อ ป.ป.ช. นั้น นายประวิทย์ ระบุว่า กรรมการเสียงข้างมาก ก็รับทราบดี ก็ให้ข่าวมาตลอดว่า เข้าใจว่าจะต้องมีการไปยื่นต่อ ป.ป.ช. ก็คงต้องมีการเตรียมต่อสู้คดีกัน ซึ่งในส่วนของ กสทช. นั้น กสทช.ทำหน้าที่ดีที่สุด และถ้าสิ่งที่ทำถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง ก็ไม่เห็นเหตุผลในการลาออก เข้าใจว่าที่สิ่ง ทีดีอาร์ไอ เรียกร้องความรับผิดชอบ คือ เรียกร้องจากผู้ที่ทำให้รัฐเสียหาย ซึ่งไม่ใช่ตัวเขา “ขณะนี้ไม่ได้คัดค้านอะไรแล้ว เพราะกระบวนการเลยตามเลยมาแล้ว เพียงแต่ไม่สนับสนุน เพราะฉะนั้นโดยรวม ต่อให้เกิดเหตุการณ์อะไรอีก ก็ต้องพร้อมเผชิญกัน ต้องคิดถึงผลประโยชน์ของประเทศไว้ก่อน  พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า การตรวจสอบการประมูลนี้ต้องดูว่าผิดกฎหมาย ที่เรียกว่า พ.ร.บ. ฮั้วหรือไม่ ถ้าผิดกฎหมายคงไม่สามารถรับรองผลการประมูลได้”

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This